บทนำ
สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ภาษาไทยอีกครั้ง สำหรับใครที่กำลังรอคอย บทเรียนเกี่ยวกับการอ่านบทอาขยานต้องมาทางนี้เลย เพราะว่าเราจะมาเรียนรู้หลักการอ่านอาขยานในประเภทบทละคร ซึ่งแน่นอนว่านอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้วิธีการอ่านที่ถูกต้องแล้ว ก็ยังจะได้สนุกไปกับเนื้อเรื่องของบทละครที่เราจะยกมาเป็นตัวอย่างในเนื้อหาวันนี้ด้วย ถ้าหากทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้า เตรียมตัวไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย
บทอาขยาน คืออะไร
อาขยาน [อา – ขะ – หยาน] คือ บทประพันธ์ชนิดหนึ่งที่จะต้องอาศัยการท่องจำ และอ่านด้วยทำนองแบบบทร้อยกรอง หรืออ่านตามโครงสร้างของฉันทลักษณ์นั้น ๆ บทอาขยานอาจหมายรวมถึงการเล่านิทาน การเล่าเรื่อง การเล่าเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อม เล่าถึงตัวบุคคลแบบที่ในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ในการเล่าเรื่อง โดยจะมีฉันลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความงดงามทางภาษา เนื้อหา และวรรณศิลป์ด้วย
ความหมายของกลอนบทละคร
กลอนบทละคร หมายถึง กลอนที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ในการแสดงละครรำ ซึ่งในกลอนบทละครนี้จะมีหลักเกณฑ์ หรือฉันทลักษณ์ในการแต่งที่ค่อนข้างเข้าใจได้ง่าย เพราะใช้การแต่งแบบกลอนสุภาพที่แต่ละวรรคจะมี 6 – 8 คำ แต่สิ่งที่สำคัญในกลอนบทละครที่ลักษณะของคำขึ้นต้นที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าในบทนี้ตัวเนื้อเรื่องกำลังกล่าวถึงตัวละครใด
เช่น มาจะกล่าวบทไป เมื่อนั้น บัดนั้น หรือน้องเอ๋ยน้องรัก ซึ่งก็จะมีหลักการให้เราได้เรียนรู้กันในส่วนต่อไป
หลักการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละคร
อย่างที่ได้บอกกับน้อง ๆ ไปก่อนหน้านี้ว่าการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครจะมีจุดสำคัญ ๆ ให้สังเกตอยู่ซึ่งนั่นก็คือการใช้คำขึ้นต้น และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเราจะยกตัวอย่างกลอนบทละครจากวรรณคดีเรื่อง ต่าง ๆ ที่มีคำขึ้นต้นเหล่านี้มาประกอบด้วย
- มาจะกล่าวบทไป ใช้ในตอนที่จะเริ่มต้นเรื่อง หรือเริ่มต้นเล่าเรื่องในตอนใหม่
- เมื่อนั้น ใช้เมื่อเราต้องการจะเล่าถึงตัวละครหลัก หรือตัวละครสำคัญ ๆ ในเรื่องนั้น เช่น กษัตริย์ พระเอก หรือนางเอก
- บัดนั้น ใช้เมื่อเราต้องการจะกล่าวถึงตัวละครที่ไม่มีบทบาทสำคัญอะไรมาก เป็นตัวประกอบ หรือตัวละครรองในเรื่องนั้น
** เป็นการกล่าวถึงตัวละครที่มีบทรองจากตัวละครสำคัญ ๆ ไม่ได้มีบทบาทมากอย่าง พญาพิเภกซึ่งเป็นยักษ์ที่พระอิศวรส่งมาให้ช่วยพระราม หรือเป็นบริวาลของพระราม หลังจากรับคำสั่งแล้วก็ได้กราบลาไปทำหน้าที่
- น้องเอ๋ยน้องรัก อาจจะเห็นในบางบทกลอนที่พระเอกต้องการจะกล่าวถึงนางอันเป็นที่รัก
หรือในบทเกี้ยวพาราสี
รูปร่างงดงาม มองตรงไหนก็ดูดีไปหมด
วิธีแบ่งวรรคอ่าน
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฝึกอ่านให้ถูกต้อง แม่นยำ เราก็จะมาสอนวิธีการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครด้วยการแบ่งคำให้ถูกต้องตามจังหวะ ซึ่งเราสามารถดูจากจำนวนของคำที่ใช้ในละวรรค มีประมาณ 6 – 8 คำ หรือสูงสุด 9 คำ โดยเราจะยกตัวบทจากเรื่อง สังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์มาประกอบ เพื่อให้ น้อง ๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น
** ให้น้อง ๆ สังเกตจากจำนวนคำ
ถ้าหากมี 6 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 2 – 2 – 2
ถ้าหากมี 7 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 2 – 2 – 3
ถ้าหากมี 8 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 3 – 2 – 3
ถ้าหากมี 9 คำให้แบ่งจังหวะการอ่านเป็น 3 – 3 – 3
บทส่งท้าย
หลังจากที่ได้เรียนหลักการอ่านอาขยาน ประเภทกลอนบทละครไปแล้วช่วยให้น้อง ๆ สามารถอ่านเป็นทำนองเสนาะได้เพราะขึ้นหรือเปล่า เนื้อหาการเรียนวันนี้เป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากมาก และอยากให้น้อง ๆ นำไปฝึกอ่านบ่อย ๆ เพราะเมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้นเราก็จะได้ฝึกอ่านกลอนบทละครแบบนี้อีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องสังข์ทองในตอนอื่น ๆ เรื่องพระอภัยมณี อิเหนา หรือรามเกียรติ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่สนุก ๆ ทั้งนั้น ส่วนใครที่อยากลองฟังวิธีการอ่านที่ถูกต้องอีกรอบก็ลองไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปวีดีโอด้านล่างนี้เลย