เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย

 

ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

ตัวบท

 

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

 

แปล

เมื่อเรามีโอกาสได้เกิดมาแล้วทั้งที ก็อย่าเอาแต่พึ่งคนอื่นให้เขาดูถูกแต่ควรคิดพึ่งตัวเองและมีความพยายามในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำไร่ทำนาหรือค้าขายก็ล้วนเป็นการมีเกียรติ อย่าดูถูกว่าเป็นงานไม่ดี หรือถ้าชอบงานอุตสาหกรรมก็ให้เลือกตามที่ถนัดขอแค่อย่าผัดวันไปเรื่อย ๆ ไม่ลงมือทำเสียที

 

ตัวบท

 

 

แปล

เมื่อเราได้อาชีพแล้วเราก็เอาใจเข้าสู้ เอาสติปัญญา เอาความรู้ที่มีเป็นแรงในการประกอบอาชีพ และเอาความพยายามเป็นตัวช่วยนำชีวิต สุดท้ายแล้วเงินและทองก็จะมาหาเราเอง เพราะประเทศไทยนั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรอันมีค่า พร้อมจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จไม่ยาก

 

คำศัพท์น่ารู้

บากบั่น หมายถึง พยายาม มุ่งมั่งไม่ท้อถอย

กสิกิจ หมายถึง การทำไร่ ไถนา

เกียรติ หมายถึง ชื่อเสียง ความยกย่องนับถือ

ผัด หมายถึง ขอเลื่อนเวลาไป

พาณิชยการ หมายถึง การค้าขาย

พึ่ง หมายถึง อาศัย ขอความช่วยเหลือ

หยัน หมายถึง เยาะเย้ย

อุตสาหกรรม หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิตสิ่งของ

อำนวย หมายถึง ให้

เพียร หมายถึง พยายามจนกว่าจะสำเร็จ

ยาน หมายถึง เครื่องนำไป

 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

 

 

บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิตมีขึ้นเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ฝึกอ่านและจดจำเกี่ยวกับสุภาษิตได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยอธิบายความหมายให้ชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย จากบทประพันธ์น้อง ๆ ก็จะเห็นข้อดีของพึ่งพาตัวเองในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความพยายามและใจรัก ไม่เอาแต่พึ่งพาคนอื่น รอความช่วยเหลือจากคนอื่น ถือว่าเป็นอีกเรื่องที่มีข้อคิดดีมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง น้อง ๆ เองก็อย่าลืมนำสุภาษิตเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ ก็อย่าลืมเข้าไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับตัวบทเพิ่มเติมด้วย น้อง ๆ จะได้เข้าใจความหมายและคำศัพท์ในเรื่องด้วย ไปชมเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลงอิศปปกรณำ

โคลงอิศปปกรณำ วรรณคดีร้อยแก้วที่แปลมาจากนิทานตะวันตก

ในบทเรียนก่อนหน้า น้อง ๆ ได้เรียนรู้เรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์กับโคลงนฤทุมนาการกันไปแล้ว แต่โคลงสุภาษิตที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะได้เรียนไม่ได้หมดแค่นั้นนะคะ เพราะยังมีอีกหนึ่งโคลงสุภาษิตที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ โคลงอิศปปกรณำ นั่นเองค่ะ โคลงสุภาษิตที่ชื่อดูอ่านยากเรื่องนี้จะมีที่มาอย่างไร สอนเรื่องอะไรเราบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร ให้ข้อคิดแบบไหน ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของ โคลงอิศปปกรณำ     โคลงอิศปปกรณำ อ่านว่า โคลง-อิด-สะ-ปะ-ปะ-กะ-ระ-นำ

Present Perfect

Present Perfect ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Present Perfect ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

M3 Past Passive

Past Passive คืออะไร

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   Past Passive คืออะไร   Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจากโครงสร้างของ Passive voice (ประโยคที่ประธานถูกกระทำ เน้นกรรม) เมื่อนำมารวมกันแล้วPast

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ ฟังก์ชันประกอบ คือฟังก์ชันที่เกิดจากการหาค่าฟังก์ชันที่ส่งจากเซต A ไปเซต C โดยที่ f คือฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไปยัง B และ g เป็นฟังก์ชันที่ส่งจาก B ไปยัง C เราเรียกฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไป C นี้ว่า gof  จากรูป

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร น้องๆจะต้องวิเคราะห์โจทย์ปัญหา แปลงโจทย์ปัญหาให้เป็นสมการ 2 สมการขึ้นไป และแก้สมการเพื่อหาคำตอบ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ ตัวอย่างที่ 1 ในเข่งหนึ่งมีจำนวนมะม่วงและจำนวนมังคุดรวมกันอยู่ 68 ผล ถ้าจำนวนมะม่วงน้อยกว่าจำนวนมังคุดอยู่ 18 ผล    เข่งใบนี้มีมะม่วงและมังคุดอย่างละกี่ผล โจทย์กำหนดข้อมูลหรือความสัมพันธ์ใดมาให้บ้าง (โจทย์กำหนดข้อมูลมาให้ 2

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1