วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

วัฒนธรรมกับภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ

 

มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา

 

วัฒนธรรม คืออะไร

วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่สามารถถ่ายทอดและเลียนแบบกันได้

 

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

 

วัฒนธรรมกับภาษา

 

ที่ตั้ง มนุษย์อาศัยอยู่ในที่ต่างกันออกไป ก่อให้ประเพณีและวัฒนธรรมที่ต่างกัน เช่น ประเทศไทยที่เป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนทำให้มีประเพณีสงกรานต์

ภูมิอากาศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันจะมีความเป็นอยู่ที่ต่างกันออกไป เช่น ชนชาติที่อยู่ในเขตมรสุม การออกหาอาหารจะเป็นหน้าที่ของสมาชิกคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น มนุษย์จะมีค่านิยมและลักษณะนิสัยแตกต่างกันออกไปตามสภาพความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น เช่น กลุ่มชนชาติที่อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ก็จะมีความสุขสบาย ไม่ต้องพยายาม ใช้ชีวิตง่าย ๆ และรู้จักแบ่งปันเพราะไม่เดือดร้อน ในขณะที่กลุ่มชนชาติที่แร้นแค้นจะหวงแหนสมบัติที่ได้มาเพราะหามาอย่างยากลำบาก เป็นต้น

กลุ่มชนแวดล้อม วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มชนแวดล้อมที่ต้องการแสดงถึงอำนาจ เช่น กลุ่มชนที่บังเอิญไปตั้งถิ่นฐานใกล้ชนกลุ่มใหญ่ที่มีอำนาจมากกว่าก็ต้องระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกัน

นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน ค่านิยมในแต่ละวัฒนธรรมนั้นแตกต่างกัน หากว่าในกลุ่มชนชาติใดมีนักปราชญ์ที่เผยแพร่ความรู้ หรือมีประมุขดี วัฒนธรรมก็จะแตกต่างกับกลุ่มชนชาติที่ไม่มีนักปราชญ์หรือมีประมุขแย่

 

ภาษา

 

คำว่าภาษามาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ภาษฺ ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า ภาสา ความหมายตามรากศัพท์เป็นคำกริยา แปลว่า กล่าว พูด หรือ บอก ซึ่งเมื่อนำมาเปลี่ยนรูปเป็น ภาษา ในภาษาไทย จะทำหน้าที่เป็นคำนาม มีความหมายว่าคำพูด หรือ ถ้อยคำ

 

ความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรมกับภาษา

 

วัฒนธรรมกับภาษา

 

ภาษาสร้าง ธำรง และพัฒนาวัฒนธรรม

ภาษาทำให้วัฒนธรรมถูกพัฒนาและคงอยู่ในสังคมผ่านการสืบทอดไม่ว่าจะด้วยวิธีการบอกเล่า จดบันทึกลงกระดาษหรือแผ่นหิน เพราะมีภาษาเราจึงมีตรากฎหมาย ซักถามข้อเท็จจริง มีสถาบันศาล นอกจากนี้เรายังใช้ภาษาในการบัญญัติจนทำให้มีศาสนาขึ้นมา ทำให้เห็นว่าภาษาเป็นตัวสร้างวัฒนธรรม ซึ่งคนรุ่นหลังก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับยุคสมัย เป็นการส่งต่อไปให้คนรุ่นหลังได้เช่นเดียวกัน

ภาษาสะท้อนวัฒนธรรม

ภาษา เป็นตัวสะท้อนความคิดของผู้พูด ซึ่งแตกต่างกันแล้วแต่วัฒนธรรมและถิ่นที่อยู่ อย่างในประเทศไทยเองก็มีหลายภูมิภาค ทำให้มีหลายสำเนียง โดยภาษาของแต่ละภูมิภาคนี้จะมีลักษณะเฉพาะทั้งการออกเสียง คำศัพท์ หรือแม้แต่ในภูมิภาคเดียวกันบางพื้นที่ก็ยังออกเสียงและมีคำศัพท์ที่ต่างกันออกไป ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้เห็นชัดเจนว่าความแตกต่างของวัฒนธรรมทำให้ภาษามีความเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่นั้นๆ

 

 

ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกัน

ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกัน สังคมหรือวัฒนธรรมในชนชาตินั้น ๆ ให้ความสำหรับกับเรื่องใด ก็จะมีข้อบังคับเพิ่มขึ้น อย่างการใช้ระดับภาษาในสังคมไทย ทำเห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับลำดับขั้นทางอายุโดยจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดชื่อเรียกลำดับเครือญาติอย่างละเอียด แตกต่างกันทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ รวมไปถึงคำราชาศัพท์ที่ใช้ลดหลั่นกันไปตามฐานะทางสังคม มีการกำหนดคำต้องห้าม ที่เป็นคำไม่สุภาพ ให้เปลี่ยนไปใช้คำที่รื่นหูเพื่อเป็นมารยาททางสังคม

 

ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิตในสังคม ทำให้เรามีความเชื่อ มีความคิด มีความรู้สึก จนกระทั่งสามารถสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้และสืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้ บทเรียนเรื่องมนุษย์ วัฒนธรรมและภาษาจะทำให้น้อง ๆ ได้เข้าใจถึงความสำคัญมากขึ้นนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มได้เพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องภาษาสร้าง ธำรง และพัฒนาวัฒนธรรม, ภาษาสะท้อนวัฒนธรรม, ภาษากับวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกันให้น้อง ๆ ได้เข้าใจมากขึ้นรวมไปถึงความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมกับภาษา ถ้าอยากรู้แล้วละก็ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

NokAcademy_ ม6Passive Modals

มารู้จักกับ Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals” ที่ใช้บ่อยพร้อม เทคนิคการจำและนำไปใช้ และทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน กันค่า Let’s go! ไปลุยกันโลดเด้อ   Passive Modals คืออะไรเอ่ย   Passive Modals คือ กลุ่มของ Modal verbs ที่ใช้ในโครงสร้าง

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1