เรียนรู้สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์

Picture of Chisanucha
Chisanucha

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จากที่เราได้เรียนรู้ในเรื่องของสำนวนกันมามากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความหมาย ที่มา ลักษณะ ความสำคัญ หรือคุณค่า รวมไปถึงตัวอย่างสำนวนไทยน่ารู้ที่เราได้ยกมาแล้วอธิบายความหมาย แต่น้อง ๆ สังเกตไหมคะว่า สำนวนไทยมีหลายสำนวนเลยที่มักจะเกี่ยวข้องกับสัตว์ สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์ ไม่ได้มีขึ้นเพื่อกล่าวถึงสัตว์ตรง ๆ แต่เป็นการนำสัตว์มาเปรียบเทียบกับคน บทเรียนในวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าสัตว์แต่ละชนิดแทนพฤติกรรมไหนของคน และจะมีสำนวนใดบ้างที่เราควรรู้ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ

 

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์

 

ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อสัตว์มาจากลักษณะรูปร่างและนิสัยที่โดดเด่นบางประการของสัตว์จึงนำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับคน

 

สัตว์ในสำนวนไทย

 

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์

 

1. สัตว์ที่ถูกเปรียบเทียบในเชิงบวก มีอำนาจ กล้าหาญ จะเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างสง่า เช่น ช้าง เสือ สิงโต นกอินทรี

2. สัตว์ที่ถูกเปรียบเทียบในเชิงลบ มีรูปลักษณ์หรือมีนิสัยที่ผิดศีลธรรมขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจึงถูกนำไปเปรียบกับคนเลวหรือสิ่งเลวร้าย เช่น คางคก เสือ จระเข้ ตัวเงินตัวทอง กา หมา หมู ควาย

 

ตัวอย่างสำนวน

 

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์

 

ที่มาของสำนวน :

นำพฤติกรรมของแมวมาเปรียบเทียบ เพราะแมวมักมีนิสัยชอบไล่จับหนู ทำให้หนูต้องวิ่งหนีและกลัวอยู่เสมอ บ้านไหนมีแมว บ้านนั้นก็จะไม่มีหนู แต่ถ้าไม่มีแมว พวกหนูก็จะมีความสุขคึกคะนอง ออกมาหากินได้อย่างเพลิดเพลิน เพราะไม่ต้องกลัวแมวจะมาทำร้าย

 

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากลักษณะของไก่ที่สวยเพราะมีขนปกคลุมร่างกาย จึงเอามาเปรียบกับคนที่จะสวยก็ต่อเมื่อต้องแต่งตัวหรือแต่งหน้าดี ๆ

 

 

ที่มาของสำนวน :

ที่มาขอสำนวนนี้ มาจากการนิทานที่กล่าวถึงกบตัวหนึ่งที่ถูกขังอยู่ในกะลามาตั้งแต่ยังเล็ก โดยที่ไม่ได้ออกมาสู่โลกภายนอกเลยคิดว่าตัวเองรู้ทุกอย่างภายในโลกกะลาของตัวเองอย่างดี จนมีวันหนึ่งกะลานั้นแตกและกบหลุดออกมาภายนอกกะลาที่ครอบตัวเองอยู่ จึงรู้และเข้าใจว่าโลกภายนอกนั้น มีหลายสิ่งมากมายที่ตัวเองนั้นไม่รู้

 

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากมโหสถชาดก เป็นเรื่องราวครั้งที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นมโหสถ บัณฑิตเจ้าปัญญา อยู่มาวันหนึ่งมีกิ้งก่าเดินมามอบต่อหน้าพระราชาทำให้พระราชาคิดว่ามันเป็นกิ้งก่าแสนรู้ มโนสถจึงแนะนำนให้พระราชาพระราชทานเนื้อให้กิ้งก่าตัวนั้น เมื่อกิ้งก่าได้กินเนื้อทุกวันก็ทำความเคารพพระราชาทุกวัน แต่มีอยู่วันหนึ่งที่ไม่มีเนื้อ ทำให้พระราชาเอาทองมาคล้องคอกิ้งก่าแทนเป็นรางวัล กิ้งก่าที่มีทองจึงหลงคิดว่าตัวเองเทียบเท่าพระราชาแล้วจึงไม่ต้องการที่จะทำความเคารพอีกต่อไป พระราชาจึงสั่งให้ฆ่ากิ้งก่าทิ้ง แต่มโหสถห้ามไว้ สุดท้ายกิ้งก่าตัวนั้นก็ไม่ได้รับทั้งทองและเนื้ออย่างที่เคยได้อีกต่อไป แต่นอกจากตำนานแล้ว กิ้งก่าก็มีลักษณะที่เหมือนชูคอขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับลักษณะของคนที่ทะนงตน

 

 

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์ยังอีกมากมายหลายสำนวน เพราะคนไทยมีทัศนคติต่อสัตว์แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยในอีกหลาย ๆ ด้านอีกด้วย เรียกได้ว่านอกจากจะได้ความรู้ทางภาษาแล้วยังได้เรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ไปในตัวด้วยอีกต่างหาก สุดท้ายนี้อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่อธิบายความหมายของแต่ละสำนวนไว้ด้วยนะคะ ถึงแม้ว่าเราจะเรียนเรื่องสำนวนกันมามากแล้วแต่รับรองว่าไม่น่าเบื่อแน่นอนค่ะ ไปชมกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์ การหาพื้นที่ผิวทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้นมักเป็นสิ่งที่เราอาจได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการออกเเบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม ที่ต้องนำพื้นที่ผิวมาประเมินค่าใช้จ่ายในการทาสี, การปูกระเบื้อง, หรือเเม้กระทั่งปริมาณการใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงานต่าง ๆ รูปร่างทรงกรวยเเละลูกบาศก์สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน เช่น โคนไอติม, กรวยจราจร, หมวกปาร์ตี้ ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย เเละลูกเต๋า, ก้อนน้ำเเข็ง ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ซึ่งการหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ ให้เรามองรูปสามมิติกลายเป็นรูปประกอบของเรขาสองมิติ พื้นที่ผิวทรงกรวย ทรงกรวย คือ รูปทรงเรขาคณิต

Profile where + preposition P6

การใช้ประโยค Where’s the + (Building) + ? It’s + (Preposition Of Place)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับ ประโยค การถามทิศทาง แต่เอ้ะ Where is the building? แปลว่า ตึกอยู่ที่ไหน ประโยคนี้เป็นการถามทางแบบห้วนๆ ที่ใช้กับคนที่เราคุ้นชินหรือคนที่เรารู้จัก แต่หากนักเรียนต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องถามกับคนแปลกหน้าโดยเฉพาะฝรั่ง คงต้องมาฝึกถามให้สุภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการเกริ่นขึ้นก่อนที่เราจะถามนั่นเองค่ะ ซึ่งนักเรียนที่รักทุกคนได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบการถามทิศทาง   โครงสร้างประโยคถามแบบตรงๆ (Direct Question) “

present progressive

Present Progressive พร้อมโครงสร้าง และวิธีใช้

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Present Progressive ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Tense ที่สำคัญเช่นกันในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1