เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 


 

เสียงพยัญชนะไทย

เสียงพยัญชนะ คือ เสียงที่ถูกเปล่งออกมาจากลำคอและถูกปิดกั้นลมด้วยอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องปากทำให้เสียงที่เปล่งออกมามีความแตกต่างกัน โดยเสียงพยัญชนะในภาษาไทยแบ่งออกเป็นพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย ทั้งสองประเภทนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างไรเรามาค่อย ๆ ไล่ดูกันนะคะ

 

เสียงพยัญชนะต้น

เสียงพยัญชนะต้น คือ หน่วยเสียงที่ปรากฏอยู่ต้นพยางค์ สามารถแบ่งออกมาได้อีก 2 ชนิดคือ พยัญชนะต้นเดี่ยวและพยัญชนะต้นประสม

 

เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว

เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว คือ หน่วยเสียงของรูปเสียงพยัญชนะไทย 44 รูป โดยมีทั้งหมด 21 หน่วยเสียง และเหตุที่พยัญชนะต้นเดียวมีหน่วยเสียงน้อยกว่าจำนวนพยัญชนะไทยทั้งหมดก็เพราะว่าพยัญชนะไทยบางตัว แม้จะเขียนต่างกัน แต่มีการออกเสียงเหมือนกันนั่นเองค่ะ พยัญชนะตัวไหนที่ออกเสียงเหมือนกันสามารถดูได้ตามตารางข้างล่างนี้เลย

 

 

ตัวอย่าง

ดินสอ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ด/

ศาลา เสียงพยัญชนะต้นคือ /ซ/

โคมไฟ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ค/

ลูกแก้ว เสียงพยัญชนะต้นคือ /ล/

ห่วงยาง เสียงพยัญชนะต้นคือ /ฮ/

 

ข้อควรจำ

เสียงพยัญชนะนาสิก : คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วลมส่วนหนึ่งถูกกักในช่องปากแต่ไม่ถูกปิดกั้นทางช่องจมูกทำให้ลมส่วนหนึ่งถูกปล่อยออกมาผ่านช่องจมูกได้ โดยพยัญชนะต้นเดี่ยวที่อยู่ในกลุ่มเสียงพยัญชนะนาสิกมีด้วยกัน 3 เสียง ได้แก่

เสียง /ง/ ฐานที่เกิดของเสียงคือ เพดานอ่อน

เสียง /ม/ ฐานที่เกิดของเสียงคือ ริมฝีปาก

เสียง /น/ ฐานที่เกิดของเสียงคือ ปุ่มเหงือก

เสียงพยัญชนะต้นประสม

เสียงพยัญชนะต้นประสม เป็นหน่วยเสียงที่มีพยัญชนะต้น 2 การออกเสียงจะต้องออกให้เป็นพยางค์เดียว ซึ่งเสียงควบกล้ำก็มีทั้งควบกล้ำและไม่แท้ เรามาดูที่คำควบกล้ำแท้ก่อนเลยค่ะ

 

เสียงควบกล้ำแท้

เสียงพยัญชนะไทยนั้น เมื่อมีพยัญชนะสองตัวที่อยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ เมื่ออ่านออกเสียงแล้วจะต้องอ่านเป็นพยางค์เดียวกัน โดยในคำควบกล้ำแท้จะเป็นการควบระหว่างตัวอักษร ก, ข, ค, ต, พ, ผ, ป, ท กับ ร, ล, ว เมื่อจับคู่แล้วจะได้พยัญชนะควบกล้ำดังนี้ค่ะ

 

ตัวอย่าง

เกรง  เสียงพยัญชนะต้นคือ /กร/

กลัว  เสียงพยัญชนะต้นคือ /กล/

กวาด เสียงพยัญชนะต้นคือ /กว/

ขรึม เสียงพยัญชนะต้นคือ /ขร/

เขลา  เสียงพยัญชนะต้นคือ /ขล/

ขวัญ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ขว/

ครีม เสียงพยัญชนะต้นคือ /คร/

เคลิ้ม  เสียงพยัญชนะต้นคือ /คล/

แคว้น เสียงพยัญชนะต้นคือ /ครว

เตรียม  เสียงพยัญชนะต้นคือ /ตร/

พริก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /พร/

พลอย เสียงพยัญชนะต้นคือ /พล/

เผลอ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ผล

ปราบ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ปร/

ปลูก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /ปล/

นิทรา คำว่า ทรา เสียงพยัญชนะต้นคือ /ทร/

 

นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ได้รับอิทธิพลมาจากคำในภาษาต่างประเทศอีก 5 เสียง ดังรูปข้างล่างนี้เลยค่ะ

เสียงพยัญชนะไทย

 

ตัวอย่าง

เบรก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /บร/

บล็อก  เสียงพยัญชนะต้นคือ /บล/

ดรีม เสียงพยัญชนะต้นคือ /ดร/

ฟรี เสียงพยัญชนะต้นคือ /ฟร/

ฟลูออไรด์ เสียงพยัญชนะต้นคือ /ฟล/

 

เสียงควบกล้ำไม่แท้

คือคำที่มีตัว ร ควบอยู่ แต่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว จะออกเสียงเพียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น เช่นคำว่า จริง เสียงต้นพยัญชนะคือ /จ/

