ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

 

 

ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : นางวันทองกับพลายงามต่างหน้ากันด้วยความผูกพันและเศร้าโศกที่จะต้องแยกจากกัน สองแม่ลูกร้องไห้ขณะร่ำลาก่อนที่พลายงามจะแข็งใจเดินจากนางวันทองมา

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : เป็นตอนที่ขุนช้างสงสัยว่าพลายงามเป็นลูกของใคร หลังจากที่เคยเข้าใจว่าพลายงามเป็นลูกของตัวเอง แต่ยิ่งนานไป พลายงามโตขึ้นเรื่อย ๆ หน้าตากลับไปเหมือนขุนแผนที่เป็นพ่อ

 

ขุนช้างขุนแผน

 

ถอดคำประพันธ์ : ขุนช้างต่อว่านางวันทองว่าสองใจ ตั้งชื่อลูกว่าพลายงาม จงใจให้คล้ายกับชื่อขุนแผน (ชื่อเดิม พลายแก้ว)

 

คุณค่าของวรรณคดี

 

 

ด้านเนื้อหา

ความรักระหว่างแม่ลูก

เนื้อหาตอนกำเนิดพลายงามมีคุณค่าที่เด่นชัดที่สุดความรักระหว่างแม่กับลูก เมื่อมีเหตุให้ต้องจากกัน ความผูกพันระหว่างแม่ลูกก็ทำให้ทั้งนางวันทองและพลายงามเสียใจเป็นอย่างมากที่ต้องแยกกัน นางวันทองเลือกที่จะปกป้องลูกจากขุนช้างโดยให้ไปอยู่ที่อื่น พลายงามเองก็เข้าใจความรู้ของแม่ที่ต้องการปกป้องจึงไม่ได้คิดโกรธแค้นแต่อย่างใดที่ไม่ได้อยู่กับแม่

สะท้อนชีวิตคนธรรมดาสามัญ

ความดีเด่นของวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ทำให้แตกต่างจากวรรณคดีเรื่องอื่นๆ คือตัวละครในเรื่องส่วนมากเป็นเรื่องราวความรักของคนธรรมดา ไม่ได้มีตัวละครเอกเป็นเจ้าเมือง โดยสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ ภูมิปัญญาของคนในสังคมไทยสมัยก่อนอย่างละเอียดและมีความใกล้ชิดกับความเป็นจริงมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

 

ด้านวรรณศิลป์

ตอนกำเนิดพลายงาม มีรสวรรณคดีคือสัลลาปังคพิไสย (บทโศก) และพิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ โกรธ) หลายบท เช่น อารมณ์ของนางวันทองกับพลายงามที่เศร้าโศกเพราะต้องแยกจากกัน หรือเป็นที่ขุนช้างโกรธนางวันทองและขุนแผนเมื่อรู้ว่าพลายงามไม่ใช่ลูกของคน

 

ขุนช้างขุนแผนนี้ ถือว่าเป็นเพชรเม็ดงามเม็ดหนึ่งของวรรณกรรมไทย ด้วยอุดมไปด้วย คุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างครบถ้วน ทั้งความประณีตบรรจงในการแต่ง กระบวนกลอนเล่นสัมผัสอย่างไพเราะและมีเนื้อความดีตลอดเรื่อง สอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับชีวิต และสามารถสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่านให้เห็นภาพและซาบซึ้งไปกับตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังสรุปความสำคัญของเรื่องทั้งหมดของเรื่องกันด้วยนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีคำสอน เรื่องสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   คนไทยนิยมใช้สุภาษิตสั่งสอนลูกหลานกันมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตกันมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง วรรณคดีอันทรงคุณค่าและเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งคำประพันธ์เป็นร่ายโบราณแบบร่ายสุภาพ ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง     สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีคำสอนที่ทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง คำว่า พระร่วง ทำให้คนเข้าใจว่าอาจจะเป็นคำสอนของกษัตริย์สักคนที่มีนามว่า พระร่วง

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

การดำเนินการของฟังก์ชัน

การดำเนินการของฟังก์ชัน

การดำเนินการของฟังก์ชัน การดำเนินการของฟังก์ชัน ประกอบไปด้วย การบวก การลบ การคูณ และการหารของฟังก์ชัน ซึ่งเมื่อเราดำเนินการที่กล่าวมาข้างต้นกับฟังก์ชันแล้วจะทำให้เกิดฟังก์ชันใหม่ขึ้นมา เขียนแทนด้วย f + g, f – g, fg ,   ตามลำดับ โดยที่ (f + g)(x) = f(x)

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1