เรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การคิดอย่างมีเหตุผลและอุปสรรค เป็นบทเรียนในเรื่องของความคิดและภาษาที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในครั้งนี้ การคิดอย่างมีเหตุผลมีทักษะการคิดอย่างไรและแตกต่างจากการคิดแบบอื่นไหม นอกจากนี้น้อง ๆ ยังจะเรียนรู้ในส่วนของอุปสรรคทางความคิดอีกด้วย อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะคะว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การคิดคืออะไร

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

การคิด คือ การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็ไม่สามารถที่จะทำในเรื่องต่างๆได้

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นหลักการคิดที่ใช้ข้อมูลและภาพรวมมาดำเนินการคิด หลีกเลี่ยงการตัดสินใจด้วยความรู้สึกเพียงอย่างเดียว

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

ภาษามีความสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับการใช้ความคิด

 

บทบาทของภาษาในการพัฒนาการคิด

มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน

การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะการที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบันตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร

 

การใช้ภาษาอย่างมีเหตุผล

 

โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย ตัวเหตุผล หรือ ข้อสรุป ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผลมีด้วยกัน 3 ลักษณะ ดังนี้

 

 

1.ใช้คำสันธาน ในกรณีที่เรียงเหตุผลไว้ก่อนการสรุปจะต้องมีคำสันธาน เพราะ เพราะฉะนั้น เพราะ..จึง เพราะว่า นำหน้าเหตุผล

ตัวอย่าง ฉันกินข้าว เพราะฉันหิว คำว่าเพราะเป็นคำสันธานที่นำหน้าเหตุผล

2.ใช้กลุ่มคำเรียงกัน ระบุว่าตรงไหนเป็นเหตุผลหรือข้อสรุปโดยการใช้กลุ่มคำบอกตรง ๆ ว่า ข้อสรุปคือ เหตุผลคือ เหตุผลที่สำคัญคือ เป็นต้น

ตัวอย่าง ที่เด็ก ๆ ทุกคนมารวมตัวอ่านหนังสือกันในวันนี้มีเหตุผลสำคัญคืออีกไม่นานจะถึงวันสอบปลายภาคแล้ว

3.ใช้เหตุผลหลายข้อประกอบกัน เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อสรุปโดยใช้เหตุผลหลาย ๆ อย่างมาประกอบกันเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

ตัวอย่าง ฉันไม่ชอบอยู่บ้านไม้ มันมักมีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าดเวลาเดิน สร้างความรำคาญ ไหนจะพบปัญหาเรื่องปลวก แมลงกัดกินไม้ต่างๆอีก

 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสันธาน

ในบางกรณีถึงไม่ใช้คำสันธานก็ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นเหตุผล เช่น ฉันจะลดน้ำหนักแล้ว ช่วงนี้ฉันอ้วนขึ้น  ตัวอย่างประโยคนี้จะเห็นได้ว่าด้านหน้าของเหตุผลไม่มีคำสันธานอยู่แต่เป็นประโยคที่ปกติแล้วผู้ฟังจะสามารถเข้าใจได้ว่าผู้พูดต้องการจะลดน้ำหนักเพราะรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้น ซึ่งการเลือกละหรือไม่ละคำสันธานนั้นขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการกระทำและเหตุผลหรือการใช้เหตุผลหลาย ๆ อย่างมารวมกัน แต่จะไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ประโยคมีความคลุมเครือ

 

อุปสรรคของความคิด

 

 

1.อคติ มาจากภาษาบาลี อะ หมายถึง ผิด, ไม่, ไม่ถูกต้อง, ไม่ดีงาม, ไม่สมควร คติ หมายถึง วิถี, แนวทาง, สิ่งที่เป็นไป, การดำเนินไป, ความเป็นไป, การตอบสนอง, การแสดงออก เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์ไม่ใช้ความคิดมนุษย์ทุกคนย่อมมีความคิดต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกันจนในบางครั้งก็อาจเอนเอียงให้ความคิดที่ตัวเองเชื่อมั่นโดยไม่สนข้อเท็จจริง

2.ความเร่งรัด การถูกจำกัดเวลา ประสิทธิภาพทางความคิดจะน้อยลงเพราะไม่สามารถใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่

3.ความบกพร่องของสุขภาพทางกายและจิต เมื่อสุขภาพกายและจิตไม่พร้อม ทำให้ไม่สามารถคิดอะไรได้เต็มที่

4.ความเหนื่อยล้าและความซ้ำซากจำเจ เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า สมองจะไม่สามารถคิดอะไรอย่างเป็นเหตุผลได้เพราะความอ่อนเพลีย อีกทั้งการทำอะไรซ้ำซากจำเจเป็นอย่างเป็นประจำจะทำให้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ถดถอยลง

5.สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เมื่อถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ อาจทำให้ไม่มีสมาธิมากพอที่จะจดจ่อและใช้ความคิด

6.การขาดความรู้ ความไม่เข้าใจในเรื่องที่คิด จะทำให้ไม่สามารถคิดอะไรออกมาได้ วิธีแก้คือต้องหมั่นหาความรู้เพื่อให้ความคิดเป็นไปอย่างราบรื่น

 

เป็นอย่างไรบ้างคะบทเรียนภาษาไทยในวันนี้ คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคนเข้าใจถึงกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและได้รู้อุปสรรคทางความคิดไปแล้ว ถ้าพบว่าข้อไหนตรงกับตัวเองก็พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคระหว่างที่กำลังใช้ความคิดกันด้วยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปของครูอุ้มได้เพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของการคิดอย่างมีเหตุผลและการคิดอย่างสมเหตุสมผลให้เข้าใจมากขึ้น รับรองว่าทั้งสนุกและยังได้ความรู้อีกด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

โจทย์ปัญหาการคูณทศนิยม

จากบทความที่แล้วเราได้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวกและการลบทศนิยมไปแล้ว บทความนี้จึงจะเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการคูณ รวมไปถึงการแสดงวิธีทำที่จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

การสะท้อน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ภาพที่ได้จากการสะท้อน ( Reflection ) ไปตามแนวแกนต่างๆ หวังว่าน้องๆ จะสามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนและในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

การสร้างคำประสม   คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำประสม     คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2

รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนสะกดคำ  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1