สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

 

ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย

 

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กล่าวถึง โดยมีชั้นเชิงของถ้อยคำ ชวนให้คิดหรือตีความ จึงถือว่าเป็นภาษาที่มีความลึกซึ้งซับซ้อน การใช้ถ้อยคำใช้ถ้อยคำในสำนวนไทย มักใช้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสคล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร เกิดความไพเราะน่าฟัง ทั้งสัมผัสภายในวรรค และระหว่างวรรค จดจำได้ง่าย

 

ลักษณะของสำนวนไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้

 

สำนวน

 

  1. มีความหมายเพื่อให้ตีความ มีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว เช่น เกลือเป็นหนอน หรือ กินปูนร้องท้อง เป็นต้น
  2. ลักษณะเป็นคำคมหรือคำกล่าว เช่น ตีหน้าตาย หน้าซื่อใจคด เป็นต้น
  3. ลักษณะเป็นคำอุปมา เช่น ขมเหมือนบอระเพ็ด ใจดำเหมือนอีกา เป็นต้น
  4. ลักษณะเป็นโวหาร มีเสียงสัมผัสกันหรือบางทีก็ย้ำคำ เช่น ข้าวแดงแกงร้อน ขุ่นข้องหมองใจ กินจุบกินจิบ เป็นต้น

 

ตัวอย่างสำนวน

 

สำนวน

 

ที่มาของสำนวน : 

ยกเมฆ มาจากความเชื่อทางไสยศาสตร์ในการดูเมฆ ดูรูปลักษณะของเมฆเพื่อจะดูนิมิตดีร้ายในการกระทำกิจกรรมสำคัญ ๆ เช่น การยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปนารายณ์ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ แต่ถ้าฤกษ์ยกทัพเกิดความเป็นศูนย์ เมรุเผาศพ ทายว่า ถ้ายกทัพไปรบกับข้าศึกก็จะถูกข้าศึกตีแตกพ่าย แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ยกเมฆจึงกลายเป็นสำนวนเสียดสีคนธรรมดาทั่วไป

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน : 

อย่าไปยึดติดกับคำทำนายของหมอดูมากนักเลย หมอดูส่วนใหญ่ก็ยกเมฆกันทั้งนั้น

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากแกะ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสีขาว ส่วนแกะสีดำที่เป็นส่วนน้อย เมื่อนำไปขายจะขายไม่ได้ราคา จึงนำมาเรียกคนที่แตกต่างจากคนอื่น

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน : 

เพื่อน ๆ ไปอ่านหนังสือเตรียมสอบกันหมด ส่วนฉันมัวแต่ไปเที่ยว เป็นแกะดำอยู่คนเดียว

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากการสวมหน้ากากเพื่อปิดบังอำพรางใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อปิดบังอำพรางใบหน้าที่แท้จริง โดยส่วนใหญ่หน้ากากที่สวมใส่จะเป็นหน้ากากที่ใช้เฉพาะกิจ เช่น สวมในการแสดงละคร หรือ ลิเก หรือ เป็นหน้ากากที่ป้องกันใบหน้าไม่ให้เป็นอันตรายในการทำงานที่ใบหน้า หรือ ดวงตาอาจจะได้รับอุบัติภัยได้ หรือ เป็นหน้ากากป้องกันไอพิษ ฯลฯ การสวมหน้ากากต้องปกปิดใบหน้าที่แท้จริงทำให้ถูกยกมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ยอมแสดงด้านที่แท้จริงให้คนอื่นเห็นเหมือนคนที่ใส่หน้ากากอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

ที่นี่มีแต่เพื่อน ๆ คนกันเองทั้งนั้น ไม่ต้องใส่หน้ากากเข้าหากันก็ได้

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน: 

มาจากการชนไก่ ในอดีตก่อนที่จะเอาไก่ไปชน จะต้องเอาถุงคลุมไปจากบ้านเพื่อกันไก่ตื่น เมื่อถึงเวลาก็เปิดถุงปล่อยเข้าสังเวียนชนกันเลยโดยต่างฝ่ายไม่เคยเห็นไก่ก่อน จึงนำมาเปรียบเทียบกับการแต่งงานที่พ่อ-แม่จัดการหาคู่อย่างไรโดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่เคยเห็นกันมาก่อน

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

สมัยนี้คงไม่มีพ่อแม่ที่ไหนจับลูกคลุมถุงชนหรอก เธอสบายใจได้เลย

 

 

 

ที่มาของสำนวน :

เป็นการนำคำสองคำมารวมกันคำแรกคือ คอขาด มีความหมายชัดเจนในตัวเองว่าหมายถึงตาย ส่วนคำว่า บาดตาย เป็นคำสร้อยเติมมาให้ดูสละสลวยและเน้นถึงความตายมากขึ้น

