เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายและความสำคัญของการเขียนเรียงความ

 

เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้

1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้

2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

3. เรื่องที่เพื่อโน้มน้าวใจ

 

การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบของ การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบเรียงความ

 

1. ส่วนนำ เป็นส่วนหนึ่งของเรียงความที่เป็นการเปิดประเด็นเข้าสู่เนื้อเรื่อง ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ว่าผู้เขียนนั้นจะเขียนเรื่องอะไร โดยเนื้อหาที่ใช้ในการเขียนเปิดต้องมีความน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากจะอ่านต่อไป แต่ไม่ควรเปิดเผยเนื้อหาทั้งหมด

 

2. เนื้อหา ส่วนสำคัญที่สุดของเรียงความ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเสนอความรู้ความคิดความเข้าใจทรรศนะหรือความรู้สึกของผู้เขียน

ขั้นตอนการเรียบเรียงเนื้อหา

  • วางแผนลำดับขั้นตอนและโครงเรื่องที่จะเขียนว่ามีแนวทางอย่างไร
  • เขียนเนื้อหาตามโครงเรื่องที่วางไว้
  • แต่ละย่อหน้าต้องมีใจความสำคัญ
  • ไม่เขียนออกนอกเรื่อง

 

การวางโครงเรื่อง

 

การเขียนเรียงความ ไม่ควรมีแค่ย่อหน้าเดียว นอกจากนี้การใช้ภาษาในการเขียนยังเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า น้อง ๆ จะต้องพิถีพิถันในการเลือกคำมาเขียนให้ลื่นไหลและต้องเป็นภาษาแบบทางการ ถูกต้องตามหลักการเขียน

3. สรุป ส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนเรียงความ เพราะจะเป็นการนำสิ่งที่เขียนไปทั้งหมดมาสรุปอีกทีหนึ่ง เนื้อหาที่สรุปออกมานั้นต้องเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้งานเขียนดียิ่งขึ้น ไม่จบแบบห้วน ๆ อย่างไร้ข้อสรุป

การตั้งชื่อเรียงความ

  • กระชับ น่าสนใจ การตั้งชื่อเรียงความไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะทำให้อ่านยาก คนไม่จำ อีกทั้งชื่อเรื่องที่ยาวเกินไป อาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนว่าประเด็นของเรียงความคืออะไรกันแน่
  • ตรงประเด็นกับเนื้อหา เมื่อเขียนถึงเรื่องอะไรก็ควรจะตั้งชื่อเรื่องให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน ผู้อ่าน อ่านแล้วรู้ว่าเขียนเรื่องอะไร
  • ชื่อเรื่องต้องน่าสนใจ ทำให้อยากอ่าน การตั้งชื่ออย่างเหมาะสม มีความน่าสนใจ ไม่สั้นและไม่ยาวเกินไป เพราะอาจจะทำให้ไม่น่าดึงดูด ผู้อ่านไม่อยากอ่าน

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของการเขียนเรียงความที่ดีนั้น จะต้องมีประมวลข้อคิดที่สำคัญ ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการเขียน โดยที่ต้องแบ่งสัดส่วนการเล่าเรื่องให้เหมาะสม เป็นลำดับขั้นตอนตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ และที่สำคัญคือการใช้ภาษา ที่จะต้องใช้ให้ถูกหลักภาษา ใช้คำเป็นทางการ ตรวจทานคำผิดเพื่อนให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างลื่นไหล และสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามจุดประสงค์ของผู้เขียน

 

การเขียนเรียงความนั้นถึงจะมีหลายขั้นตอน เพราะการจะเขียนเรียงความต้องสามารถฟัง พูด คิด และจับใจความเพื่อให้เขียนออกมาได้ดี อีกทั้งผู้เขียนยังต้องรู้จักศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ด้วย แต่ก็ไม่มีอะไรยากเกินความตั้งใจของเราหรอกค่ะ ถ้าน้อง ๆ หมั่นฝึกเขียนเรียงความบ่อย ๆ ตามเทคนิคการเขียนที่ได้เรียนไปก็จะสามารถเขียนได้อย่างลื่นไหลเอง สุดท้ายนี้อย่าลืมชมคลิปของครูระหว่างฝึกนะคะ จะได้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น ไปชมเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง

อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน   ภาษาเขียน คืออะไร?  

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

ม.3 สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1