การเขียนคำอวยพร เขียนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้รับ

การเขียนคำอวยพร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คนเราทุกคนต่างต้องการในสิ่งดีงาม เมื่อถึงโอกาสสำคัญอย่างวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ จึงต้องการคำอวยพรที่สร้างกำลังใจ และเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง คำอวยพรจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม ที่คนใช้สื่อสาร ถ่ายทอดเพื่อมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเขียนคำอวยพร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีลักษณะและวิธีอย่างไรบ้าง

 

การเขียนคำอวยพร

 

ความหมายของคำอวยพร

คำอวยพร คือ คำพูดแสดงความปรารถนาดีต่อกันในโอกาสต่าง ๆ

 

โอกาส ในการเขียนคำอวยพร

 

การเขียนคำอวยพร

 

1. วันปีใหม่

  • สวัสดีปีใหม่ ขอให้มีความสุขมาก ๆ
  • สัขสันต์วันขึ้นปีใหม่ ขอให้โชคดึมีเงินมีทอง

2. วันเกิด

  • สุขสันต์วันเกิด ของให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีเงินใช้
  • ขอให้มีความสุขมากๆ ในวันเกิดปีนี้ มีความสุข ร่ำรวย ๆ

3. วันสงกรานต์

  • สงกรานต์ปีนี้ ขอให้สมหวังดั่งใจปรารถนา มีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส คลายทุกข์คลายโศกตลอดไป
  • สุขสันต์วันสงกรานต์ ขออวยพรให้ท่านสุขสันต์ แช่มชื่นทุกคืนวัน

4. งานแต่งงาน

  • ขอให้ชีวิตคู่มีแต่ความสุข ความเจริญ ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป
  • เนื่องในโอกาสมงคล ขออวยพรให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวครองรักกันไปนาน ๆ

5. จบการศึกษา

  • ขอแสดงความยินดีกับการเรียนจบ ขอให้ชีวิตหลังจากนี้ประสบความสำเร็จ และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ
  • ยินดีกับนักเรียนทุกคนที่จบการศึกษาในปีนี้ ขอให้เส้นทางในอนาคตราบรื่น พบแต่ความสุข ความเจริญ

 

ลักษณะของคำอวยพร

 

การเขียนคำอวยพร

 

1. คำอวยพรที่ใช้เฉพาะโอกาส

หมายถึง คำอวยพรที่ใช้ได้เฉพาะโอกาสใดโอกาสหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากว่าคำศัพท์และเนื้อหาที่ใช้ในโอกาสนั้นเป็นคำเฉพาะ จะใช้กับโอกาสอื่น ๆ ไม่ได้

ตัวอย่าง

 

 

2. คำอวยพรที่ใช้ได้มากกว่าหนึ่งโอกาส

หมายถึง คำอวยพรใช้ได้ตั้งแต่ 2 โอกาสขึ้นไป

ตัวอย่าง

ขอให้สุขภาพแข็งแรง สามารถอวยพรได้ทั้งในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ วันเกิด เยี่ยมผู้ป่วยหรืออวยพรแก่สามีภรรยาที่เพิ่งคลอดลูก เป็นต้น

 

หลักการเขียนคำอวยพร

 

 

1. เขียนให้สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้อวยพร ผู้รับพร โอกาส และสื่อที่ใช้อวยพร

2. การกล่าวถึงโอกาสที่อวยพร

3. การอวยพรผู้อาวุโส ควรกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสากลหรือสิ่งที่ผู้รับพรเคารพนับถือ เช่น ขออำนาจคุณพระแก้วมรกต ดลบันดาลให้ท่านพบความสุขี มีแต่ความสวัสดี โชคดีทุกคืนวัน

4. ให้พรที่เหมาะสมกับผู้รับพรและเป็นพรที่สร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ เช่น ความสุข หน้าที่การงาน ความสำเร็จ ความสมหวัง สุขภาพ อายุยืนยาว เป็นต้น

5. ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้องเหมาะสมโดยพยายามสรรหาคำที่ไพเราะและมีความหมายดี

 

การอวยพรเป็นการตอบสนองทางจิตใจ ทำให้ผู้รับเกิดกำลังใจ ความเชื่อมั่น และความสุข ดังนั้นผู้ที่อวยพรจึงต้องเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ และแสดงความปรารถนาดีผ่านภาษาที่ถ่ายทอดออกไป เมื่อได้เรียนรู้การเขียนคำอวยพรไปแล้ว เชื่อว่าหลังจากนี้หากน้อง ๆ ต้องเขียนอวยพรให้กับใคร ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็อย่าลืมบทเรียนนี้ และเลือกใช้คำที่ไพเราะ มีความหมายดี และที่สำคัญที่สุดคือต้องเหมาะสมกับโอกาสนั้น ๆ ด้วยนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมตามไปชมคลิปครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดบทเรียนสนุก ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร  โดยการเลือกกำจัดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง(x) เมื่อเลือกกำจัด x จะได้ค่า y แล้วนำค่าของตัวแปร(y) มาแทนค่าในสมการเพื่อหาค่าของตัวแปรอีกหนึ่งตัวแปร (x) ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ⇐⇐ ให้ a, b, c, d, e และ

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนตรรกยะ และการเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมหรือทศนิยมเป็นเศษส่วน

รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า     ประวัติความเป็นมา ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1