เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก

 

บทละครพูด

 

บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร บทละครพูดที่มาจากตะวันตกแต่เป็นผลงานพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไม่ใช่การแปล มีที่มาจากที่พระองค์ทรงชอบบทละครพูด และตั้งคณะละครขึ้นเพื่อช่วยอบรมจิตใจของประชาชน วรรณคดีเรื่องนี้เป็นบทละครพูดขนาดสั้น ปมเรื่องไม่ซับซ้อน แฝงด้วยข้อคิด

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

บทละครพูด

บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดขนาดสั้นเพียงองก์เดียวและเป็นร้อยแก้ว ละครพูดเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่นิยมมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นลักษณะคำประพันธ์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก

 

บทละครพูด

 

บทละครพูด เป็นละครที่แสดงโดยให้ตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนในชีวิตจริง ไม่มีดนตรี การรำ หรือการขับร้อง ตรงกับการแสดงที่เรียกว่า play ของตะวันตก ผู้แต่งจะเป็นผู้กำหนดชื่อเรื่อง ตัวละคร และฉากว่ามีลักษณะอย่างไร มีการกำหนดลำดับการแสดงของตัวละครพร้อมกับบทพูดและอารมณ์กิริยาของตัวละครเพื่อให้นักแสดงสามารถถ่ายทอดบทบาทตามที่ผู้แต่งต้องการได้

 

เนื้อเรื่องย่อ

 

 

พระยาภักดีนฤนาถและนายล้ำ เคยเป็นอดีตเพื่อนรักกัน รับราชการรุ่นเดียวกัน แต่หลงรักผู้หญิงคนเดียวกันคือแม่นวล ซึ่งเป็นมารดาของแม่ลออ แม่นวลได้นำลูกสาวมาฝากไว้ที่พระยาภักดีนฤนาถให้เลี้ยงดู ก่อนที่จะสิ้นใจ ซึ่งพระยาภักดีนฤนาถก็เลี้ยงดูเหมือนเป็นลูกแท้ ๆ และคอยอบรมสั่งสอนให้แม่ลออรักบิดาแท้ ๆ แต่บอกว่าบิดาเสียชีวิตไปแล้ว ด้านบิดาที่แท้จริงอย่างนายล้ำ เป็นคนติดเหล้าจัดและเคยต้องโทษจำคุก เมื่อพ้นโทษและได้ข่าวว่าลูกสาวของตนที่อยู่กับพระยาภักดีนฤนาถกำลังจะแต่งคนฐานะดีจึงมาแสดงตัวว่าเป็นบิดา หวังอาศัยผลประโยชน์ แม้พระยาภักดีนฤนาถจะให้เงิน นายล้ำก็ยังยืนยันที่จะพบลูกสาว กระทั่งได้พบกับแม่ลออจริง ๆ แต่แม่ลออกลับไม่รู้ว่านายล้ำเป็นบิดาที่แท้จริง เมื่อได้ฟังลูกสาวพูดถึงตัวเองในแง่ดีอย่างภาคภูมิใจโดยที่ไม่รู้เรื่อง นายล้ำเกิดความละอายแก่ใจ จึงไม่บอกความจริงเพื่อปล่อยให้แม่ลออได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป ก่อนจากไป นายล้ำได้ฝากแหวนไว้วงหนึ่งให้พระยาภักดีนฤนาถมอบให้แก่แม่ลออ เป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะหลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องนี้ไปแล้ว บทละครพูดเป็นลักษณะคำประพันธ์ที่แพร่หลายในไทยช่วงรัชกาลที่ 5 และเป็นที่นิยมในรัชกาลที่ 6 ถึงแม้จะไม่ได้มีทั้งตั้งแต่โบราณ และก็มีคุณค่าและมีการใช้ภาษาที่ดี มีความเป็นธรรม มีความเพลิดเพลิน และถ้าน้อง ๆ อยากรู้ว่าตัวบทเด่นพร้อมทั้งเจาะลึกคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องมีอะไรบ้าง เราจะไปเรียนกันในบทต่อไปนะคะ สำหรับวันนี้ ก่อนจากไปอย่าลืมชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนความรู้และเข้าใจเนื้อหาให้ได้มากขึ้น ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   การอ่านจับใจความ   เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด  

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

อิเหนา

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา ศึกษาที่มาและคุณค่าในสำนวน

  สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา มีอยู่มากมายเลยทีเดียวค่ะ เพราะพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเรามาตั้งแต่อดีตกาล ทำให้มีความเกี่ยวโยงไปถึงสำนวน ซึ่งเป็นเหมือนถ้อยคำที่ใช้สั่งสอนและให้ข้อคิดแก่ผู้คนมายุคต่อยุค บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงสำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา และคุณค่าที่อยู่ในสำนวน ถ้าพร้อมแล้ว ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา มาจากความเชื่อเรื่องศาสนาพุทธของคนไทย โดยความหมายของสำนวนจะมีทั้งสำนวนที่ยังมีเค้าของความหมายเดิม และสำนวนที่ความหมายเปลี่ยนไป   ตัวอย่างสำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1