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะต้น

คำบางคำที่แม้จะเป็นว่าขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ 2 ตัว แต่ก็ไม่ได้ออกเสียงเป็นคำควบกล้ำเสมอไป จึงไม่จัดเป็นพยัญชนะต้นประสม ดังนี้

 

  • /ทร/ เป็นคำควบกล้ำที่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว คือเสียง /ซ/

เช่น  ทรุดโทรม อ่านออกเสียงเป็น /ซ/ พยัญชนะต้นคือ /ซ/

 

  • อักษรนำ คือ คำที่ อ หรือ ห นำตัวอักษรต่ำเดี่ยว ได้แก่ /อย/ /หม/ และ /หน/

เช่น อยาก อ่านออกเสียงเป็น /ย/ พยัญชนะต้นคือ /ย/

หรือคำว่า หนี อ่านออกเสียงเป็น /น/ พยัญชนะต้นคือ /น/

หลังจากที่ได้เรียนรู้พยัญชนะต้นเไปแล้ว เรามาดูเรื่องพยัญชนะท้ายกันบ้างค่ะ

 

เสียงพยัญชนะท้าย

พยัญชนะท้าย หรือ หน่วยเสียงพยัญชนะตัวสะกด ในภาษาไทยมีทั้งหมด 8 เสียงด้วยกันค่ะ

เสียงพยัญชนะไทย

เสียงพยัญชนะไทย

 

ตัวอย่าง

สุนัข เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ก/ หรือ แม่กก

อำนาจ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ด/ หรือ แม่กด

สุภาพ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /บ/ หรือ แม่กบ

สีแดง เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ง/ หรือ แม่กง

บริเวณ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /น/ หรือ แม่กน

นม เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ม/ หรือ แม่กม

เปื่อย เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ย/ หรือ แม่เกย

กลัว  เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ว/ หรือ แม่เกอว

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะท้าย

คำบางคำที่แม้ว่าจะไม่มีพยัญชนะต่อท้ายแต่ก็มีเสียงพยัญชนะรวมอยู่ในสระแล้ว ได้แก่

อำ มาจาก  อะ+ม

ไอ ใอ อัย มาจาก อะ + ย

เอา มาจาก อะ + ว

ถ้าไม่สังเกตให้ดีอาจจะทำให้สับสนและเข้าใจว่าไม่มีพยัญชนะท้ายได้ค่ะ

ตัวอย่างพยัญชนะท้ายที่เสียงพยัญชนะรวมอยู่ในสระ

ระกำ เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ม/ หรือ แม่กม

ผ้าใบ เสียงพยัญชนะคือ /ย/ หรือ แม่เกย

ภูเขา เสียงพยัญชนะท้ายคือ /ว/ หรือ แม่เกอว

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงช่วยให้น้อง ๆ หลายคนเริ่มเข้าใจการออกเสียงพยัญชนะไทยกันมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ จะเห็นได้ว่าการออกเสียงพยัญชนะไทยนั้นแม้จะดูซับซ้อนแต่ก็ไม่ยากเกินที่จะทำความเข้าใจเลย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากฟังคำอธิบายและดูตัวอย่างแบบฝึกหัดเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้ที่คลิปข้างล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความยาวรอบรูปเเละพื้นที่ของวงกลม

ความยาวรอบรูปเเละพื้นที่ของวงกลม ความยาวรอบรูปของวงกลม หรือเรียกว่า ความยาวเส้นรอบวงของวงกลม คือ ความยาวของเส้นรอบวงกลมสามารถคำนวณได้ ดังนี้ โดย:  C        คือ ความยาวของเส้นรอบวง (หน่วยเป็น เมตร, เซนติเมตร, มิลิเมตร เป็นต้น) π         คือ อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมี มีค่าประมาณ 22/7 หรือ

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

NokAcademy_ ม6Passive Modals

มารู้จักกับ Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals” ที่ใช้บ่อยพร้อม เทคนิคการจำและนำไปใช้ และทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน กันค่า Let’s go! ไปลุยกันโลดเด้อ   Passive Modals คืออะไรเอ่ย   Passive Modals คือ กลุ่มของ Modal verbs ที่ใช้ในโครงสร้าง

การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม

เกริ่นนำ เกริ่นใจ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วได้รับความสำคัญในหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ เอาเข้าจริง ภาษาไทยของเราเองก็มีอะไรในลักษณะนี้เหมือนกันนะ แต่จะไม่เด่นชัดในรูปประโยคจนรู้สึกว่าซับซ้อนเหมือนภาษาอังกฤษที่เรากำลังเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อวานไปไหนมา….หรือ ฉันไป…มา ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เป็นรูปอดีตด้วยการเปลี่ยนคำกริยาเป็นช่องที่ 2 ตัวอย่างเช่น Where “did” you go yesterday? หรือ I “went to…” เป็นต้น อย่างไรก็ดี

การใช้ Quantity words

การใช้ Quantity words

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ Quantity words ” ในภาษาอังกฤษกันค่ะ Let’s go! ไปลุยกันโลด Quantity words คืออะไร “Quantity words” คือคำบอกปริมาณนั่นเอง เช่น much, many, few, a few, lots

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1