ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

ฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า

 

ความเป็นมาของ ฉันท์

 

ฉันท์ เป็นคำประพันธ์หนึ่งของไทยที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย คำว่าฉันท์ มีรากศัพท์มาจาก ฉท, ฉันท ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ปรากฏมีลักษณะเป็นที่น่าพึงพอใจ น่าพึงใจ ส่วนในภาษาบาลี คำว่าฉันท, ฉันโท มีความหมายสองอย่าง คือแปลว่าความปรารถนา ความตั้งใจ และคัมภีร์พระเวท หรือลักษณะคำประพันธ์

ต้นกำเนิดของฉันท์ เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีก่อน ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์พระเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน 50 พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ 50-106 พยางค์ โดยฉันท์ที่นิยมแต่งมี 8 ชนิด คือ คายตรี อนุษฏก ตริษฏก ชคตรี พฤหตี ปังกตี วิราฏ อุษณิก

 

ฉันท์

 

ความเป็นมาของฉันท์ในประเทศไทย

 

เมื่อคัมภีร์วุตโตทัยแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย กวีจึงได้ปรับปรุงให้เหมาะกับขนบร้อยกรองไทย เช่น จัดวรรค เพิ่มสัมผัส และเปลี่ยนลักษณะครุ-ลหุให้แตกต่างไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความสวยงามของภาษาไทยลงไป โดยที่กวีไทยมิได้ดัดแปลงฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัยให้เป็นภาษาไทยครับทั้ง 108 ชนิด ต่อมา นายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติมให้เป็น ฉันทวรรณพฤติ เพิ่มจากที่มหาสมณะเจ้า พระปรมานุชิตชิโนรสทำไว้ 50 ชนิด เพิ่มขึ้นอีก 50 ชนิด รวมเป็น 100 ฉันท์ เมื่อรวมเข้ากับฉันท์มาตราพฤติอีก 8 ชนิดก็รวมเป็น 108 ชนิดครบถ้วน และจัดพิมพ์รวมเล่มทั้งหมดในพ.ศ. 2474

 

การแต่งฉันท์

 

ลักษณะบังคับของฉันท์

 

ฉันท์

 

พยางค์

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือครุ-ลหุ

 

 

1. ครุ หมายถึง เสียงหนัก เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว

มีลักษณะดังนี้

  • คำที่มีตัวสะกด
  • คำที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา
  • คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว ไม่มีตัวสะกด

2. ลหุ หมายถึง เสียงเบา

มีลักษณะดังนี้

  • เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ในแม่ ก กา เช่น จะ ติ บุ และ เลอะ ฯลฯ
  • เป็นพยางค์ตัวเดียว เช่น บ บ่ ฤ ณ ธ ก็ ฯลฯ
  • สำหรับอำ ก็สามารถเป็นคำลหุได้ด้วยเช่นกัน

 

 

คณะ

คณะในลักษณะบังคับของฉันท์ หมายถึง ลักษณะการเรียงกันของเสียงครุ ลหุ กลุ่มละ 3 เสียง จึงจัดเป็น 1 คณะ ซึ่งมีทั้งหมด 8 คณะ ดังนี้

 

 

มะ คณะ ย่อมาจาก มารุต แปลว่า ลม ประกอบด้วยครุ 3 เสียง

นะ คณะ ย่อมาจาก นรา แปลว่า ฟ้า ประกอบด้วยลหุ 3 เสียง

ภะ คณะ ย่อมาจาก ภูมิ แปลว่า ดิน ประกอบด้วย ครุ ลหุ ลหุ

ยะ คณะ ย่อมาจาก ยชมาน แปลว่า พราหมณ์บูชายัญ ประกอบด้วย ลหุ ครุ ครุ

ชะ คณะ ย่อมาจาก ชลน แปลว่า ไฟ ประกอบด้วย ลหุ ครุ ลหุ

ระ คณะ ย่อมาจาก รวิ แปลว่า พระอาทิตย์ ประกอบด้วย ครุ ลหุ ครุ

สะ คณะ ย่อมาจาก โสม แปลว่า พระจันทร์ ประกอบด้วย ลหุ ลหุ ครุ

ตะ คณะ ย่อมาจาก โตย แปลว่า น้ำ ประกอบด้วย ครุ ครุ ลหุ

 

สัมผัส

สัมผัสเป็นส่วนที่กวีไทยเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อปรับปรุงฉันท์ให้เข้ากับลักษณะของร้อยกรองไทย แบ่งได้เป็น 3 แบบด้วยกัน

  1. สัมผัสแบบกาพย์ คือ ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4
  2. สัมผัสแบบกลอนสังขลิก คือ ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรคสุดท้ายของบทแรกกับวรรคที่สองของบทต่อไป ฉันท์ที่ส่งสัมผัสเช่นนี้จะเป็นฉันบทละ 3 วรรค
  3. สัมผัสแบบกลอนสุภาพ คือ มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรคทุกวรรค และระหว่างบทด้วย

 

หลังจากที่เราได้เรียนรู้พื้นฐาน ที่มาของฉันท์ตั้งแต่อดีตกระทั่งเข้ามาเป็นบทร้อยกรองของไทย รวมไปถึงลักษณะบังคับของฉันท์กันไปแล้ว แต่บทเรียนการแต่งฉันท์ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะคะ บทเรียนต่อไปเราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับฉันท์อีกประเภทหนึ่งซึ่งก็คือวิชชุมมาลาคำฉันท์นั่นเองค่ะ แต่ก่อนอื่นน้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนเรื่องคำฉันท์ในคลิปการสอนของครูอุ้มก่อนไปเรียนเรื่องถัดไปนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ม.3 สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

signal words

Signal Words ในภาษาอังกฤษคืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Signal Words ในภาษาอังกฤษว่าคืออะไร และเอาไปใช้ได้อย่างไรได้บ้าง เราไปเริ่มกันเลยครับ

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries   Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

Tense and time

การใช้ Tenses ในภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา

สวัสดีค่ะนักเรียนม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปรู้จักกับ การใช้ Tense ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษกัน ก่อนอื่นมารู้จักTenses กันก่อน Tenses อ่านว่า เท้นสฺ ถ้าเป็นคำ Adjective หรือคุณศัพท์จะแปลว่าหนักหนาสาหัส แต่ถ้าเป็นคำนาม (Noun) จะแปลว่า กาลเวลาค่ะ หัวใจของการเรียนเรื่อง Tense คือ กริยา(verb) เมื่อกริยาเปลี่ยนไปเวลาและเงื่อนไขการใช้งานของ

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1