เพลงชาติไทย สัญลักษณ์ของความรักชาติที่ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ เชื่อว่าพอขึ้นต้นด้วยประโยคนี้ จะต้องมีน้อง ๆ หลายคนอ่านเป็นทำนองแล้วร้องต่อในใจแน่นอนว่า ‘เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน’ เพราะนี่คือ เพลงชาติไทย ที่เราได้ยินตอนแปดโมงเช้ากับหกโมงเย็นของทุกวันนั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความเป็นมา และความหมายของเพลงชาติไทยกันค่ะ มาดูพร้อมกันเลย

 

ประวัติความเป็นมาของ เพลงชาติไทย

 

เพลงชาติไทย

 

ก่อนที่จะมีเพลงชาติไทย ประเทศไทยใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นเพลงประจำองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเพลงประจำชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มคณะราษฎร์คิดริเริ่มที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาเพื่อสะท้อนถึงความเป็นประชาธิปไตย มีการแก้ไขเนื้อเพลงกันอยู่ถึง 6 ฉบับแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ และในเพลงชาติฉบับที่เจ็ดซึ่งเป็นฉบับสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลของจอมแปลก พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้มีการประกวดเนื้อร้องของเพลงชาติขึ้นมาใหม่ และบทเพลงชาติของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ก็ได้รับการคัดเลือกให้ชนะเลิศ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้ใช้เนื้อร้องที่ชนะการประกวดและทำนองประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์ ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 เป็นต้นไปมาจนถึงปัจจุบัน

 

เพลงชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

เพลงชาติไทยฉบับแรก คือ เพลงจอมราชจงเจริญ โดยใช้ทำนองของเพลง God save the Queen

 

เพลงชาติไทย

 

เพลงชาติไทยฉบับที่ 2 คือ เพลงทรงพระสุบิน หรือเพลงบุหลันลอยเลื่อน

 

เพลงชาติไทย

 

เพลงชาติไทยฉบับที่ 3 คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี (ฉบับปัจจุบัน)

 

เพลงชาติไทย

 

 

เพลงชาติไทยฉบับที่ 4 คือ เพลงชาติมหาชัย

 

เพลงชาติไทย

 

เพลงชาติไทยฉบับที่ 5 คือ เพลงชาติฉบับของขุนวิจิตรมาตรา

 

 

เพลงชาติไทยฉบับที่ 6 คือ เพลงชาติฉบับราชการฉบับแรก เนื้อร้องเพลงชาติฉบับของนายฉันท์ ขำวิไล

 

 

เพลงชาติฉบับที่ 7 คือ ฉบับปัจจุบัน เป็นเนื้อร้องที่ประพันธ์โดย พ.อ. หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งในนามกองทัพบกทางสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนทำนองประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์

 

 

ความหมายของเพลงชาติไทย

ประเทศไทยเป็นถิ่นที่รวมชนผู้มีเลือดหเนื้อเชื้อชาติไทยไว้ให้ได้อยู่อาศัยร่วมกัน แผ่นดินทุกส่วนของประเทศไทยย่อมเป็นของชาวไทยทุกคน ประชาชนไทยรักษาแผ่นดินไทยทั้งหมดไว้ได้ ก็ด้วยทุกคนมีน้ำใจสามัคคี รักคนไทยด้วยกันและรักประเทศชาติ ชนไทยรักที่จะอยู่อย่างสุขสงบ แต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตรูแล้วคนไทยไม่เคยขลาดกลัวเลยไม่มีวันยอมให้ศัตรูหน้าไหนมาข่มขู่ทำลายความเป็นอิสระของชาติไทยได้ ทุกคนยอมสละเลือดทุกหยดเพื่อชาติไทยอยู่ยั่งยืน จะปกป้องคุ้มครองประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และให้มีแต่ชัยชนะตลอดไป

 

 

เพลงชาติเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญ เพราะเป็นเพลงที่สะท้อนถึงความเป็นไทยของคนในชาติและความเป็นเอกราชของประเทศนั้นๆ หวังว่าบทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ ได้ตระหนักถึงความเสียสละของคนในอดีตและรักในความเป็นไทยกันมากขึ้นนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนและตามไปดูครูอุ้มแปลความหมายของเพลงอย่างละเอียดในคลิปการสอนย้อนหลังได้เลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีคำสอน เรื่องสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   คนไทยนิยมใช้สุภาษิตสั่งสอนลูกหลานกันมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตกันมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง วรรณคดีอันทรงคุณค่าและเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งคำประพันธ์เป็นร่ายโบราณแบบร่ายสุภาพ ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง     สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีคำสอนที่ทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง คำว่า พระร่วง ทำให้คนเข้าใจว่าอาจจะเป็นคำสอนของกษัตริย์สักคนที่มีนามว่า พระร่วง

ฉันท์

ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า   ความเป็นมาของ ฉันท์  

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1