ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมาของลิลิตชั้นยอดของเมืองไทย

ลิลิตตะเลงพ่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ลิลิตตะเลงพ่าย ขึ้นชื่อว่าเป็นยอดของลิลิต ที่แต่งดีที่สุด โดยบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนTรรมของโลก เกริ่นมาเพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้ที่มาและเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสำคัญของไทยเรื่องนี้กันเลยค่ะ

 

ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมา

 

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่องานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยชื่อเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย หมายถึง พม่าและมอญแพ้ มาจากการที่พม่าได้มอญเป็นเมืองขึ้นและใช้เมืองหลวงของมอญคือ หงสาวดี เป็นเมืองหลวงของตน ไทยถึงเรียกกองทัพพม่าว่ากองทัพมอญ ในจํานวนพระนิพนธ์ทั้งหมด คือลิลิตตะเลงพ่าย และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นการแต่งลิลิตที่ยอดเยี่ยมที่สุด

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ มีการเข้าลิลิต คือ คำสุดท้ายของบทที่มาก่อน ส่งสัมผัสไปรับที่คำที่ 1,2 หรือ 3 ของบทต่อมา โดยความยาวของร่ายสุภาพนี้จะมีความยาวกี่วรรคก็ได้ใน 1 บท

 

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เรื่องย่อลิลิตตะเลงพ่าย

 

ระเจ้ากรุงหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชเสด็จสวรรคต ทรงคาดการณ์ว่าอาจเกิดศึกแย่งชิงราชสมบัติกัน จึงสั่งให้พระมหาอุปราชายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา

 

 

พระมหาอุปราชารู้สึกได้ถึงลางไม่ดี แต่ก็ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ และเข้าตีเมืองกาญจนบุรี ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเตรียมทัพจะไปรบเขมร แต่ทรงพระสุบินเห็นจระเข้ โหรฯ จึงทำนายว่า พม่ากำลังจะเข้ามาทางตะวันตกและจระเข้ที่พระองค์ได้ปลิดชีพไปในฝันก็คือพระมหาอุปราชาจึงทรงนำทัพออกไปรับศึกพม่านอกพระนคร ทัพไทยและทัพพม่าปะทะกันที่ตำบลตระพังตรุ จังหวัดสุพรรณบุรี ช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตกมันทำให้ทหารไม่สามารถตามพระองค์ไปได้ทัน เมื่อได้เผชิญหน้ากัน พระองค์ทรงเชิญให้พระมหาอุปราชาเสด็จมากระทำยุทธหัตถีด้วยกัน พระมหาอุปราชาเพลี่ยงพล้ำต้องพระแสงของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสิ้นพระชนม์บนคอช้าง หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้ว ทรงปูนบำเหน็จทหารที่มีความชอบในการรบ และทรงตัดสินโทษทหารที่ตามเสด็จไม่ทันตอนที่รบกัน แต่แล้วก็ได้พระราชทานอภัยโทษให้แก่ทหารเหล่านั้น แลกกับการให้ยกทัพไปตีเมืองทวายและตะนาวศรีและมะริดเป็นการไถ่โทษ

 

กลศึกที่สมเด็จพระนเรศวรใช้เพื่อเตรียมรบกับพม่า

พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทัพของหัวเมืองต่าง ๆ ยกไปขัดตาทัพรับหน้าข้าศึกที่ตำบลหนองสาหร่าย โดยใช้อุบายเข้าโจมตีแล้วล่าถอยเพื่อให้ข้าศึกติดตาม จากนั้นพระองค์ทั้งสองจะทรงยกทัพไปตีขนาบข้าศึกไว้

 

ตอนท้ายเรื่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมปรมานุชิตชิโนรสทรงแสดงจุดประสงค์ในการทรงนิพนธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายว่าเพื่อเป็นการสดุดีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงทำยุทธหัตถีชนะพม่า และขอให้บทกวีคงอยู่ตลอดไป ซึ่งสิ่งที่พระองค์ต้องการนั้นก็เกิดขึ้นจริง ๆ ค่ะ เราถึงได้มาเรียนวรรณคดีอันทรงคุณค่านี้ในแบบเรียน ได้รู้ถึงพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ในอดีตที่ปกป้องบ้านเมือง สำหรับตัวบทที่น่าสนใจเพิ่มเติม น้อง ๆ จะได้เรียนเจาะลึกกันในบทถัดไป แต่ก่อนที่จะไปถอดคำประพันธ์สนุก ๆ กับครูอุ้ม น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนในวันนี้กันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

โคลงนฤทุมนาการ โคลงสุภาษิตสอนใจรู้ไว้ไม่เป็นทุกข์

หลังจากได้ศึกษาเรื่องโคลงโสฬสไตรยางค์ไปแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าในโครงสุภาษิตยังมีเรื่องอื่นอีกด้วย และในบทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนต่อไปนี้ก็คือเรื่อง โคลงนฤทุมนาการ เป็นโคลงสุภาษิต ที่ใช้โคลงสี่สุภาพในการประพันธ์เหมือนโคลงโสฬสไตรยางค์ แต่จะมีความหมาย และเนื้อหาอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงนฤทุมนาการ คืออะไร     ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าในโคลงนฤทุมนาการมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันที่ความหมายก่อนเลยค่ะ คำว่า นฤทุมนาการ มาจากคำศัพท์ต่าง

คำเชื่อม Conjunction

คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ (Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ หรือ Conjunctions” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ความหมาย Conjunctions คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม Time and tide wait for no man. เวลาและวารีไม่เคยรอใคร

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words): First,… Second,… Third,… Fourth,… Finally,…

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ 

การวัด

การวัดและความเป็นมาของการวัด

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดในหลายๆมิติ จนกระทั่งวิวัฒนาการที่ทำให้ได้ความแม่นยำในการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ

การหารทศนิยมในระดับชั้นป.5

บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการหารทศนิยม 2 รูปแบบก็คือ การหารทศนิยมด้วยจำนวนเต็ม และการหารทศนิยมด้วยทศนิยม หลังจากที่น้องๆ ได้อ่านบทความนี้แล้ว รับรองว่าจะทำให้เข้าใจการหารทศนิยมได้มากขึ้นและสามารถนำวิธีคิดไปแก้โจทย์การหารทศนิยมได้

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1