กลอนบทละครอ่านอย่างไรให้ถูกต้อง และไพเราะ

กลอนบทละคร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ภาษาไทยอีกครั้ง สำหรับใครที่กำลังรอคอย  บทเรียนเกี่ยวกับการอ่านบทอาขยานต้องมาทางนี้เลย เพราะว่าเราจะมาเรียนรู้หลักการอ่านอาขยานในประเภทบทละคร ซึ่งแน่นอนว่านอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้วิธีการอ่านที่ถูกต้องแล้ว ก็ยังจะได้สนุกไปกับเนื้อเรื่องของบทละครที่เราจะยกมาเป็นตัวอย่างในเนื้อหาวันนี้ด้วย ถ้าหากทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้า เตรียมตัวไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย

 

กลอนบทละคร

 

บทอาขยาน คืออะไร

อาขยาน [อา – ขะ – หยาน] คือ บทประพันธ์ชนิดหนึ่งที่จะต้องอาศัยการท่องจำ และอ่านด้วยทำนองแบบบทร้อยกรอง หรืออ่านตามโครงสร้างของฉันทลักษณ์นั้น ๆ บทอาขยานอาจหมายรวมถึงการเล่านิทาน การเล่าเรื่อง การเล่าเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อม เล่าถึงตัวบุคคลแบบที่ในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ในการเล่าเรื่อง โดยจะมีฉันลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความงดงามทางภาษา เนื้อหา และวรรณศิลป์ด้วย

 

กลอนบทละคร

 

ความหมายของกลอนบทละคร

กลอนบทละคร หมายถึง กลอนที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ในการแสดงละครรำ ซึ่งในกลอนบทละครนี้จะมีหลักเกณฑ์ หรือฉันทลักษณ์ในการแต่งที่ค่อนข้างเข้าใจได้ง่าย เพราะใช้การแต่งแบบกลอนสุภาพที่แต่ละวรรคจะมี 6 – 8 คำ แต่สิ่งที่สำคัญในกลอนบทละครที่ลักษณะของคำขึ้นต้นที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าในบทนี้ตัวเนื้อเรื่องกำลังกล่าวถึงตัวละครใด
เช่น มาจะกล่าวบทไป เมื่อนั้น บัดนั้น หรือน้องเอ๋ยน้องรัก ซึ่งก็จะมีหลักการให้เราได้เรียนรู้กันในส่วนต่อไป 


กลอนบทละคร

 

หลักการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละคร

อย่างที่ได้บอกกับน้อง ๆ ไปก่อนหน้านี้ว่าการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครจะมีจุดสำคัญ ๆ ให้สังเกตอยู่ซึ่งนั่นก็คือการใช้คำขึ้นต้น และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเราจะยกตัวอย่างกลอนบทละครจากวรรณคดีเรื่อง ต่าง ๆ ที่มีคำขึ้นต้นเหล่านี้มาประกอบด้วย 

  • มาจะกล่าวบทไป ใช้ในตอนที่จะเริ่มต้นเรื่อง หรือเริ่มต้นเล่าเรื่องในตอนใหม่ 

กลอนบทละคร

 

  • เมื่อนั้น ใช้เมื่อเราต้องการจะเล่าถึงตัวละครหลัก หรือตัวละครสำคัญ ๆ ในเรื่องนั้น เช่น กษัตริย์ พระเอก หรือนางเอก 

กลอนบทละคร

 

  • บัดนั้น ใช้เมื่อเราต้องการจะกล่าวถึงตัวละครที่ไม่มีบทบาทสำคัญอะไรมาก เป็นตัวประกอบ หรือตัวละครรองในเรื่องนั้น

กลอนบทละคร
** เป็นการกล่าวถึงตัวละครที่มีบทรองจากตัวละครสำคัญ ๆ ไม่ได้มีบทบาทมากอย่าง พญาพิเภกซึ่งเป็นยักษ์ที่พระอิศวรส่งมาให้ช่วยพระราม หรือเป็นบริวาลของพระราม หลังจากรับคำสั่งแล้วก็ได้กราบลาไปทำหน้าที่

 

