สุภาษิตสอนหญิง ข้อคิดเตือนใจหญิงจากยุคสู่ยุค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สุภาษิต คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบกันมาตั้งแต่อดีต มีความหมายเป็นคติสอนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิต ทั้งทางความคิด การพูด และการกระทำ มีสุภาษิตมากมายที่สอนถึงการปฏิบัติตัวของผู้หญิงให้ถูกต้องเหมาะสม บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในบทเรียนเรื่องสุภาษิตที่มีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างมาก จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราจะดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

สุภาษิตสอนหญิง : ความเป็นมา

 

สุภาษิตสอนหญิง

 

สุภาษิตสอนหญิง เป็นวรรณกรรมคำสอนประเภทกลอนสุภาพ แต่งโดยสุนทรภู่ ประมาณปี พ.ศ. 2380-2383 มีความยาว 402 คำกลอน จุดประสงค์คือแต่งเพื่อขายเลี้ยงชีพ เป็นสุภาษิตสำหรับผู้หญิงทั่วไป ไม่ได้เจาะจงเป็นพิเศษว่าแต่งให้ใคร

 

เนื้อหาในสุภาษิตสอนหญิง

 

เริ่มบทประพันธ์ด้วยการกล่าวบูชาพระพุทธเจ้าเพื่อเป็นสิริมงคลตามธรรมเนียมของการแต่งหนังสือ ดังนี้

 

สุภาษิตสอนหญิง

 

จากนั้นเริ่มคำสอนด้วยการให้ข้อคิดเตือนใจและหลักการประพฤติตนแก่ผู้หญิงในเรื่องต่าง ๆ ตามประเพณีไทย มีทั้งข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติทั้งในเรื่องของการวางตัว กิริยามารยาท การพูดจา การแต่งกาย การเลือกคู่ครอง การปรนนิบัติสามี ความซื่อสัตย์ต่อสามี การดูแลรักษาบ้านเรือน ความมัธยัสถ์ ต่อจากนั้นสุนทรภู่ยังกล่าวถึงลักษณะที่ไม่ดีของผู้หญิง เช่น ละทิ้งพ่อแม่ ชอบแต่งตัว ติดการพนัน สูบฝิ่น กินเหล้า หญิงสองใจ เป็นต้น สอนให้รักนวลสงวนตัว อย่าชิงสุกก่อนห่าม และยังสอนให้มีวิชาความรู้ติดตัว อย่าขี้โกง และให้เจียมตัวอยู่เสมอ ถ้าทำตามได้ชีวิตก็จะเป็นสุข

 

ตัวอย่างคำสอนในสุภาษิตสอนหญิง

 

สุภาษิตสอนหญิง

 

หมายถึง เกิดมาเป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักและสงวนร่างกายตัวเองตามประเพณีอันดีงามจึงจะไม่ถูกนินทาว่าร้าย

 

สุภาษิตสอนหญิง

 

หมายถึง ผู้หญิงควรมีกิริยามารยาทงดงาม ขณะเดินก็ต้องเดินช้า ๆ ค่อย ๆ ก้าว ไม่เดินแกว่งแขนแรง ๆ ควรเดินอย่างสงวนท่าที

 

 

หมายถึง ให้รู้จักเก็บออม มีน้อยก็ค่อย ๆ เก็บไปทีละนิด ซื้อแต่ของที่จำเป็น ที่ราคาไม่แพงมากจนเกินกำลังซื้อ อย่าใช้จ่ายมากเพราะจะทำให้ลำบากในภายหลัง

 

 

หมายถึง เราควรจะเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อถึงยามที่พวกท่านแก่ชราลงจนไม่ได้สามารถดูแลตัวเองได้ เพราะพ่อแม่นั้นมีบุญคุณ เลี้ยงดูเรามาจนเติบโต คอยอุ้ม คอยป้อนข้าวเรามานับครั้งไม่ถ้วน ก็เพราะหวังว่าในอนาคตจะสามารถพึ่งพาลูก ๆ ได้

 

สุภาษิตสอนหญิงเป็นต้นแบบวรรณคดีอันทรงคุณค่าที่จะช่วยเตือนสติผู้หญิงในสังคมให้ประพฤติตัวดีงาม ซึ่งถึงแม้จะมีข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามมากมาย แต่สุดท้ายแล้วหากเราปฏิบัติตามได้ก็จะเกิดผลดีกับตัวเราเองทั้งนั้น หลังจากที่บทเรียนนี้เราได้เรียนเรื่องความเป็นมาและเนื้อหาโดยย่อกันไปแล้ว บทเรียนต่อไปน้อง ๆ ก็ยังจะได้เรียนเรื่องสุภาษิตอยู่แต่เป็นในส่วนของคุณค่าและการทำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ก่อนจากกันน้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนนี้ได้ในคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายความหมายของตัวบทที่ถูกยกตัวอย่างมากันด้วยนะคะ ไปชมกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พญาช้างผู้เสียสละ

ทำความรู้จักกับพญาช้างผู้เสียสละนิทานธรรมะจรรโลงใจ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในวิชาภาษาไทยแสนสนุก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศกันด้วยการมาอ่านนิทานชาดกเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างรูปร่างงดงาม ต้องบอกว่าเรื่องราวในนิทานชาดกเรื่องนี้นอกจากจะทำให้น้อง ๆ สนุกไปกับเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมอบคติสอนใจให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย ภูมิหลังตัวละคร สำหรับเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นนิทานชาดกที่จัดเป็น 1 ใน 500 ชาติที่พระพุทธเจ้าเคยได้เสวยชาติ ซึ่งชาดกเรื่องนี้จะเล่าถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างสีลวะ ด้วยความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีมานานจึงได้เกิดเป็นพญาช้างร่างใหญ่กำยำผิวขาวเผือกผ่อง มีงวงและงาสวยงามและมีบริวารรายล้อม

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

การคิดอย่างมีเหตุผล

เรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผลและอุปสรรค เป็นบทเรียนในเรื่องของความคิดและภาษาที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในครั้งนี้ การคิดอย่างมีเหตุผลมีทักษะการคิดอย่างไรและแตกต่างจากการคิดแบบอื่นไหม นอกจากนี้น้อง ๆ ยังจะเรียนรู้ในส่วนของอุปสรรคทางความคิดอีกด้วย อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะคะว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การคิดคืออะไร     การคิด คือ การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็ไม่สามารถที่จะทำในเรื่องต่างๆได้   การคิดอย่างมีเหตุผล

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร? ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1