พันธกิจของภาษา ความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

พันธกิจของภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ความต้องการ และความคิดของคน บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง พันธกิจของภาษา พร้อมความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

พันธกิจของภาษา

 

พันธกิจของภาษาคืออะไร?

 

พันธกิจของภาษา หมายถึง ประโยชน์หรือความสำคัญของภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้

พันธกิจของภาษา

1. ภาษาช่วยธำรงสังคม

ธำรง หมายถึง การดำรงอยู่ เป็นพันธกิจที่สำคัญ เนื่องจากมนุษย์ใช้ภาษาในทักทายกัน ส่งต่อความเข้าใจรวมถึงทัศนคติต่าง ๆ จนก่อให้เกิดความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข นอกจากนี้มนุษย์ยังใช้ภาษาในการแสดงกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อให้คนที่อยู่ในสังคมนั้นปฏิบัติตาม ทำให้รู้สิทธิพื้นฐาน และหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

2. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล

ปัจเจกบุคคล คือ บุคคลแต่ละคนซึ่งมีลักษณะเฉพาะต่าง ๆ อย่างเช่น สติปัญญาความคิดความอ่าน อุปนิสัย รสนิยม อารมณ์ที่แตกต่างกัน ภาษาที่ใช้ก็จะแตกต่างกันไปด้วย

3. ภาษาช่วยกำหนดอนาคต

มนุษย์สามารถกำหนดอนาคตได้ด้วยการใช้ภาษา เช่น การวางแผนงาน การร่างโครงการ การทำสัญญา การพิพากษา การทำนาย การพยากรณ์ หรือแม้แต่การใช้คำสั่ง การอ้อนวอน หรือขอร้อง

4. ภาษาช่วยจรรโลงใจ

คำในภาษาไทยมีมากมาย เมื่อมนุษย์นำมาใช้โดยการประกอบเป็นคำพูด จนก่อให้เกิดเป็นประโยคที่มีความหมายดี ลึกซึ้ง ชวนคิด หรือไพเราะ ส่งผลกับจิตของผู้ฟัง เช่น บทเห่กล่อม บทกวี บทเพลง สุนทรพจน์ คำขวัญ สุภาษิต การเล่นคำผวนเพื่อความสนุกสนาน การเล่นเกมทางภาษา โดยใช้ภาษาในลักษณะนี้ต้องเป็นไปในทางบวก หรือตรงกับรสนิยมของผู้ฟังด้วยจึงจะช่วยจรรโลงใจ

 

พันธกิจของภาษา

 

บทกวีตอนหนึ่งจาก คือแรงใจและไฟฝัน หนังสือรวมบทกวีของไพวรินทร์ ขาวงาม ที่ได้รางวัลกวีนิพนธ์ดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2535 เป็นบทกวีที่ถูกร้อยเรียงด้วยคำที่สวยงาม เรียบง่าย และทรงพลัง ช่วยจรรโลงใจผู้อ่าน

 

อิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

 

 

1. ภาษาและความเชื่อในชื่อมงคล

ความเชื่อในการตั้งชื่อสะท้อนค่านิยมและวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การตั้งชื่อที่มีความหมายดีเป็นสิริมงคลจะทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นสิ่งดีตามความรู้สึกของคนเรียก ส่วนความหมายที่ไม่ดีจะทำให้รู้สึกเดือดร้อน และโชคร้าย ตัวอย่างเช่น ในการตั้งชื่อคน ก็จะเลือกชื่อที่ไม่เป็นกาลกิณี ความหมายดี เพื่อให้ชีวิตของเจ้าของชื่อเป็นไปตามชื่อนั้น หรือ การตั้งชื่อต้นไม้ให้เป็นมงคล เพื่อที่เมื่อนำมาปลูกในบริเวณบ้าน จะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจริญรุ่งเรืองไปด้วย

 

 

2. ระดับของถ้อยคำ

ในคำบางคำ แม้จะไม่ได้มีความหมายที่ไม่ดี แต่เมื่อคนไทยนำความคิดของตัวเองไปผูกติดกับภาษา และจัดกลุ่มให้ไปอยู่รวมกับคำหยาบ คำไม่ดี ทำให้คำนั้น ๆ กลายเป็นคำที่มีหลายระดับ

 

3. การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของภาษา

เมื่อปล่อยให้ภาษาเข้ามามีอิทธิพลมากไป คำบางคำกลายเป็นคำต้องห้าม หรือสิ่งที่ไม่ดี โดยไม่สนใจเจตนาของคำนั้น เช่น ผลไม้ที่ชื่อว่า แห้ว ถูกมองว่าไม่เป็นมงคล คนไม่นิยมกินจนต้องเปลี่ยนชื่อเรียกให้ดูดีว่า สมหวัง หรือต้นไม้ชื่อลั่นทม ไปคล้ายกับคำว่า ระทม ทำให้ไม่นิยมปลูกเพราะมีความเชื่อว่าเป็นต้นไม้อัปมงคล แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลีลาวดีแล้ว ความเชื่อและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของภาษาเช่นนี้ทำให้คนเราลืมนึกถึงความเป็นจริงว่าภาษาเป็นเพียงระบบสัญลักษณ์ที่เราใช้เพื่อสื่อสารกันเท่านั้น

 

จากบทเรียนในวันนี้จะทำให้เห็นได้ว่าภาษามีความสำคัญเป็นอย่างมากกับวิถีชีวิต สามารถส่งผลได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่ไม่ว่าจะมีอิทธิพลในด้านใด เราก็ไม่ควรปล่อยให้ภาษาเข้ามามีอิทธิพลมากไปแต่ต้องใช้เหตุผลควบคู่กันไปด้วย สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปฟังคลิปการสอนของครูอุ้มเรื่องความสำคัญและอิทธิพลของภาษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แถมยังได้เห็นตัวอย่างที่ครูอุ้มได้ยกขึ้นมาอธิบาย รับรองว่าจะต้องเข้าใจมากกว่าเดิมแน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปทบทวนบทเรียนกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ   There is/There are คืออะไร   There is และ There are แปลว่า

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ คือการตรวจสอบคู่อันดับว่าคู่ไหนเป็นความสัมพันธ์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด จากที่เรารู้กันในบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ว่า r จะเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A × B แต่ถ้าเราใส่เงื่อนไขบางอย่างเข้าไป ความสัมพันธ์ r ที่ได้ก็อาจจะจะเปลี่ยนไปด้วย แต่ยังคงเป็นสับเซตของ A × B เหมือนเดิม

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค เกริ่นนำเกริ่นใจ   ภาพใหญ่ของ Will และ Be going to การจะเข้าใจอะไรได้อย่างมั่นใจและคล่องตามากขึ้น เราในฐานะผู้เรียนรู้ควรที่จะต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน โดย Will เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb

Comparison of Adjectives

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

สมบัติของจำนวนเต็ม

สมบัติของจำนวนเต็ม

ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องสมบัติของจำนวนเต็ม น้องๆจำเป็นต้องเรียนเรื่อง การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม และเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์  ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมสมบัติของจำนวนเต็ม ประกอบด้วย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม ได้แก่ สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และสมบัติการแจกแจง  รวมไปถึงสมบัติของหนึ่งและศูนย์ เรามาศึกษาสมบัติแรกกันเลย สมบัติเกี่ยวกับการบวกและคูณจำนวนเต็ม สมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก ถ้า a และ b แทนจำนวนเต็มใดๆ แล้ว a + b =

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1