  • น้องเอ๋ยน้องรัก อาจจะเห็นในบางบทกลอนที่พระเอกต้องการจะกล่าวถึงนางอันเป็นที่รัก
    หรือในบทเกี้ยวพาราสี
กลอนบทละคร
** เป็นบทเกี้ยวพาราสีของอิเหนาที่จะกล่าวชมรูปโฉมของนางจินตะหราวาตีว่า หน้าตาสวยผุดผ่องราวกับพระจันทร์
รูปร่างงดงาม มองตรงไหนก็ดูดีไปหมด

วิธีแบ่งวรรคอ่าน

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฝึกอ่านให้ถูกต้อง แม่นยำ เราก็จะมาสอนวิธีการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครด้วยการแบ่งคำให้ถูกต้องตามจังหวะ ซึ่งเราสามารถดูจากจำนวนของคำที่ใช้ในละวรรค มีประมาณ     6 – 8 คำ หรือสูงสุด 9 คำ โดยเราจะยกตัวบทจากเรื่อง สังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์มาประกอบ เพื่อให้   น้อง ๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

กลอนบทละคร

กลอนบทละคร

 

** ให้น้อง ๆ สังเกตจากจำนวนคำ

ถ้าหากมี 6 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 2 – 2 – 2 

ถ้าหากมี 7 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น  2 – 2 – 3

ถ้าหากมี 8 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 3 – 2 – 3

ถ้าหากมี 9 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 3 – 3 – 3

 

บทส่งท้าย

หลังจากที่ได้เรียนหลักการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครไปแล้วช่วยให้น้อง ๆ สามารถอ่านเป็นทำนองเสนาะได้เพราะขึ้นหรือเปล่า เนื้อหาการเรียนวันนี้เป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากมาก และอยากให้น้อง ๆ นำไปฝึกอ่านบ่อย ๆ เพราะเมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้นเราก็จะได้ฝึกอ่านกลอนบทละครแบบนี้อีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องสังข์ทองในตอนอื่น ๆ เรื่องพระอภัยมณี อิเหนา หรือรามเกียรติ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่สนุก ๆ ทั้งนั้น ส่วนใครที่อยากลองฟังวิธีการอ่านที่ถูกต้องอีกรอบก็ลองไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปวีดีโอด้านล่างนี้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังเพื่อจับใจความ

วิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ 3 วิธีที่จะช่วยให้เราฟังเพื่อจับใจความได้อย่างดี

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับเนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยวันนี้ต้องขอบอกเลยว่าสนุก และไม่หนักจนเกินไป เพราะเป็นเรื่องของทักษะการฟังเพื่อจับใจความที่เราสามารถฝึกฝน เรียนรู้ แล้วนำไปใช้ในการเรียน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าการฟังเพื่อจับใจความมันคืออะไร แตกต่างไปจากการฟังแบบทั่วไปอย่างไร แล้วลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง ถ้าทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้าเรามาเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาในวันนี้กันเลยดีกว่า     กระบวนการในการฟังของมนุษย์ การฟังเป็นกระบวนการรับสารของมนุษย์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์ใช้กระบวนการรับรู้เสียงต่าง ๆ ผ่านหู และใช้สมองในการแปลความหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้อยู่หลัก ๆ  5 

ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย 3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประธาน subject  + กริยา หรือ

การดำเนินการของเซต

การดำเนินการของเซตประกอบไปด้วย ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่าง เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราจะได้ใช้ในบทต่อๆไป เรื่องนี้จึงค่อนข้างมีประโยชน์ในเรื่องของการเรียนเนื้อหาบทต่อไปง่ายขึ้น

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เขียนอย่างไรให้ถูกกาลเทศะ

​จดหมายเป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง เหมาะสมแก่ผู้รับ การเขียนจดหมายนั้นมีหลายแบบ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีเขียนจดหมายอย่างให้ถูกต้องและถูกกาลเทศะมากที่สุด เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนจดหมายถึงญาติผู้ใหญ่   การเขียนจดหมาย   1. ผู้ส่งจดหมาย 2. จดหมาย 3. ผู้รับจดหมาย   ตัวอย่างการเขียนจดหมาย   ​

การวัดพื้นที่ ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้มาตราต่างๆของหน่วยในระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสูตรต่างๆที่ใช้ในการหาพื้นที่ เพื่อให้เราได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

there is

There is และ There are ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการใช้ There is และ There are ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1