ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

ผู้ชนะ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ

 

ผู้ชนะ

 

บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่นิยมของนักกลอนในสมัยนั้น ผู้ชนะเป็นหนึ่งในผลงานกลอนที่คนทั่วไปรู้จักดีเพราะนอกจากจะไพเราะแล้วยังให้ข้อคิดที่ดีอีกด้วย

 

ผู้ชนะ

 

ตัวบทอาขยาน ผู้ชนะ

 

ตัวบทผู้ชนะจะเรียงเนื้อหาตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ดังนี้

 

ผู้ชนะ

 

เมื่อเรารักในงานที่ทำก็จะทำให้ความเหน็ดเหนื่อยลดลง เพราะเรามีแรงใจและความมุ่งมั่นเป็นตัวผลักดันไปให้ถึงความสำเร็จ

 

ผู้ชนะ

 

ไม่ว่าจะทำการหรือทำสิ่งใด เราจะต้องมีใจที่พยายาม ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้ามา ไม่ปล่อยทิ้งจนกว่าจะได้พบกับความสำเร็จ

 

ผู้ชนะ

 

ไม่คิดกลัวต่ออุปสรรค เมื่อได้ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ แล้วก็ควรจดจ่อ ทำทุกสิ่งด้วยใจที่ตั้งมั่น ใช้เป็นแรงผลักดันชีวิตให้เดินต่อไปข้างหน้า แล้ววันหนึ่งผลสำเร็จก็จะปรากฏให้เราเห็นอย่างที่ต้องการ

 

 

อุปสรรคเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่งานที่เรารักบางครั้งก็ยังต้องเจอกับอุปสรรคดังนั้นเราจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผ่านไปให้ได้โดยใช้สมองคิดตรึกตรองถึงทางออก ถ้าทำได้เราก็จะประสบความสำเร็จและไม่ลำบากอีกต่อไป

 

 

ความสำเร็จนั้นอยู่ไม่ใกล้และไม่ไกล ถ้าตั้งใจจริงก็สามารถพบกับความสำเร็จได้ไม่ยากเย็น เพียงแค่ยึดหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ (รักงานที่ทำ) วิริยะ (พากเพียรพยายาม) จิตตะ (ตั้งใจจริง) วิมังสา (แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด) หากทำได้เราจะก็เป็นผู้ชนะ

 

วิธีอ่านบทอาขยานผู้ชนะ

 

การอ่านบทอาขยานจะต้องอ่านให้ถูกจังหวะและแบ่งวรรคตอนให้ถูกต้องจึงจะทำให้อ่านได้ง่าย อ่านคล่อง ไม่มีติดขัด ซึ่งการแบ่งวรรคของบทนี้ก็จะเหมือนกับการอ่านบทร้องกรองที่เป็นกลอนสุภาพ ดังนี้

 

* / = เว้นวรรคหนึ่งจังหวะ // = เว้นสองจังหวะ ขึ้นวรรคใหม่

 

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ด้วยใจรัก//

ถึงงานหนัก/ก็เบาลง/แล้วครึ่งหนึ่ง//

ด้วยใจรัก/เป็นแรง/ที่เร้ารึง//

ให้มุ่งมั่น/ฝันถึง/ซึ่งปลายทาง//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใจบากบั่น//

ไม่ไหวหวั่น/อุปสรรค/เป็นขวากขวาง//

ถึงเหนื่อยยาก/พากเพียร/ไม่ละวาง//

งานทุกอย่าง/เสร็จเพราะกล้า/พยายาม//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใจจดจ่อ//

คอยเติมต่อ/ตั้งจิต/ไม่คิดขาม//

ทำด้วยใจ/เป็นชีวิต/คอยติดตาม//

บังเกิดผล/งอกงาม/ตามต้องการ//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใคร่ครวญคิด//

เห็นถูกผิด/แก้ไข/ให้พ้นผ่าน//

ใช้สมอง/ตรองตริ/คิดพิจารณ์//

ปรากฎงาน/ก้าวไกล/ไม่ลำเค็ญ//

ความสำเร็จ/จะว่าใกล้/ก็ใช่ที่//

จะว่าไกล/ฤาก็มี/อยู่ให้เห็น//

ถ้าจริงจัง/ตั้งใจ/ไม่ยากเย็น//

แล้วจะเป็น/ผู้ชนะ/ตลอดกาล//

 

บทอาขยานผู้ชนะสอนให้เราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น และฝ่าฟันไปให้ได้ เป็นอีกหนึ่งบทประพันธ์ที่มีประโยชน์อย่างมาก หวังว่าหลังได้เรียนรู้ความหมายกันไปแล้วน้อง ๆ จะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม3 มารู้จักกับ Signal Words

การใช้ Signal words : First, Second, Firstly, Secondly, Finally, Then, Next etc.

มารู้จักกับ Signal Words หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันคือ Connective Words: คำเชื่อมประโยค/วลี ในภาษาอังกฤษ สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing)

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม

เกริ่นนำ เกริ่นใจ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วได้รับความสำคัญในหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ เอาเข้าจริง ภาษาไทยของเราเองก็มีอะไรในลักษณะนี้เหมือนกันนะ แต่จะไม่เด่นชัดในรูปประโยคจนรู้สึกว่าซับซ้อนเหมือนภาษาอังกฤษที่เรากำลังเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อวานไปไหนมา….หรือ ฉันไป…มา ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เป็นรูปอดีตด้วยการเปลี่ยนคำกริยาเป็นช่องที่ 2 ตัวอย่างเช่น Where “did” you go yesterday? หรือ I “went to…” เป็นต้น อย่างไรก็ดี

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   หลังได้เรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วงไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่าในเรื่องสุภาษิตพระร่วงนั้นสอดแทรกคำสอนเรื่องใดไว้บ้าง รวมถึงคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ด้วย บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในสุภาษิตพระร่วงพร้อมเรียนรู้ถึงคุณค่าของเรื่องนี้กันค่ะ   ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องสุภาษิตพระร่วง     คำสอนที่ปรากฏในตัวบท ควรเรียนเพื่อนเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง เป็นเด็กควรเรียนหนังสือ พอโตขึ้นค่อยหาเงิน ทำอะไรให้เหมาะสมกับวัย อย่าเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง อย่ารีบด่วนสรุปเรื่อง่าง ๆ ให้ประพฤติตนตามแบบวัฒนธรรมที่ดีงาม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1