การเขียนประกาศ เขียนเชิงกิจธุระได้อย่างไรบ้าง?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเชิงกิจธุระหมายถึงหน้าที่ที่พึงกระทำ การเขียนเชิงกิจธุระมีมากมายหลายแบบ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ การเขียนประกาศ ซึ่งเป็นการเขียนเชิงกิจธุระรูปแบบหนึ่ง เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง

 

การเขียนเชิงกิจธุระ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศ เป็นการสื่อสารที่ใช้เผยแพร่โดยกว้าง ให้บุคคลทุกระดับในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้อ่านและมีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยอาศัยสื่อสาธารณะชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการแจ้งให้ทราบและปฏิบัติตาม อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศต่าง ๆ การใช้ภาษาในการประกาศนั้นจะไม่ใช้ข้อความยาว ๆ หรือละเอียดซับซ้อนเกินกว่าการทำความเข้าใจของผู้อ่าน โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญ ๆ ที่จะต้องเขียนให้ชัดเจน ซึ่งการเขียนประกาศนั้นจะสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท ดังนี้

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างเป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

การประกาศอย่างเป็นทางการจะยาวและละเอียดเพราะมักเกี่ยวเนื่องกับตัวบทกฎหมาย แต่ไม่ใช่ข้อความที่อ่านยาก หรือวกไปวนมา เพราะเป็นประกาศที่มีจุดมุ่งหมายในการแจ้งให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและปฏิบัติตาม ภาษาที่ใช้จะเป็นทางการตามลักษณะของประกาศ กระชับ มีลักษณะที่คล้ายกับหนังสือราชการ มักเป็นประกาศขององค์การและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประกาศนั้นจะประกอบไปด้วยชื่อหน่วยงานหรือองค์การที่ออกประกาศ เรื่องที่ประกาศ เนื้อหาของเรื่องที่ประกาศและในเนื้อความก็จะประกอบไปด้วยเหตุผลความเป็นมาเพื่อเกริ่นนำเล็กน้อยก่อนจะบอกจุดประสงค์และรายละเอียด ตามตัววันเดือนปีขณะที่ออกประกาศ สุดท้ายเป็นการลงนามผู้ออกประกาศ

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างไม่เป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศอย่างไม่เป็นทางการเป็นประกาศทั่ว ๆ ไป ที่ออกจากหน่วยงาน บุคคลหรือองค์การ เพื่อแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปทราบ เช่น ประกาศรับสมัครงาน ประกาศร่วมอบรมทักษะต่าง ๆ ประกาศเชิญให้เข้าร่วมประกวดเขียนนิยาย เป็นต้น ในเนื้อหาของการประกาศประเภทนี้ก็จะแตกต่างจากประกาศอย่างเป็นทางการ คือยังมีชื่อหน่วยงาน หรือองค์กร เรื่องที่ประกาศ เนื้อความอันประกอบไปด้วยเหตุผล ความเป็นมา จุดประสงค์ รายละเอียด ปิดท้ายด้วยลงวันที่ของวันที่ประกาศ แต่ภาษาที่ใช้จะไม่ได้เป็นทางการเท่าหนังสือราชการ มีเนื้อหากระชับ ไม่ซับซ้อน

 

 

ข้อจำกัดของการเขียนประกาศ

 

เมื่อประกาศถูกประกาศออกไปแล้ว ผู้รับสารจะไม่สามารถซักถามใด ๆ เกี่ยวกับประกาศได้หากมีข้อสงสัย ทำไมการเขียนประกาศนั้นจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารเป็นอันดับแรกว่าการเขียน เขียนไปแล้วคนจะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าหากเขียนไม่เข้าใจ ไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน ทำให้การประกาศที่เขียนออกไปนั้นไม่เกิดประโยชน์

 

ประกาศที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร?

 

การเขียนประกาศ เป็นสิ่งที่เราได้ใช้และได้เห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นบทเรียนในเรื่องการเขียนเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมาก น้อง ๆ จะต้องได้ใช้ในอนาคตอย่างแน่นอนค่ะ ก่อนจากกัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ก็อย่าลืมตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ รับรองว่าจะเข้าใจการเขียนในลักษณะนี้และสามารถเขียนกันได้ทุกคนแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลยนะคะ

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

การเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ     เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้ 1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้ 2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

ลำดับ

ลำดับ

ลำดับ ลำดับ ( Sequence ) คือ เซตของจำนวนหรือตัวเลขที่เรียงกันเป็นระเบียบและมีเงื่อนไข เช่น ลำดับของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ก็จะสามารถเขียนได้เป็น 1, 2, 3, 4, … โดยตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า พจน์ ( Term ) เซตของลำดับจะเขีบยแทนด้วย และเราจะเรียก ว่าพจน์ที่

คุณศัพท์บอกความรู้สึก

การใช้คำคุณศัพท์และการบอกความรู้สึก

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Descriptive Adjective การใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า    ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1