ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน
ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย

อมรินทร์    หมายถึง     พระอินทร์

คช             หมายถึง    ช้าง, ช้างพลาย

นิรมิต         หมายถึง    นิมิต, เนรมิต, บันดาลให้เกิดขึ้น

สีสังข์         หมายถึง    สีขาว (สีเหมือนหอยสังข์)

โอฬาร์        หมายถึง    ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต, เลิศล้น

ถอดความได้ว่า

อินทรชิตได้จำแลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งลักษณะของช้างที่เนรมิตมานี้ก็ดูแข็งแรงและมีฤทธา ผิวของช้างเอราวัณเป็นสีขาวเผือกผ่องสะอาดราวสีของสังข์และตัวใหญ่โตมาก ๆ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

โสภา          หมายถึง    สวย, งาม

รูจี              หมายถึง    แสงสว่าง, ความงาม, ความรุ่งเรือง

โบกขรณี    หมายถึง    สระบัว

อุบล            หมายถึง   ดอกบัวสาย

ถอดความได้ว่า

ช้างนั้นมีสามสิบสามหัวแต่ละหัวมี 7 งา สวยงามราวกับเพชรที่ส่องแสงประกาย ในแต่ละงานั้นจะมีสระบัว 7 สระ แต่ละสระก็มีกอบัว    7 กอ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

ดวงมาลย์         หมายถึง    ดอกบัว

ผกา                 หมายถึง     ดอกไม้

โสภา               หมายถึง     สวย, งาม

แน่งน้อย          หมายถึง    มีรูปร่างบอบบาง,

ลำเพา             หมายถึง    โฉมงาม

นงพาล           หมายถึง     สาวแรกรุ่น

ถอดความได้ว่า

กอบัวแต่ละกอมีดอกบัว 7 ดอก ในแต่ละดอกที่แบ่งบานนี้จะมีกลีบบัวอยู่ 7 กลีบ แต่ละกลีบจะมีเทพธิดา 7 องค์ แต่ละองค์ล้วนมีรูปโฉมงดงามมาก 

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

เยาวมาลย์        หมายถึง     หญิงสาวที่มีรูปโฉมงดงาม

มายา                หมายถึง     ลวงตา, มารยา, การแสร้งทำ

อัปสร                หมายถึง     นางฟ้า, เทพธิดา

บวร                   หมายถึง     ประเสริฐ, ล้ำเลิศ

เกศ                   หมายถึง     หัว, ศีรษะ

กุญชร               หมายถึง     ช้าง

เวไชยันต์           หมายถึง     ปราสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

ถอดความได้ว่า

เทพธิดาแต่ละองค์จะมีบริวารองค์ละ 7 คน ทั้งหมดนี้ล้วนเนรมิตขึ้นมาทั้งสิ้น นางเหล่านี้ฟ้อนระบำร่ายรำงดงามพริ้วไหวราวกับนางฟ้านางสวรรค์ลงมาร่ายรำให้ดู หัวของช้างแต่ละหัวนั้นก็จะมีวิมานตั้งอยู่ วิมานเหล่านั้นสวยดุจดั่งประสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

บทพากย์เอราวัณ

ประเมินคุณค่า

  • ด้านเนื้อหา

1. ได้ศึกษาวรรณคดีของชาติที่แสดงถึงวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ใช้ในการแสดงโขนมายาวนาน
2. ทำให้ทราบถึงลักษณะของช้างเอราวัณว่ามีลักษณะอย่างไร
3. แสดงถึงแง่มุมที่ให้ข้อคิดเรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีสติ อย่าหลงเชื่อใคร หรือหลงเชื่ออะไรง่าย ๆ

  • ด้านวรรณศิลป์

เป็นวรรณคดีที่แต่งได้อย่างมีชั้นเชิง สามารถใช้ภาษาอันไพเราะมาร้อยเรียงด้วยลักษณะคำประพันธ์อย่างกาพย์ฉบัง 16 ใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความสวยงาม และลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี อาทิ

“เศียรหนึ่งเจ็ดงา             ดั่งเพชรรัตน์รูจี”

“มีวิมานแก้วงามบวร        ทุกเกศกุญชร         ดังเวไชยันต์อัมรินทร์”

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้ถอดคำประพันธ์กันแล้วพอจะเห็นภาพความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของช้างเอราวัณบ้างหรือเปล่า ต้องบอกว่าบทพากยฺเอราวัณ์นี้สามารถแต่งออกมาบรรยายลักษณะของช้างเอราวัณนี้ไว้ได้อย่างละเอียด และไพเราะมากจริง ๆ เป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เราต้องช่วยกันรักษาไว้ ส่วนน้อง ๆ คนไหนอยากจะศึกษาเพิ่มเติมแนะนำให้ดูครูอุ้มสอนที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1