ใช้ภาษาพูดอย่างไรให้ถูกต้อง และเหมาะสม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในบทเรียนวิชาภาษาไทย วันนี้จะเป็นการเรียนเรื่องระดับภาษา โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับระดับของภาษาพูดที่เราควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องตามบุคคล โอกาส และสถานที่ด้วย เป็นอีกหนึ่งบทเรียนในระดับชั้นมัธยมต้นที่น่าสนใจ   ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนไปพร้อม ๆ กันเลย

 

ภาษาพูด

 

ภาษาพูด คืออะไร

 

ภาษา เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย บนโลกนี้นอกจากจะมีหลากหลายภาษาแล้ว ในหนึ่งภาษานั้นก็ยังแบ่งการพูดออกเป็นหลายระดับให้เราได้เลือกใช้แตกต่างกันไป ภาษาพูด หรือภาษาปาก เป็นหนึ่งในภาษาที่ไม่เป็นทางการ มีคำสแลง หรือภาษาวัยรุ่นสอดแทรกมาด้วยในปัจจุบัน มักใช้พูดกันในหมู่เพื่อน พี่น้อง หรือครอบครัวเพื่อแสดงถึงความเป็นกันเอง

 

ภาษาพูด

 

ลักษณะของภาษาพูด

 

เป็นภาษาที่ไม่ต้องคำนึงถึงหลักการใช้มาก

ลักษณะข้อแรกของภาษาพูด คือภาษาที่เราไม่ต้องคิดถึงเรื่องหลักการอะไรมาก เพียงแค่เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล หรือสถานที่ก็เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องของระดับภาษา และภาษาพูดไม่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ในกรณีที่ไม่ใช่คนสนิท คุ้นเคย เราก็ไม่ควรใช้ภาษาปากในการเริ่มต้นบทสนทนากับบุคคลนั้น

 

เป็นภาษาวัยรุ่น หรือภาษาเฉพาะกลุ่ม

ในแต่ละภาษาถือว่ามีคุณสมบัติสำคัญคือความยืดหยุ่น ภาษาพูดสามารถขยายวงคำศัพท์ออกไปได้รวดเร็ว อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากคำแสลงเข้ามาปะปน ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกว่าภาษาเหล่านี้ให้มีอรรถรสในการพูดคุยมากขึ้น สื่ออารมณ์ความรู้สึกถึงสิ่งที่พูดอยู่ได้ชัดเจน โดยอาจจะใช้การแบ่งเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เราจะเห็นบ่อย ๆ คือภาษาวัยรุ่นที่มีดัดแปลงคำให้มีความเข้าใจเฉพาะในแวดวงวัยรุ่นด้วยกัน มีความเท่าทันโลก หรือตามกระแสมาก ๆ ตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

เป็นภาษาที่มักใช้ในการโฆษณา

ด้วยความที่ภาษาพูดนั้น เป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และสามารเข้าถึงบุคคลทั่วไปได้อย่างดี ทำให้เราที่เป็นผู้เสพสื่อโฆษณาสามารถเข้าถึงตัวสินค้า และบริการได้ด้วยภาษาที่ไม่ต้องทางการมาก และช่วยให้เราจำสินค้าตัวนั้นได้จากสโลแกนสั้น ๆ ที่มาจากภาษาปากเหล่านี้ด้วย  ตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

มักเป็นภาษาที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย

ด้วยความที่เป็นภาษาปาก ภาษาที่เราใช้พูดกับคนรู้จัก คุ้นเคย สนิทสนม ดังนั้น การเลือกใช้คำที่สั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ก็เข้าใจกัน ทำให้เราสามารถรับรู้ความต้องการของอีกฝ่ายได้ โดยไม่จำเป็นต้องพูดให้ยืดยาว ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียง

เนื่องจากภาษาพูดไม่ได้มีหลักการใช้ หรือว่าหลักการสร้างคำที่เป็นขั้นเป็นตอนมากนัก เราอาจจะสังเกตภาษาปากเหล่านี้ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงเสียงในบางคำศัพท์ที่มีความคล้ายคลึงกับคำเดิม หรือความหมายเดิม เพื่อให้คำนั้นสามารถแสดงถึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นได้อย่างชัดเจน หรือทำให้คำที่ดูรุนแรงฟังดูเบาลง ตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

เป็นภาษาที่มักจะยืมคำมาจากภาษาต่างประเทศ

ลักษณะของภาษาพูดข้อสุดท้ายที่เราจะสังเกตได้ก็คือ การที่เรามักจะนำคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ร่วมด้วย  ซึ่งอาจจะใช้แบบทับศัพท์ หรือตัดทอนเอาบางเสียงในคำนั้นมาใช้  ยกตัวอย่างเช่น

 

ภาษาพูด

 

บทส่งท้าย

 

ภาษาพูด ถือเป็นภาษาที่เราแทบจะใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะทำให้เราสามารถสนทนากับคนที่เรารู้จักได้อย่างเป็นกันเอง พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ถึงบางคำศัพท์จะเป็นภาษาที่ดัดแปลงเสียง หรือรูปคำไปบ้าง แต่เมื่อพูดกับเพื่อน ๆ ด้วยภาษาปากแล้ว เราก็สามารถเข้าใจกันได้ผ่านบริบทของเรื่องที่กำลังคุยกันอยู่ในขณะนั้น หวังว่าหลังจากที่เรียนเรื่องนี้แล้ว น้อง ๆ จะได้สาระความรู้ และนำภาษาพูดไปใช้ได้ถูกกาลเทศะเหมาะกับบุคคล และสถานการณ์ด้วย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1