ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน
ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย

อมรินทร์    หมายถึง     พระอินทร์

คช             หมายถึง    ช้าง, ช้างพลาย

นิรมิต         หมายถึง    นิมิต, เนรมิต, บันดาลให้เกิดขึ้น

สีสังข์         หมายถึง    สีขาว (สีเหมือนหอยสังข์)

โอฬาร์        หมายถึง    ยิ่งใหญ่, ใหญ่โต, เลิศล้น

ถอดความได้ว่า

อินทรชิตได้จำแลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งลักษณะของช้างที่เนรมิตมานี้ก็ดูแข็งแรงและมีฤทธา ผิวของช้างเอราวัณเป็นสีขาวเผือกผ่องสะอาดราวสีของสังข์และตัวใหญ่โตมาก ๆ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

โสภา          หมายถึง    สวย, งาม

รูจี              หมายถึง    แสงสว่าง, ความงาม, ความรุ่งเรือง

โบกขรณี    หมายถึง    สระบัว

อุบล            หมายถึง   ดอกบัวสาย

ถอดความได้ว่า

ช้างนั้นมีสามสิบสามหัวแต่ละหัวมี 7 งา สวยงามราวกับเพชรที่ส่องแสงประกาย ในแต่ละงานั้นจะมีสระบัว 7 สระ แต่ละสระก็มีกอบัว    7 กอ

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

ดวงมาลย์         หมายถึง    ดอกบัว

ผกา                 หมายถึง     ดอกไม้

โสภา               หมายถึง     สวย, งาม

แน่งน้อย          หมายถึง    มีรูปร่างบอบบาง,

ลำเพา             หมายถึง    โฉมงาม

นงพาล           หมายถึง     สาวแรกรุ่น

ถอดความได้ว่า

กอบัวแต่ละกอมีดอกบัว 7 ดอก ในแต่ละดอกที่แบ่งบานนี้จะมีกลีบบัวอยู่ 7 กลีบ แต่ละกลีบจะมีเทพธิดา 7 องค์ แต่ละองค์ล้วนมีรูปโฉมงดงามมาก 

บทพากย์เอราวัณ

คำศัพท์

เยาวมาลย์        หมายถึง     หญิงสาวที่มีรูปโฉมงดงาม

มายา                หมายถึง     ลวงตา, มารยา, การแสร้งทำ

อัปสร                หมายถึง     นางฟ้า, เทพธิดา

บวร                   หมายถึง     ประเสริฐ, ล้ำเลิศ

เกศ                   หมายถึง     หัว, ศีรษะ

กุญชร               หมายถึง     ช้าง

เวไชยันต์           หมายถึง     ปราสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

ถอดความได้ว่า

เทพธิดาแต่ละองค์จะมีบริวารองค์ละ 7 คน ทั้งหมดนี้ล้วนเนรมิตขึ้นมาทั้งสิ้น นางเหล่านี้ฟ้อนระบำร่ายรำงดงามพริ้วไหวราวกับนางฟ้านางสวรรค์ลงมาร่ายรำให้ดู หัวของช้างแต่ละหัวนั้นก็จะมีวิมานตั้งอยู่ วิมานเหล่านั้นสวยดุจดั่งประสาทเวชยันต์ของพระอินทร์

บทพากย์เอราวัณ

ประเมินคุณค่า

  • ด้านเนื้อหา

1. ได้ศึกษาวรรณคดีของชาติที่แสดงถึงวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ใช้ในการแสดงโขนมายาวนาน
2. ทำให้ทราบถึงลักษณะของช้างเอราวัณว่ามีลักษณะอย่างไร
3. แสดงถึงแง่มุมที่ให้ข้อคิดเรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีสติ อย่าหลงเชื่อใคร หรือหลงเชื่ออะไรง่าย ๆ

  • ด้านวรรณศิลป์

เป็นวรรณคดีที่แต่งได้อย่างมีชั้นเชิง สามารถใช้ภาษาอันไพเราะมาร้อยเรียงด้วยลักษณะคำประพันธ์อย่างกาพย์ฉบัง 16 ใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความสวยงาม และลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี อาทิ

“เศียรหนึ่งเจ็ดงา             ดั่งเพชรรัตน์รูจี”

“มีวิมานแก้วงามบวร        ทุกเกศกุญชร         ดังเวไชยันต์อัมรินทร์”

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้ถอดคำประพันธ์กันแล้วพอจะเห็นภาพความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของช้างเอราวัณบ้างหรือเปล่า ต้องบอกว่าบทพากยฺเอราวัณ์นี้สามารถแต่งออกมาบรรยายลักษณะของช้างเอราวัณนี้ไว้ได้อย่างละเอียด และไพเราะมากจริง ๆ เป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่เราต้องช่วยกันรักษาไว้ ส่วนน้อง ๆ คนไหนอยากจะศึกษาเพิ่มเติมแนะนำให้ดูครูอุ้มสอนที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

ทบทวนจำนวนเต็ม บทความนี้จะทำให้น้องๆ เข้าใจ การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย น้องๆรู้จัก จำนวนเต็ม กันแล้ว แต่หลายคนยังไม่สามาถเปรียบเทียบความมากน้อยของจำนวนเต็มเหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าน้องๆ เคยเรียนเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละมาแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ทบทวนเรื่องจำนวนเต็ม  เช่น                                                                                                     25 ,  9  , -5 , 5.5 ,

การใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple Tense + Future Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยการใช้สำนวนภาษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ร่วมกับ Wh-questions ที่ใช้ใน Past Simple tense + Future Simple tense  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1