ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์
และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย

 

ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ

ความน่าเชื่อถือ หมายถึง สิ่งที่แม่นยำ ทำซ้ำได้อย่างถูกต้องในทำนองเดียวกัน สิ่งที่ทำได้คงเส้นคงวาไม่ผิดพลาดไปจากเดิมซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ

สื่อ คือ ช่องทางที่ใช้ติดต่อ หรือเชื่อมต่อถึงกัน เป็นตัวกลางในการส่งสาร ส่งเนื้อหาไปยังผู้รับสาร

 

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ประเภทของสื่อที่ฟัง

1.สื่อประเภทข่าว คือ สื่อที่มีการถ่ายทอด หรือนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ เรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ ณ ขณะนั้น เรื่องที่ได้ยินมาทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข่าวลือ 

2.สื่อบันเทิง คือ สื่อที่เน้นนำเสนอความบันเทิงเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องข้อเท็จจริง หรือข้อมูลมาก เราจะเห็นการผลิตสื่อบันเทิงในรูปแบบ รายการ ละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ให้คนที่รับชมได้ความสนุก เพลิดเพลินใจ

3. สื่อโฆษณา คือ สื่อที่ใช้เพื่อการนำเสนอสินค้า โปรโมตสินค้า และบริการ มุ่งเน้นการโน้มน้าวใจ หรือชักจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้คนมีความต้องการซื้อมากขึ้น

4. สื่อออนไลน์ คือ สื่อที่ใช้รูปแบบการนำเสนอบนโลกออนไลน์ ใช้การเข้าถึงด้วยอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ เบราว์เซอร์ หรือแอปพลิเคชัน เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย รวดเร็ว และมีเนื้อหาหลากหลาย

 

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

 

วิเคราะห์ลักษณะของสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ

  • มีเนื้อหาที่สมเหตุสมผล มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนสามารถตรวจสอบได้
  • เป็นสื่อที่มีความทันสมัย ควรระบุว่ามีการเผยแพร่เมื่อใด มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่
  • สำนวนภาษาที่ใช้ต้องมีความเข้าใจง่าย ให้ข้อมูลชัดเจนไม่ได้มีลักษณะไปในทางชวนเชื่อหรือ ทำให้ผู้รับสารเข้าใจคลาดเคลื่อน
  • ถ้าหากเป็นเนื้อหา หรือสื่อประเภทข่าวต้องมีการลำดับเนื้อเรื่องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เรียงลำดับตั้วแต่ต้นจนจบได้อย่างเข้าใจ ไม่ปิดบัง อำพราง หรือบิดเบือนข้อมูลข่าว ต้องสามารถบอกเวลา และสถานที่ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • หากเรื่องนั้นมีการแสดงความคิดเห็นประกอบให้เราพิจารณา ไตร่ตรองตามความเป็นจริง และไม่เอนเอียง
    ไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อตามหลัก และเหตุผลอันเป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือจริง ๆ
  • แยกแยะให้ได้ว่าจุดประสงค์ของสื่อนั้นสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร เป็นสื่อประเภทใด โฆษณา หรือข่าวสาร

บทส่งท้าย

ปัจจุบันสื่อมีหลายช่องทาง สารมีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ ดังนั้น น้อง ๆ ทุกคนควรเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาจากสื่อที่ฟังให้ได้ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เป็นไปในทางชักจูงใจ หรือเป็นความจริง ซึ่งเรามักจะต้องใช้ทักษะนี้ในการฟังข่าวสาร หรือฟังโฆษณา ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ก็จะช่วยให้เราได้รับสาระประโยชน์จากสื่อที่เราฟังได้อย่างแท้จริง สามารถนำไปใช้ หรือปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องไม่เป็นภัยกับตัวเอง ถ้าหากน้อง ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย หรืออยากเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile-Have has got P.5

ทบทวนการใช้ ” Have/has got “

สวัสดีค่ะนักเรียนป. 5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปทบทวนการใช้  Have/has got ในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งก่อนอื่นต้อง มาทำความรู้จักกับ Verb to have กันก่อนซึ่ง เจ้า Verb to have ที่เราอาจจะคุ้นหูบ่อยๆ เช่น  Have a wonderful day. ขอให้มีวันที่ดีนะ เมื่อเราต้องการจบบทสนทนา

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1