เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาขุนช้างขุนแผน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน

 

ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

 

เสภาขุนช้างขุนแผน

 

การชำระเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

 

ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่นิยมสืบเนื่องยาวนานเกือบ 400 ปี เพราะเนื้อเรื่องมีความยาวมาก ไม่สามารถขับเสภาให้จบในวันเดียวได้ ใครชอบตอนไหนก็แต่งตอนนั้นทำให้เนื้อเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน เหตุการณ์สลับกัน ชื่อตัวละครไม่ตรงกัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 มีแต่งบทเสภาขึ้นมาใหม่ ทำให้วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนจากวรรณคดีชาวบ้านเป็นวรรณคดีราชสำนัก และเมื่อถึงรัชกาลที่ 3 บทเสภาสำนวนหลวงก็สมบูรณ์ ภายในได้มีการแต่งเพิ่มอีกเล็กน้อย แต่เมื่อได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ 2415 ก็ไม่มีใครแต่งเพิ่มอีก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา กรมการหอพระสมุดวชิรญาณร่วมกันชำระเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน โดยเลือกสรรสำนวนที่ดีเลิศ ถูกต้อง มารวมกันและเชื่อมให้เป็นเรื่องเดียวกัน เทียบเคียงกับต้นฉบับหลายสำนวน ตัดออก แต่งเพิ่ม และพิมพ์บทเสภาที่ไม่เคยพิมพ์มาก่อนรวมไปด้วย รวมทั้งเป็น 43 ตอน

 

เสภาขุนช้างขุนแผน

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์กลอนเสภาเป็นกลอนสุภาพ เสภาเป็นกลอนขั้นเล่าเรื่องอย่างนิทาน จึงใช้คำมากเพื่อบรรจุข้อความให้ชัดเจนแก่ผู้ฟัง มีข้อบังคับคือ คำสุดท้ายของวรรคต้น ส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่งใน 5 คำแรกของวรรคหลัง สัมผัสวรรคอื่นและสัมผัสระหว่างบทเหมือนกลอนสุภาพ

เสภาขุนช้างขุนแผน

เรื่องย่อ วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

 

ตอน ขุนช้างถวายฎีกานั้นเป็นตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากที่ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี ส่วนจมื่นไวยไปอยู่บ้านพ่อ แต่เมื่อกลับไปอยู่แล้วก็ทำให้จมื่นไวยเกิดความรู้สึกคิดถึงแม่ ทำให้จมื่นไวยเกิดความคิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่บ้านด้วยกันแบบพ่อ แม่ และลูก จึงบุกไปที่เรือนขุนช้างเพื่อลักพาตัวนางวันทอง แต่นางวันทองในตอนนั้นกลัวว่าจะเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง จึงให้จมื่นไวยไปปรึกษาขุนแผนผู้เป็นพ่อก่อน แต่จมื่นไวยไม่ยอม นางวันทองจึงต้องยอมไปกับลูก

ด้านขุนช้างเมื่อตื่นขึ้นมาแล้วไม่เห็นนางวันทองก็โกรธ จะไปตามนางวันทองกลับมาให้ได้ จมื่นไวยมที่กลัวว่าขุนช้างจะมาเอาเรื่อง จึงให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่าตนป่วยหนัก อยากเห็นหน้าแม่จึงให้คนไปตามนางวันทองมาอยู่ด้วยพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้างตามเดิม แต่ขุนช้างก็ยังโมโหที่จมื่นไวยทำอะไรไม่เกรงใจจึงร่างคำร้องถวายฎีกาแล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระพันวษาทรงพิโรธ สั่งให้เฆี่ยนขุนช้าง 30 ที แล้วปล่อยไป ต่อมาพระองค์ทรงได้อ่านคำฟ้องของขุนช้างแล้วก็ทรงกริ้วหนัก ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง ขุนแผน และจมื่นไวยมาเข้าเฝ้าทันที

 

 

ขุนแผนเกรงว่านางวันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตาแล้วจึงพาไปเข้าเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ใจอ่อน ตรัสถามเรื่องราวจากนางและเห็นว่าสาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้เกิดจากนางวันทองจึงให้นางตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร นางวันทองประหม่า พูดไม่ออก ไม่รู้จะอยู่กับใคร เพราะนางเองก็รักขุนแผนกับลูกชาย แต่ขุนช้างก็ดีกับนาง ท่าทีของนางทำพระพันวษากริ้วมาก เพราะเห็นว่านางวันทองเป็นหญิงแพศยา หลายใจ จึงสั่งให้ประหารชีวิตนางวันทอง

 

 

ขุนช้างถวายฎีกาเป็นอีกตอนหนึ่งจากตอนทั้งหมดของเสภาขุนช้างขุนแผนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและยอดเยี่ยมที่สุด จากที่ได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องราวอย่างย่อของตอนนี้กันไปแล้ว ในบทเรียนครั้งต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้รู้ถึงตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่ได้จากวรรณคดีเรื่องนี้กันด้วย แต่ก่อนจะไป น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนด้วยการชมคลิปการสอนสนุก ๆ จากครูอุ้มนะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

3 ขั้นตอนการเขียนโครงงานอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

ในเมื่อมีการเขียนรายงานแล้วทำไมถึงยังต้องมีการเขียนโครงงาน? น้อง ๆ เคยสงสัยไหมคะว่า การเขียนโครงงาน นั้นไม่เหมือนกับรายงานทั่วไปอย่างไร มีองค์ประกอบและขั้นตอนการเขียนอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยนะคะ   โครงงานคืออะไร   โครงงานเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการโดยผู้เรียนจะเป็นผู้คิดค้น วางแผน ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ อาศัยเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติ เพื่อให้โครงงานสำเร็จภายใต้คำแนะนำ การกระตุ้นความคิด กระตุ้นการทำงานของครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่คิดสร้างโครงงาน ลงมือปฏิบัติ ไปจนถึงประเมินผล   ความสำคัญของโครงงาน    

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

NokAcademy_ม2 การใช้ Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions

การใช้ Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “การใช้  Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Future Simple Tense     Future Simple Tense หรือ ประโยคอนาคตกาล เอาไว้พูดถึงเรื่องราวในอนาคต เช่น สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่จะทำ เป็นต้น

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1