การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเปลี่ยนแปลงคำ

 

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้

 

การเปลี่ยนแปลงคำ

 

1. การเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำ

การเปลี่ยนทางเสียงของคำ เป็นไปอย่างธรรมชาติ เกิดจากความไม่ตั้งใจและออกเสียงไม่สะดวกของภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันอยู่ทุกวัน โดยสามารถแบ่งลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงได้ดังนี้

 

การเปลี่ยนแปลงคำ

 

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเสียงของคำ

  1. การกลมกลืนเสียง คือ การที่เสียงเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมหรือไปตามเสียงข้างเคียง หลังจากการเปลี่ยนแปลงเสียงที่เปลี่ยนไปจะมีความคล้ายคลึงกับเสียงข้างเคียง เช่น สันสกฤต ในอดีตเป็นคำว่า สังสกฤต แต่ถูกหลืนเสียงไปกับตัว ส ทำให้ตัวสะกดแม่กง เปลี่ยนไปเป็นแม่กน
  2. การผลักเสียง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเสียงที่ตรงข้ามกับการกลมกลืนเสียง เสียงที่เปลี่ยนไปจะเหมือนกับเสียงข้างเคียงน้อยลงหรือกลายเป็นเสียงที่ต่างออกไปจากเสียงใกล้เคียง เช่น ส่ำสม เป็นตัวสะกดแม่กมเหมือนกันแต่ในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ว่า สั่งสม แทน
  3. การสับเสียง เป็นกระบวนการที่เสียง 2 เสียงเกิดเรียงกันหรือใกล้ชิดกันเกิดเปลี่ยนที่กันขึ้น เช่น ตะกรุด กลายเป็นกระตุดในภาษาไทยอีสานบางถิ่น เป็นต้น
  4. การลดเสียง การเปลี่ยนแปลงของเสียงที่หายไป แต่ความหมายนั้นยังคงเดิม เช่น แมลง เสียง ม,ล จะสูญไปในภาษาไทยบางถิ่นกลายเป็น แลง,แมง
  5. การเพิ่มเสียง เป็นการเพิ่มเสียงจากคำที่ออกเสียงไม่สะดวกให้สามารถพูดได้ง่ายมากขึ้น เสียงที่เพิ่มมาอาจเป็นเสียงพยัญชนะหรือเสียงสระ และอาจปรากฏในตำแหน่งต้นคำ กลางคำ หรือท้ายคำก็ได้

 

2. การเปลี่ยนแปลงทางความหมาย

 

 

– ความหมายแคบเข้า หมายถึง คำที่แต่เดิมมีความหมายหลายความหมาย ต่อมาเปลี่ยนเป็นมีความหมายน้อยลงแต่ยังคงมีความหมายเดิมอยู่บ้าง หรือแต่เดิมเคยมีความหมายรวมต่อมาเปลี่ยนเป็นความหมายเฉพาะเจาะจงมากขึ้น หรือเคยมีความหมายกลาง ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นมีความหมายในทางดีหรือแย่

ตัวอย่าง

ร่ำเรียน ในอดีตมี 2 ความหมาย คือหมายถึง ร้องเรียน และเรียนหนังสือ แต่ปัจจุบันมีความหมายว่า เรียนหนังสือ เพียงความหมายเดียว

 

– ความหมายกว้างออก หมายถึง คำนั้นแต่เดิมมีความหมายเดียวหรือมีความหมายน้อย แต่ต่อมามีความหมายเพิ่มขึ้น หรือแต่เดิมมีความหมายเฉพาะเจาะจง แต่ต่อมาขยายความหมายออกเป็นความหมายรวม

ตัวอย่าง

แม่ แต่เดิมหมายถึง ผู้ให้กำเนิด เช่น แม่วัว แม่ไก่ แม่หมู แต่ภายหลังมีความหมายถึง หัวหน้า ผู้เป็นใหญ่ด้วย เช่น แม่ทัพ แม่งาน เป็นต้น

 

– ความหมายย้ายที่ หมายถึง คำเดิมมีความหมายอย่างหนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นมีความหมายที่ต่างออกไปโดยไม่มีการใช้ในความหมายเดิมอีก

ตัวอย่าง นอกใจ ความหมายเดิมหมายถึง อกตัญญู ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอน เนรคุณ แต่ในปัจจุบันหมายถึงไม่ซื่อตรงต่อสามีหรือภรรยาด้วยการคบชู้

 

