ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ

 

การสื่อสาร คืออะไร?

 

เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน

 

การสื่อสาร

 

การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ เพราะในทุก ๆ กระบวนต้องมีการสื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน

องค์ประกอบของการสื่อสาร

 

1. ผู้รับสารและผู้ส่งสาร

2. วิธีการติดต่อ ติดต่อผ่านช่องทางการสื่อสารโดยใช้สื่อต่าง ๆ

 

การสื่อสาร

 

3.เรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสาร

 

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

 

1.วัจนภาษา หมายถึง ภาษาพูดและภาษาเขียนที่เป็นถ้อยคำของมนุษย์ในแต่ละชนชาติที่มีความคิดค้นภาษาขึ้นมา กำหนดไว้ใช้สื่อสารกันอย่างมีระบบและต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักของภาษานั้น ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  • ภาษาพูด เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้พูดออกมาโดยการเปล่งเสียงเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น
  • ภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้อักษรในการสื่อสาร มนุษย์ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเพื่อให้บันทึกภาษาพูด

2.อวัจนภาษา หมายถึง การสื่อสารที่ปราศจากถ้อยคำและการเขียนแต่จะเป็นการสื่อสารผ่านสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหว หรือวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ในแวดล้อมขณะสื่อสาร ทำหน้าที่แทนการพูด แต่จะใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ควบคู่กับวัจนภาษาก็ได้ แบ่งออกได้ดังนี้

  • ภาษากาย ประกอบไปด้วย สายตา การแสดงสีหน้า อากัปกิริยา ระยะห่างระหว่างบุคคล

การสื่อสาร

 

  •  ภาษาวัตถุ เป็นการตีความหมายของวัตถุและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมาย มีดังนี้

 

1. โครงสร้างของร่างกาย (body) เช่น บุคคลที่มีโครงสร้างสูงใหญ่ จะสื่อความหมายได้ว่า เป็นคนแข็งแรง น่าเกรงขาม

2. ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดบุคลิกภาพ (Personality) เช่น การเลือกวัตถุมาประกอบเพื่อให้เกิดเป็นบุคลิกภาพ เช่น เลือกเสื้อผ้าและรองเท้าที่สวมใส่ ก็จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงรสนิยม ค่านิยม และนิสัยของผู้แต่งได้

3. วัตถุที่มีความหมายเฉพาะ และไม่เฉพาะ (Specific and Non-Specific)

– วัตถุที่มีความหมายเฉพาะ (Specific) เช่น ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่

– วัตถุที่ไม่มีความหมายเฉพาะเจาะจง (Non-Specific) เช่น  นางสาว A ให้แปรงสีฟัน นางสาว B ไป โดยทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นคนมีน้ำใจ แต่ก็อาจตีความหมายได้อีกนับว่านางสาว A ต้องการจะบอกว่านางสาว B มีกลิ่นปากรุนแรงจึงมอบแปรงสีฟันให้เป็นของขวัญเพื่อให้ไปแปรงฟัน

 

  • ภาษาธรรมเนียมและมารยาท เป็นการแสดงพฤติกรรมตามธรรมเนียมและมารยาทของสังคมนั้น ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีวัฒนธรรมที่ตกต่างกัน ยกตัวอย่างวัฒนธรรมไทย การ “ไป-ลา-มา-ไหว้” เป็นสิ่งที่สะท้อนธรรมเนียมเรื่องการเคารพผู้ที่อาวุโสกว่าของไทย

 

การใช้วัจนภาษาควบคู่ไปกับอวัจนภาษา

ถึงแม้ว่าจะสามารถแยกกันใช้ได้ แต่ถ้าหากใช้ทั้งสองควบคู่กันไประหว่างสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องก็จะทำให้การสื่อสารนั้นชัดเจนมากขึ้น

 

 

อุปสรรคของการสื่อสาร

 

 

ผู้ส่งสาร บางครั้งการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนของผู้ส่งสารที่มีความบกพร่องในอวัยวะที่ใช้สื่อสาร หรือการใช้คำกำกวม ไม่ชัดเจน ไม่แสดงออกท่าทางให้คนอื่นรู้ว่าต้องอะไร หรือไม่เข้าใจสารที่ต้องการจะสื่อมากพอ ก็อาจจะทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจ

สาร ข้อมูลของสารที่ต้องการจะสื่อถูกบิดเบือนได้ง่าย ทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนาในกรณีที่สารมีความคลุมเครือ

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ความต่างของภาษาเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการติดต่อจากคนหลากหลายเชื้อชาติด้วยแล้ว แม้จะมีวิธีการที่แสนสะดวกสบายอย่างระบบแปลภาษาอัตโนมัติ แต่ก็ไม่สามารถแปลบริบทที่ต้องการได้ 100% ดังนั้นสิ่งที่สื่อออกไปอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

ผู้รับสาร ในบางกรณี แม้ว่าผู้ส่งสารจะพยายามสื่อสารอย่างดีแล้ว แต่ผู้รับสารก็ยังไม่เข้าใจง่าย ๆ หรืออาจจะเป็นคนหัวช้า คิดไม่ทัน ดังนั้นผู้ส่งสารจะต้องหาวิธีสื่อสารให้เหมาะกับแต่ละบุคคล

สื่อ คำที่มีหลายความหมาย ภาษาถิ่น ภาษาท่าทางที่ไม่สอดคล้อง ข้อความที่เกินจริง

กาลเทศะและสภาพแวดล้อม การไม่ศึกษาวัฒนธรรม เสียงรบกวน แสงและอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ระยะทางของการสื่อสาร ทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคที่เกิดจากแวดล้อมและกาลเทศะ

 

หลักในการสื่อสารที่ดี กล่าวโดยสรุปแล้ว สามารถทำได้โดยการที่ผู้สื่อสารจะต้องมีความเข้าใจทั้งกับตัวเอง เรื่องที่จะพูด เลือกสื่อที่เหมาะสม และศึกษาผู้รับสารว่าเป็นคนอย่างไร อยู่ในวัฒนธรรมแบบใด เพียงเท่านี้ การสื่อสาร ก็จะเป็นไปอย่างราบรื่นค่ะ น้อง ๆ ที่มีปัญหาในเรื่องของการสื่อสาร บทเรียนในวันนี้คงจะทำให้น้อง ๆ เข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารมากขึ้น และนำไปปรับใช้ในชีวิตได้นะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนแล้วทำแบบฝึกหัดกันด้วยนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

phrasal verbs

Phrasal Verbs: กริยาวลีในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ two-word verbs และ three-word verb ในภาษาอังกฤษกันครับ จะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

รากที่สอง

รากที่สอง

การหารากที่สองของจำนวนจริงทำได้หลายวิธี สำหรับวิธีการคำนวณ นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับในชั้นนี้ นักเรียนอาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1