ใช้ภาษาพูดอย่างไรให้ถูกต้อง และเหมาะสม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในบทเรียนวิชาภาษาไทย วันนี้จะเป็นการเรียนเรื่องระดับภาษา โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับระดับของภาษาพูดที่เราควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องตามบุคคล โอกาส และสถานที่ด้วย เป็นอีกหนึ่งบทเรียนในระดับชั้นมัธยมต้นที่น่าสนใจ   ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนไปพร้อม ๆ กันเลย

 

ภาษาพูด

 

ภาษาพูด คืออะไร

 

ภาษา เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย บนโลกนี้นอกจากจะมีหลากหลายภาษาแล้ว ในหนึ่งภาษานั้นก็ยังแบ่งการพูดออกเป็นหลายระดับให้เราได้เลือกใช้แตกต่างกันไป ภาษาพูด หรือภาษาปาก เป็นหนึ่งในภาษาที่ไม่เป็นทางการ มีคำสแลง หรือภาษาวัยรุ่นสอดแทรกมาด้วยในปัจจุบัน มักใช้พูดกันในหมู่เพื่อน พี่น้อง หรือครอบครัวเพื่อแสดงถึงความเป็นกันเอง

 

ภาษาพูด

 

ลักษณะของภาษาพูด

 

เป็นภาษาที่ไม่ต้องคำนึงถึงหลักการใช้มาก

ลักษณะข้อแรกของภาษาพูด คือภาษาที่เราไม่ต้องคิดถึงเรื่องหลักการอะไรมาก เพียงแค่เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล หรือสถานที่ก็เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องของระดับภาษา และภาษาพูดไม่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ในกรณีที่ไม่ใช่คนสนิท คุ้นเคย เราก็ไม่ควรใช้ภาษาปากในการเริ่มต้นบทสนทนากับบุคคลนั้น

 

เป็นภาษาวัยรุ่น หรือภาษาเฉพาะกลุ่ม

ในแต่ละภาษาถือว่ามีคุณสมบัติสำคัญคือความยืดหยุ่น ภาษาพูดสามารถขยายวงคำศัพท์ออกไปได้รวดเร็ว อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากคำแสลงเข้ามาปะปน ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกว่าภาษาเหล่านี้ให้มีอรรถรสในการพูดคุยมากขึ้น สื่ออารมณ์ความรู้สึกถึงสิ่งที่พูดอยู่ได้ชัดเจน โดยอาจจะใช้การแบ่งเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เราจะเห็นบ่อย ๆ คือภาษาวัยรุ่นที่มีดัดแปลงคำให้มีความเข้าใจเฉพาะในแวดวงวัยรุ่นด้วยกัน มีความเท่าทันโลก หรือตามกระแสมาก ๆ ตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

เป็นภาษาที่มักใช้ในการโฆษณา

ด้วยความที่ภาษาพูดนั้น เป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และสามารเข้าถึงบุคคลทั่วไปได้อย่างดี ทำให้เราที่เป็นผู้เสพสื่อโฆษณาสามารถเข้าถึงตัวสินค้า และบริการได้ด้วยภาษาที่ไม่ต้องทางการมาก และช่วยให้เราจำสินค้าตัวนั้นได้จากสโลแกนสั้น ๆ ที่มาจากภาษาปากเหล่านี้ด้วย  ตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

มักเป็นภาษาที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย

ด้วยความที่เป็นภาษาปาก ภาษาที่เราใช้พูดกับคนรู้จัก คุ้นเคย สนิทสนม ดังนั้น การเลือกใช้คำที่สั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ก็เข้าใจกัน ทำให้เราสามารถรับรู้ความต้องการของอีกฝ่ายได้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดให้ยืดยาว ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียง

เนื่องจากภาษาพูดไม่ได้มีหลักการใช้ หรือว่าหลักการสร้างคำที่เป็นขั้นเป็นตอนมากนัก เราอาจจะสังเกตภาษาปากเหล่านี้ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงเสียงในบางคำศัพท์ที่มีความคล้ายคลึงกับคำเดิม หรือความหมายเดิม เพื่อให้คำนั้นสามารถแสดงถึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นได้อย่างชัดเจน หรือทำให้คำที่ดูรุนแรงฟังดูเบาลง ตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

เป็นภาษาที่มักจะยืมคำมาจากภาษาต่างประเทศ

ลักษณะของภาษาพูดข้อสุดท้ายที่เราจะสังเกตได้ก็คือ การที่เรามักจะนำคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ร่วมด้วย  ซึ่งอาจจะใช้แบบทับศัพท์ หรือตัดทอนเอาบางเสียงในคำนั้นมาใช้  ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

บทส่งท้าย

 

ภาษาพูด ถือเป็นภาษาที่เราแทบจะใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะทำให้เราสามารถสนทนากับคนที่เรารู้จักได้อย่างเป็นกันเอง พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ถึงบางคำศัพท์จะเป็นภาษาที่ดัดแปลงเสียง หรือรูปคำไปบ้าง แต่เมื่อพูดกับเพื่อน ๆ ด้วยภาษาปากแล้ว เราก็สามารถเข้าใจกันได้ผ่านบริบทของเรื่องที่กำลังคุยกันอยู่ในขณะนั้น หวังว่าหลังจากที่เรียนเรื่องนี้แล้ว น้อง ๆ จะได้สาระความรู้ และนำภาษาพูดไปใช้ได้ถูกกาลเทศะเหมาะกับบุคคล และสถานการณ์ด้วย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

Tense and time

การใช้ Tenses ในภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา

สวัสดีค่ะนักเรียนม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปรู้จักกับ การใช้ Tense ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษกัน ก่อนอื่นมารู้จักTenses กันก่อน Tenses อ่านว่า เท้นสฺ ถ้าเป็นคำ Adjective หรือคุณศัพท์จะแปลว่าหนักหนาสาหัส แต่ถ้าเป็นคำนาม (Noun) จะแปลว่า กาลเวลาค่ะ หัวใจของการเรียนเรื่อง Tense คือ กริยา(verb) เมื่อกริยาเปลี่ยนไปเวลาและเงื่อนไขการใช้งานของ

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล คือ ฟังก์ชันที่เขียนอยู่ในรูป {(x, y) ∈ ×   : y = } โดยที่ a เป็นจำนวนจริงที่มากกว่า 0 และ a ≠ 1 เช่น  , , ซึ่งพูดอีกอย่างก็คือ

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions M.1

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions ในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการอย่างง่ายในการใช้ประโยค Yes/No questions กันค่ะไปลุยกันเลยค่า Yes, No Questions คืออะไร คือ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ (Yes) หรือปฏิเสธ (No) เป็นการถามที่ผู้ถามอาจจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า ว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือผู้ถามอาจจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นจริงตามที่เข้าใจหรือเปล่า ในที่นี้ครูจึงแยกออกเป็น 3 ชนิดค่ะ คือ ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1