คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำซ้ำ

 

 

คำซ้ำคืออะไร?

 

คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง การออกเสียงคำซ้ำคำเดิมให้ต่อเนื่องกันโดยใช้เครื่องหมายไม้ยมก(ๆ) เติมหลังคำ

 

ประเภทของคำซ้ำ

 

คำซ้ำที่ไม่เปลี่ยนเสียง

คำที่นำมาซ้ำกันโดยใช้ไม้ยมก

 

คำซ้ำที่เปลี่ยนเสียง

คำที่นำมาซ้ำกันจะเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เพื่อเน้นความหมาย

 

คำซ้ำ

 

วิธีสร้างคำซ้ำ

 

 

หลักการใช้ไม้ยมก

 

 

หลักการใช้ไม้ยมกในคำซ้ำ ต้องใช้กับคำที่เขียนเหมือนกันเท่านั้น ในความหมายและหน้าที่เดียวกัน โดยปกติจะอยู่คำหลังเพื่อซ้ำความหมายของคำให้แตกต่างกันออกไป

 

คำที่ไม่สามารถใช้ไม้ยมกได้

 

คำซ้ำ

 

ความหมายของคำซ้ำ

 

เมื่อนำคำมาซ้ำกันแล้วจะได้ความหมายที่ต่างกันออกไป ดังนี้

 

คำซ้ำ

 

1. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไปเชิงเพิ่มปริมาณ (พหูพจน์) ใช้เมื่อต้องการบอกว่าสิ่งนั้นมีจำนวนมาก

เขามีรถเป็นสิบ ๆ คัน – ปริมาณเพิ่มขึ้น มีรถหลายคัน

เพื่อน ๆ มากันแล้ว – มีเพื่อนมาหลายคน

เด็ก ๆ กำลังกินข้าว – เด็กหลายคนกำลังกินข้าว

2. ซ้ำแล้วความหมายแยกจำนวน ใช้เมื่อต้องการแยกเป็นอย่าง ๆ ไปเป็นสัดส่วน ใช้กับลักษณะนาม

เราได้ค่าแรงเป็นวัน ๆ – ค่าแรงได้เป็นรายวัน

ครูตรวจเล็บนักเรียนเป็นคน ๆ ไป – ครูตรวจเล็บนักเรียนทีละคน

สมศรีหั่นแตงโมเป็นชิ้น ๆ – สมศรีหั่นแตงโมออกทีละชิ้น

3. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไปเชิงลดปริมาณ ใช้เมื่อต้องการบอกความหมายให้เบาลง อ่อนลง

เธอยังเจ็บขาอยู่ค่อย ๆ เดิน – ค่อย ๆ หมายถึงเดินให้ช้าลง

ผู้หญิงที่ใส่เสื้อสีแดง ๆ – ผู้หญิงไม่ได้ใส่เสื้อสีแดงแต่อาจจะเป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีแดง

อาหารรสชาติคล้าย ๆ กับที่แม่ฉันทำ – รสชาติอาหารคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน

4. ซ้ำแล้วความหมายเป็นเชิงคาดคะเน ไม่แน่นอน

เขานั่งอยู่แถวหลัง ๆ – บอกว่านั่งอยู่แถวหลังแต่ไม่ระบุชัดเจนว่าแถวที่เท่าไหร่

บ้านฉันอยู่แถว ๆ ริมน้ำ – บ้านอยู่แถวริมน้ำแต่ไม่ระบุว่าริมน้ำตรงไหน

พรุ่งนี้เราเจอกันดึก ๆ หน่อย – เจอกันตอนดึกแต่ไม่ระบุว่ากี่โมง

5. ซ้ำแล้วความหมายหนักขึ้น เน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น อาจใช้ไม้ยมกหรือเปลี่ยนวรรณยุกต์เพื่อเสียงเพื่อนเน้น

ในที่สุดก็มีวันหยุด ฉันดีใจ๊ดีใจ – เน้นว่าดีใจมาก ๆ 

บ้านเพื่อนฉันร้วยรวย – เน้นว่ารวยมา

อาหารที่เธอทำมันเค็มมาก ๆ – เน้นว่ารสชาติเค็มมาก

6. ซ้ำแล้วความหมายเปลี่ยนไป

คนนี้พูดภาษาญี่ปุ่นแบบงู ๆ ปลา ๆ – งู ๆ ปลา ๆ หมายถึง มีความรู้เพียงเล็กน้อย, รู้ไม่จริง, รู้ไม่ลึกซึ้ง

อยู่ ๆ ฉันก็สะดุ้งตื่น – อยู่ ๆ หมายถึง ไม่มีเหตุผล

เรื่องกล้วย ๆ แค่นี้ฉันทำได้ – กล้วย ๆ หมายถึงง่าย

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องการสร้างคำซ้ำ ง่ายกว่าที่คิดใช่ไหมล่ะคะ? คำซ้ำเป็นคำที่หลายคนมองว่าง่าย ไม่มีอะไรมากแค่เติมไม้ยมก แต่บางครั้งในข้อสอบก็อาจจะมีโจทย์ที่หลอกให้เราสับสนได้ เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ น้อง ๆ ควรหมั่นฝึกฝนและทบทวนอยู่เสมอนะคะ โดยในระหว่างที่ทำแบบฝึกหัดก็อย่าลืมเปิดคลิปการสอนของครูอุ้มดูไปด้วยเพื่อฟังคำอธิบายและหลักการจำอย่างง่าย ๆ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

เรียนรู้ที่มาของชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ มหาเวสสันดรชาดก

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า มหาชาติชาดก หรือ มหาเวสสันดรชาดก กันมาบ้างแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่คะว่าคำ ๆ นี้มีที่จากอะไร คำว่า มหาชาติ เป็นคำเรียก เวสสันดรชาดก ส่วนชาดกนั้นเป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งของพุทธศาสนาที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาติกำเนิดอันหยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า น้อง ๆ คงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมเวสสันดรชาดกถึงได้ชื่อว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถ้าอยากรู้คำตอบแล้วล่ะก็ เราไปเรียนรู้ความเป็นของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   มหาเวสสันดรชาดก   มหาชาติชาดก

M1 การใช้ Verb Be

การใช้ Verb Be

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Verb Be กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! ความหมาย   Verb be ในที่นี้จะแปลว่า Verb to be นะคะ แปลว่า เป็น อยู่ คือ ซึ่งหลัง verb to

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1