ร่ายสุภาพ เรียนรู้บทร้อยกรองที่แต่งง่ายที่สุด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมามากมาย น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเห็นคำประพันธ์ประเภท ร่าย ผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าคำประพันธ์นี้จะไม่ได้มีมากที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนึ่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่มีมาตั้งแต่โบราณ แถมยังแต่งง่ายมากที่สุดอีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปเรียนรู้การแต่งคำประพันธ์อย่าง ร่ายสุภาพ พร้อมกันเลยค่ะ

 

ร่าย คืออะไร?

 

ร่าย แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน เหรือแปลว่าป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งก็ได้ ร่ายเป็นบทประพันธ์ที่แต่งง่าย มีความเก่าแก่ ปรากฏในวรรณคดีสำคัญของไทยหลายเรื่อง เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น
ร่ายเป็นคำประพันธ์ที่มีคนนิยมแต่งกันแพร่หลาย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

 

ร่ายสุภาพ

 

ร่ายไม่เคร่งเรื่องจำนวนคำในวรรคเหมือนคำประพันธ์ชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งสัมผัสเป็นพิเศษกว่าคำประพันธ์ชนิดอื่น เพราะร่ายจะส่งสัมผัสต่อกันระหว่างวรรคทุกวรรคไปจนจบ

 

ประเภทของร่าย

 

ร่ายมี 4 ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้ ดังนี้:

 

ร่ายสุภาพ

 

ร่ายสุภาพ

 

ในบทเรียนเรื่องแต่งร่ายวันนี้ ร่ายประเภทที่น้อง ๆ จะได้เรียนคือร่ายสุภาพ นิยมแต่งกันแพร่หลายมาจนปัจจุบัน

 

ร่ายสุภาพ

 

 

 

ฉันทลักษณ์ของ ร่ายสุภาพ

 

คณะ

1. ร่ายสุภาพ 1 บท ไม่จำกัดจำนวนวรรค แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 วรรค

2. วรรคหนึ่งมี 5 คำ หรือจะมากกว่า 5 ก็ได้ แต่จังหวะในการอ่านต้องไม่เกิน 5

3. เมื่อจบบท ต้องจบที่โคลงสองสุภาพ

 

สัมผัส

1.บังคับสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอกซึ่งเป็นสัมผัสสระ

2. คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่1,2 หรือ 3 ของวรรคถัดไป

3. อาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสใน ซึ่งเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ

 

เอกโท

1. ร่ายสุภาพบังคับรูปวรรณยุกต์เอกและโทใน 3 วรรคสุดท้ายที่เป็นโคลงสองสุภาพ

ถ้าคำสัมผัสที่ส่งเป็นคำเป็นหรือคำตาย คำที่รับสัมผัสจะต้องเป็นคำเป็นหรือคำตายด้วย และคำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตาย

 

คำสร้อย

 

 

1. เติมสร้อยในตอนสุดท้ายของบทได้อีก 2 คำ หรือจะเติมทุก ๆ วรรคของบทก็ได้

2. แต่ถ้าถึงโคลงสองจะต้องเว้นให้คำสร้อยของโคลงสองเอง

3. สร้อยชนิดนี้ต้องเหมือนกันทุกวรรค เรียกว่า สร้อยสลับวรรค

 

โคลงสองสุภาพ

 

เป็นข้อบังคับที่จะต้องมีในการแต่งร่ายสุภาพเมื่อจบบท เรามาดูกันค่ะว่าการแต่งโคลงสองสุภาพนั้นมีลักษณะอย่างไร

 

 

ฉันทลักษณ์ของโคลงสองสุภาพ

 

คณะ

1.โคลงสองสุภาพ 1 บทมี 14 คำ ไม่รวมคำสร้อย

2. โคลงสองสุภาพ 1 บท แบ่งเป็น 3 วรรค

3. วรรคที่ 1 และ 2 มี 5 คำ

4. วรรคที่ 3 มี 4 คำ หลังวรรคที่ 3 อาจมีคำสร้อยต่อท้ายหรือจะไม่มีก็ได้

 

สัมผัส

1. คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 2

2. โคลงสองสุภาพไม่บังคับสัมผัสระหว่างบท แต่อาจมีการเพิ่มสัมผัสระหว่างบทเพื่อความไพเราะโดยส่งสัมผัสจากคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคที่ 1 ของบทถัดไป

3. อาจมีสัมผัสภายในวรรคที่เรียกว่าสัมผัสใน ซึ่งเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ เพื่อเสริมให้โคลงไพเราะยิ่งขึ้น

 

เอกโท

1.มีคำวรรณยุกต์เอกหรือคำตาย 3 คำ

2. คำที่มีรูปวรรณยุกต์โท 3 คำ

3. คำเอกจะอยู่ที่คำที่ 4 ของวรรคแรก คำที่ 2 ของวรรคที่ 2 และคำที่ 1 ของวรรคที่ 3

4. คำโทอยู่ที่คำที่ 5 ของวรรคแรก คำที่ 5 ของวรรคที่ 2 และคำที่ 2 ของวรรคที่ 3

5. ในกรณีที่หาคำเอกโทมาลงไม่ได้ สามารถใช้คำเอกโทษและโทโทษได้

 

ร่ายสุภาพเป็นหนึ่งในคำประพันธ์ ประเภทบทร้อยกรองที่ต้องบอกว่าแต่งง่ายที่สุดและไม่ซับซ้อนเหมือนประเภทอื่น ๆ เลย ลักษณะบังคับก็มีไม่มาก น้อง ๆ คนไหนที่ไม่คุ้นหูกับร่ายสุภาพและเคยเข้าใจว่าเป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก ต้องคิดกันใหม่แล้วลองแต่งเล่น ๆ เพื่อเป็นการฝึกฝนและทบทวนบทเรียนไปในตัว สุดท้ายนี้ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังมีจุดที่ยังข้องใจ ไม่เข้าใจอยู่ ก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ รับรองว่าถ้าฟังที่ครูอุ้มสอนจบ การแต่งร่ายสุภาพจะกลายเป็นเรื่องง่าย ๆ สำหรับน้อง ๆ ทุกคนแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย     สาเหตุการยืมของภาษาไทย มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

สังข์ทอง จากนิทานชาดกสู่วรรณคดีไทยอันเลื่องชื่อ

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่แพร่หลายและโด่งดังอย่างมากในสังคมไทย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยปี ความนิยมของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวนี้ก็ยังไม่เสื่อมคลาย ดูได้จากการที่ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่เป็นกลอนบทละครจนถึงละครโทรทัศน์ ที่น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเดินเห็นผ่านตากันมาแล้วบ้าง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้ พร้อมเรื่องย่อหนึ่งตอนสำคัญที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยนะคะ   สังข์ทอง ความเป็นมา     สังข์ทอง มีที่มาจาก สุวรรณสังขชาดก

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1