3. การเลิกใช้คำเดิม และเปลี่ยนคำใหม่

นอกจากการเปลี่ยนทางเสียงและความหมายแล้ว ยังมีอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อคำใดคำหนึ่งนั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป เรียกว่า ศัพท์สูญ หรือ สูญศัพท์ แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการเลิกใช้คำเดิมไปแล้วก็เป็นธรรมดาที่มีคำศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้แทนที่ เรียกว่า การเปลี่ยนคำใหม่ หรือ การเพิ่มศัพท์

การสูญศัพท์ หรือศัพท์สูญ

เป็นคำโบราณที่ไม่นิยมใช้กันในปัจจุบันหรือเลิกใช้ไปแล้ว ซึ่งบางคำอาจจะยังมีความหมายอยู่พจนานุกรมแต่บางคำก็ไม่มีในพจนานุกรมแล้ว เช่น เข้า ปัจจุบันใช้ ขวบ, ปี แต่งแง่ ปัจจุบันใช้ แต่งตัว นอกจากนี้ยังมีบางคำศัพท์ที่หายไปบางส่วน เช่นคำว่า เคียด แปลว่าโกรธ ปัจจุบันมักใช้คู่กับ เคียดแค้น ขึ้งเคียด มีความหมายเปลี่ยนไปเล็กน้อย คือได้ลดการหนักแน่นลงมาจากความหมายเก่า

 

เมื่อสังคมมีความเจริญและพัฒนาขึ้น คำศัพท์ที่ใช้จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมทำให้คำบางคำมีความเปลี่ยนแปลงหรือถูกเลิกใช้ไป การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เห็นวิวัฒนาการทางภาษาของภาษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ สุดท้ายนี้ น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนและสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นได้นะคะ เพราะในคลิปครูอุ้มได้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของคำไว้ให้เข้าใจอย่างง่าย มีตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน รับรองว่าน้อง ๆ เรียนแล้วจะต้องเข้าใจเรื่องนี้และทำข้อสอบได้ผ่านฉลุยแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

พญาช้างผู้เสียสละ

ทำความรู้จักกับพญาช้างผู้เสียสละนิทานธรรมะจรรโลงใจ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในวิชาภาษาไทยแสนสนุก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศกันด้วยการมาอ่านนิทานชาดกเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างรูปร่างงดงาม ต้องบอกว่าเรื่องราวในนิทานชาดกเรื่องนี้นอกจากจะทำให้น้อง ๆ สนุกไปกับเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมอบคติสอนใจให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย ภูมิหลังตัวละคร สำหรับเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นนิทานชาดกที่จัดเป็น 1 ใน 500 ชาติที่พระพุทธเจ้าเคยได้เสวยชาติ ซึ่งชาดกเรื่องนี้จะเล่าถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างสีลวะ ด้วยความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีมานานจึงได้เกิดเป็นพญาช้างร่างใหญ่กำยำผิวขาวเผือกผ่อง มีงวงและงาสวยงามและมีบริวารรายล้อม

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

การเขียนคำอวยพร

การเขียนคำอวยพร เขียนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้รับ

  วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คนเราทุกคนต่างต้องการในสิ่งดีงาม เมื่อถึงโอกาสสำคัญอย่างวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ จึงต้องการคำอวยพรที่สร้างกำลังใจ และเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง คำอวยพรจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม ที่คนใช้สื่อสาร ถ่ายทอดเพื่อมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเขียนคำอวยพร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีลักษณะและวิธีอย่างไรบ้าง   การเขียนคำอวยพร   ความหมายของคำอวยพร คำอวยพร

เรียนรู้คุณค่าและนำสุภาษิตสอนหญิงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

สุภาษิตสอนหญิง เป็นผลงานที่สุนทรภู่มุ่งสอนและเตือนสติผู้หญิงไทยให้มีกิริยามารยาทและการดำเนินชีวิตตามแบบแผนของสังคมไทยทั้งการพูด การเดิน การคบเพื่อน การวางตัว และความกตัญญู ซึ่งเป็นค่านิยมของคนในอดีตที่ยังคงสืบสานเจตนารมณ์มาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงคุณค่าและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันค่ะ   ความสำคัญและคำสอนในเรื่อง สุภาษิตสอนหญิง   เป็นวรรณคดีคำสอนที่ช่วยเตือนสติหญิงไทยให้ประพฤติตัวอยู่ในประเพณีอันดีงามของไทยตั้งแต่เริ่มโตเป็นสาวไปจนถึงวัยที่แต่งงานมีครอบครัว ดังนี้   สาววัยแรกรุ่น : ควรวางตัวให้สมฐานะ ทั้งการแต่งกายและกิริยามารยาท     หมายถึง สาวแรกรุ่นเปรียบเหมือนมณี

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1