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

นี่มันเรื่องคอขาดบาดตายนะ เธออย่าทำเป็นเล่นไป

 

 

 

ที่มาของสำนวน :

ขมิ้นกับปูนเมื่อผสม มันจะออกฤทธิ์ทางเคมีหักล้างกัน โดยขมิ้นจะออกฤทธิ์ลดความเป็นด่างของปูนขาวลง จึงถูกนำมาใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ไม่ถูกกัน

ตัวอย่างการนำไปใช้ :

แม่กับป้าเจอกันทีไรต้องมีเรื่องทุกที เหมือนขมิ้นกับปูน

 

จากตัวอย่างที่ยกมา น้อง ๆ จะเห็นเลยใช่ไหมคะว่าสำนวนไทยไม่เพียงแต่มีไว้เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการสื่อสารหรือเพื่อความสละสลวยทางภาษาเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยคติ ความเชื่อ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าทึ่งมากเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้สำนวนไทยจึงถือเป็นมรดกทางภาษาอย่างหนึ่งที่น่าสนใจควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ด้วยสำนวนที่มีมากมาย น้อง ๆ ทุกคนจะได้เรียนสำนวนไทยเพิ่มเติมกันอีกหลายสำนวนล่ะคะ ดังนั้นอย่าลืมหมั่นทบทวนเพื่อไม่ให้ลืมสำนวนที่เรียนผ่านไปแล้วโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้อธิบายความหมายของสำนวนไว้ ทั้งภาพ ทั้งการสอนที่สนุกของครู รับรองว่าจะทำให้น้อง ๆ ทุกคนจำสำนวนไทยและความหมายได้ไม่ลืมแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษา นิทานเวตาล เรื่องที่10 และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง

​ นิทานเวตาล เป็นนิทานเรื่องเล่าที่แฝงไปด้วยคุณค่าและคติธรรมมากมาย หากแต่เต็มไปด้วยคุณค่า สำหรับฉบับแปลไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์มีด้วยกัน 10 เรื่อง เรื่องที่อยู่ในแบบเรียนภาษาไทย คือเรื่องสุดท้าย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในนิทานเรื่องนี้เพื่อถอดความหมายและศึกษาคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ ด้านเนื้อหา และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยเลยค่ะ   ตัวบทเด่นใน นิทานเวตาล เรื่องที่10   บทที่ 1  

3 ขั้นตอนการเขียนโครงงานอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

ในเมื่อมีการเขียนรายงานแล้วทำไมถึงยังต้องมีการเขียนโครงงาน? น้อง ๆ เคยสงสัยไหมคะว่า การเขียนโครงงาน นั้นไม่เหมือนกับรายงานทั่วไปอย่างไร มีองค์ประกอบและขั้นตอนการเขียนอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยนะคะ   โครงงานคืออะไร   โครงงานเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการโดยผู้เรียนจะเป็นผู้คิดค้น วางแผน ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ อาศัยเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติ เพื่อให้โครงงานสำเร็จภายใต้คำแนะนำ การกระตุ้นความคิด กระตุ้นการทำงานของครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่คิดสร้างโครงงาน ลงมือปฏิบัติ ไปจนถึงประเมินผล   ความสำคัญของโครงงาน    

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

การเขียนแนะนำความรู้

เขียนแนะนำความรู้อย่างไรให้น่าอ่าน แค่ทำตามหลักการต่อไปนี้

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนภาษาไทย วันนี้เราได้เตรียมสาระความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนมาให้น้อง ๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์กัน โดยเนื้อหาที่เราจะมาเรียนในวันนี้จะเป็นเรื่องของการเขียนเพื่อแนะนำความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจหลักการง่าย ๆ ที่จะนำไปใช้ในการเขียนให้ความรู้ผู้อื่น โดยที่น้อง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้ หรือใช้กับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้เลย เป็นพื้นฐานการเขียนที่เด็ก ๆ ทุกคนควรได้รับการฝึกฝนจะได้นำไปเขียนได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่บทเรียนวันนี้กันเลยดีกว่า    

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต

อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเลขคณิต คือการนำลำดับเลขคณิตแต่ละพจน์มาบวกกัน โดย เขียนแทนด้วย จากบทความ “สัญลักษณ์การบวก” ซึ่งเป็นการลดรูปการเขียนจำนวนหลายจำนวนบวกกัน ในบทความนี้จะพูดถึงการบวกของลำดับเลขคณิต การหาผลบวก สูตรสำหรับการหาผลบวกเลขคณิต สูตรอนุกรมเลขคณิต สูตรของอนุกรมเลขคณิตมีอยู่ 2 สูตร ดังนี้ 1)   โดยที่ d คือ ผลต่างร่วม 2)   โดยจะใช้สูตรนี้ก็ต่อเมื่อรู้ค่า

ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์     ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1