พันธกิจของภาษา ความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

พันธกิจของภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ความต้องการ และความคิดของคน บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง พันธกิจของภาษา พร้อมความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

พันธกิจของภาษา

 

พันธกิจของภาษาคืออะไร?

 

พันธกิจของภาษา หมายถึง ประโยชน์หรือความสำคัญของภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้

พันธกิจของภาษา

1. ภาษาช่วยธำรงสังคม

ธำรง หมายถึง การดำรงอยู่ เป็นพันธกิจที่สำคัญ เนื่องจากมนุษย์ใช้ภาษาในทักทายกัน ส่งต่อความเข้าใจรวมถึงทัศนคติต่าง ๆ จนก่อให้เกิดความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข นอกจากนี้มนุษย์ยังใช้ภาษาในการแสดงกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อให้คนที่อยู่ในสังคมนั้นปฏิบัติตาม ทำให้รู้สิทธิพื้นฐาน และหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

2. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล

ปัจเจกบุคคล คือ บุคคลแต่ละคนซึ่งมีลักษณะเฉพาะต่าง ๆ อย่างเช่น สติปัญญาความคิดความอ่าน อุปนิสัย รสนิยม อารมณ์ที่แตกต่างกัน ภาษาที่ใช้ก็จะแตกต่างกันไปด้วย

3. ภาษาช่วยกำหนดอนาคต

มนุษย์สามารถกำหนดอนาคตได้ด้วยการใช้ภาษา เช่น การวางแผนงาน การร่างโครงการ การทำสัญญา การพิพากษา การทำนาย การพยากรณ์ หรือแม้แต่การใช้คำสั่ง การอ้อนวอน หรือขอร้อง

4. ภาษาช่วยจรรโลงใจ

คำในภาษาไทยมีมากมาย เมื่อมนุษย์นำมาใช้โดยการประกอบเป็นคำพูด จนก่อให้เกิดเป็นประโยคที่มีความหมายดี ลึกซึ้ง ชวนคิด หรือไพเราะ ส่งผลกับจิตของผู้ฟัง เช่น บทเห่กล่อม บทกวี บทเพลง สุนทรพจน์ คำขวัญ สุภาษิต การเล่นคำผวนเพื่อความสนุกสนาน การเล่นเกมทางภาษา โดยใช้ภาษาในลักษณะนี้ต้องเป็นไปในทางบวก หรือตรงกับรสนิยมของผู้ฟังด้วยจึงจะช่วยจรรโลงใจ

 

พันธกิจของภาษา

 

บทกวีตอนหนึ่งจาก คือแรงใจและไฟฝัน หนังสือรวมบทกวีของไพวรินทร์ ขาวงาม ที่ได้รางวัลกวีนิพนธ์ดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2535 เป็นบทกวีที่ถูกร้อยเรียงด้วยคำที่สวยงาม เรียบง่าย และทรงพลัง ช่วยจรรโลงใจผู้อ่าน

 

อิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

 

 

1. ภาษาและความเชื่อในชื่อมงคล

ความเชื่อในการตั้งชื่อสะท้อนค่านิยมและวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การตั้งชื่อที่มีความหมายดีเป็นสิริมงคลจะทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นสิ่งดีตามความรู้สึกของคนเรียก ส่วนความหมายที่ไม่ดีจะทำให้รู้สึกเดือดร้อน และโชคร้าย ตัวอย่างเช่น ในการตั้งชื่อคน ก็จะเลือกชื่อที่ไม่เป็นกาลกิณี ความหมายดี เพื่อให้ชีวิตของเจ้าของชื่อเป็นไปตามชื่อนั้น หรือ การตั้งชื่อต้นไม้ให้เป็นมงคล เพื่อที่เมื่อนำมาปลูกในบริเวณบ้าน จะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจริญรุ่งเรืองไปด้วย

 

 

2. ระดับของถ้อยคำ

ในคำบางคำ แม้จะไม่ได้มีความหมายที่ไม่ดี แต่เมื่อคนไทยนำความคิดของตัวเองไปผูกติดกับภาษา และจัดกลุ่มให้ไปอยู่รวมกับคำหยาบ คำไม่ดี ทำให้คำนั้น ๆ กลายเป็นคำที่มีหลายระดับ

 

3. การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของภาษา

เมื่อปล่อยให้ภาษาเข้ามามีอิทธิพลมากไป คำบางคำกลายเป็นคำต้องห้าม หรือสิ่งที่ไม่ดี โดยไม่สนใจเจตนาของคำนั้น เช่น ผลไม้ที่ชื่อว่า แห้ว ถูกมองว่าไม่เป็นมงคล คนไม่นิยมกินจนต้องเปลี่ยนชื่อเรียกให้ดูดีว่า สมหวัง หรือต้นไม้ชื่อลั่นทม ไปคล้ายกับคำว่า ระทม ทำให้ไม่นิยมปลูกเพราะมีความเชื่อว่าเป็นต้นไม้อัปมงคล แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลีลาวดีแล้ว ความเชื่อและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของภาษาเช่นนี้ทำให้คนเราลืมนึกถึงความเป็นจริงว่าภาษาเป็นเพียงระบบสัญลักษณ์ที่เราใช้เพื่อสื่อสารกันเท่านั้น

 

จากบทเรียนในวันนี้จะทำให้เห็นได้ว่าภาษามีความสำคัญเป็นอย่างมากกับวิถีชีวิต สามารถส่งผลได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่ไม่ว่าจะมีอิทธิพลในด้านใด เราก็ไม่ควรปล่อยให้ภาษาเข้ามามีอิทธิพลมากไปแต่ต้องใช้เหตุผลควบคู่กันไปด้วย สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปฟังคลิปการสอนของครูอุ้มเรื่องความสำคัญและอิทธิพลของภาษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แถมยังได้เห็นตัวอย่างที่ครูอุ้มได้ยกขึ้นมาอธิบาย รับรองว่าจะต้องเข้าใจมากกว่าเดิมแน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปทบทวนบทเรียนกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง

การแก้สมการกำลังสอง การแก้สมการกำลังสอง สามารถทำได้โดยการ แยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง และใช้สูตร เราแก้สมการเพื่อหาคำตอบหรือหาค่าของตัวแปร ในบทความนี้พี่จะพูดถึงสมการกำลังสองตัวแปรเดียว ซึ่งอยู่ในรูป ax² + bx + c = 0 โดยที่ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ตัวอย่างสมการกำลังสองตัวแปรเดียว 

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1