การเขียนคำอวยพร เขียนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้รับ

การเขียนคำอวยพร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คนเราทุกคนต่างต้องการในสิ่งดีงาม เมื่อถึงโอกาสสำคัญอย่างวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ จึงต้องการคำอวยพรที่สร้างกำลังใจ และเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง คำอวยพรจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม ที่คนใช้สื่อสาร ถ่ายทอดเพื่อมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเขียนคำอวยพร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีลักษณะและวิธีอย่างไรบ้าง

 

การเขียนคำอวยพร

 

ความหมายของคำอวยพร

คำอวยพร คือ คำพูดแสดงความปรารถนาดีต่อกันในโอกาสต่าง ๆ

 

โอกาส ในการเขียนคำอวยพร

 

การเขียนคำอวยพร

 

1. วันปีใหม่

  • สวัสดีปีใหม่ ขอให้มีความสุขมาก ๆ
  • สัขสันต์วันขึ้นปีใหม่ ขอให้โชคดึมีเงินมีทอง

2. วันเกิด

  • สุขสันต์วันเกิด ของให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีเงินใช้
  • ขอให้มีความสุขมากๆ ในวันเกิดปีนี้ มีความสุข ร่ำรวย ๆ

3. วันสงกรานต์

  • สงกรานต์ปีนี้ ขอให้สมหวังดั่งใจปรารถนา มีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส คลายทุกข์คลายโศกตลอดไป
  • สุขสันต์วันสงกรานต์ ขออวยพรให้ท่านสุขสันต์ แช่มชื่นทุกคืนวัน

4. งานแต่งงาน

  • ขอให้ชีวิตคู่มีแต่ความสุข ความเจริญ ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป
  • เนื่องในโอกาสมงคล ขออวยพรให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวครองรักกันไปนาน ๆ

5. จบการศึกษา

  • ขอแสดงความยินดีกับการเรียนจบ ขอให้ชีวิตหลังจากนี้ประสบความสำเร็จ และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ
  • ยินดีกับนักเรียนทุกคนที่จบการศึกษาในปีนี้ ขอให้เส้นทางในอนาคตราบรื่น พบแต่ความสุข ความเจริญ

 

ลักษณะของคำอวยพร

 

การเขียนคำอวยพร

 

1. คำอวยพรที่ใช้เฉพาะโอกาส

หมายถึง คำอวยพรที่ใช้ได้เฉพาะโอกาสใดโอกาสหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากว่าคำศัพท์และเนื้อหาที่ใช้ในโอกาสนั้นเป็นคำเฉพาะ จะใช้กับโอกาสอื่น ๆ ไม่ได้

ตัวอย่าง

 

 

2. คำอวยพรที่ใช้ได้มากกว่าหนึ่งโอกาส

หมายถึง คำอวยพรใช้ได้ตั้งแต่ 2 โอกาสขึ้นไป

ตัวอย่าง

ขอให้สุขภาพแข็งแรง สามารถอวยพรได้ทั้งในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ วันเกิด เยี่ยมผู้ป่วยหรืออวยพรแก่สามีภรรยาที่เพิ่งคลอดลูก เป็นต้น

 

หลักการเขียนคำอวยพร

 

 

1. เขียนให้สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้อวยพร ผู้รับพร โอกาส และสื่อที่ใช้อวยพร

2. การกล่าวถึงโอกาสที่อวยพร

3. การอวยพรผู้อาวุโส ควรกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสากลหรือสิ่งที่ผู้รับพรเคารพนับถือ เช่น ขออำนาจคุณพระแก้วมรกต ดลบันดาลให้ท่านพบความสุขี มีแต่ความสวัสดี โชคดีทุกคืนวัน

4. ให้พรที่เหมาะสมกับผู้รับพรและเป็นพรที่สร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ เช่น ความสุข หน้าที่การงาน ความสำเร็จ ความสมหวัง สุขภาพ อายุยืนยาว เป็นต้น

5. ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้องเหมาะสมโดยพยายามสรรหาคำที่ไพเราะและมีความหมายดี

 

การอวยพรเป็นการตอบสนองทางจิตใจ ทำให้ผู้รับเกิดกำลังใจ ความเชื่อมั่น และความสุข ดังนั้นผู้ที่อวยพรจึงต้องเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ และแสดงความปรารถนาดีผ่านภาษาที่ถ่ายทอดออกไป เมื่อได้เรียนรู้การเขียนคำอวยพรไปแล้ว เชื่อว่าหลังจากนี้หากน้อง ๆ ต้องเขียนอวยพรให้กับใคร ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็อย่าลืมบทเรียนนี้ และเลือกใช้คำที่ไพเราะ มีความหมายดี และที่สำคัญที่สุดคือต้องเหมาะสมกับโอกาสนั้น ๆ ด้วยนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมตามไปชมคลิปครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดบทเรียนสนุก ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

โคลงนฤทุมนาการ โคลงสุภาษิตสอนใจรู้ไว้ไม่เป็นทุกข์

หลังจากได้ศึกษาเรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์ไปแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าในโครงสุภาษิตยังมีเรื่องอื่นอีกด้วย และในบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนต่อไปนี้ก็คือเรื่อง โคลงนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิต ที่ใช้โคลงสี่สุภาพในการประพันธ์เหมือนโคลงโสฬสไตรยางค์ แต่จะมีความหมาย และเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงนฤทุมนาการ คืออะไร     ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าในโคลงนฤทุมนาการมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันที่ความหมายก่อนเลยค่ะ คำว่า นฤทุมนาการ มาจากคำศัพท์ต่าง

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

ร่ายสุภาพ เรียนรู้บทร้อยกรองที่แต่งง่ายที่สุด

หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมามากมาย น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเห็นคำประพันธ์ประเภท ร่าย ผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าคำประพันธ์นี้จะไม่ได้มีมากที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนึ่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่มีมาตั้งแต่โบราณ แถมยังแต่งง่ายมากที่สุดอีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปเรียนรู้การแต่งคำประพันธ์อย่าง ร่ายสุภาพ พร้อมกันเลยค่ะ   ร่าย คืออะไร?   ร่าย แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน เหรือแปลว่าป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งก็ได้ ร่ายเป็นบทประพันธ์ที่แต่งง่าย

M4 Past Passive

Past Passive in English

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1