เสียงสระในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด 3  เสียงคือพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องเสียงพยัญชนะกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้อีกเสียงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องเสียงสระนั่นเองค่ะ เสียงสระจะมีกี่ชนิด แบ่งเป็นชนิดใดบ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

เสียงสระ

เสียงสระเป็นเสียงที่เกิดจากลมภายในปอด เปล่งออกมาโดยใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก เสียงที่ได้จะแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ

สระเดี่ยว

สระเดี่ยวหรือสระแท้ มีทั้งหมด 18 เสียง เสียงสั้นและเสียงยาวจับกันได้ 9 คู่

การออกเสียงสระเดี่ยว

การออกเสียงสระเดี่ยวแบ่งได้ตามตำแหน่งของลิ้นในการออกเสียง และรูปของริมฝีปาก

  1. การออกเสียงสระหน้า ลิ้นอยู่ในตำแหน่งหน้า ริมฝีปากรี สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอิ สระอี สระเอะ สระเอ สระแอะ และ สระแอ
  2. การออกเสียงสระกลาง ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลังค่อยไปทางกลาง ริมฝีปากรี สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอึ สระอือ สระเออะ สระเออ สระอะ และ สระอา
  3. การออกเสียงสระหลัง ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลัง ริมฝีปากห่อ สระในกลุ่มนี้ได้แก่ สระอุ สระอู สระโอะ สระโอ สระเอาะ และ สระออ

สระประสมหรือสระเลื่อน

คือสระที่ประสมระหว่างหนึ่งกับอีกสระหนึ่งเพื่อให้เป็นเสียงใหม่ มีทั้งหมด 3 เสียง ได้แก่

เอีย  เกิดจาก สระอี + สระอา

เอือ เกิดจาก สระอือ + สระอา

อัว เกิดจาก สระอู + สระอา

ทริคการจำ

 

สระประสม เอีย เอือ อัว ทั้งหมดเป็นสระเสียงยาว ส่วนถ้าเป็นสระเสียงสั้นอย่าง

สระเอียะ  เกิดจาก สระอิ+สระอะ

สระเอือะ เกิดจาก สระอึ+สระอะ

สระอัวะ เกิดจาก สระอุ + สระอะ

คำที่มีสระเหล่านี้ในภาษาไทยมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นคำที่ไม่มีความหมาย ใช้สำหรับการเลียนเสียงบางอย่างเท่านั้น ถ้าเปลี่ยนให้เป็นเสียงยาวความหมายก็ไม่ต่างกัน ทำให้สระประสมเสียงสั้นถูกนับรวมให้เป็นพวกเดียวกับสระประสมเสียงยาวนั่นเองค่ะ

 

ข้อสังเกต

  • การดูสระต้องดูจากเสียง ไม่ดูจากรูป
  • อำ ใอ ไอ นับเป็นสระอะที่มีพยัญชนะร่วมด้วย

 

การแบ่งเสียงสระในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร

 

เนื่องจากปัจจุบันมีการปรับปรุงตำราและใช้หลักเกณฑ์ใหม่ในการแบ่ง เพื่อไม่ให้สับสน เรามาดูข้อเปรียบเทียบระหว่างการแบ่งเสียงสระแบบเก่ากับแบบใหม่กันดีกว่าค่ะ

1. การแบ่งเสียงสระแบบเก่า จะแบ่งออกเป็น 32 เสียง มีสระเดี่ยว 24 เสียงและสระเกิน 8 แต่ในปัจจุบันเราตัดสระเกินออกแล้วแบ่งเป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง รวมกันเป็น 21 เสียง

2. แบบเดิมจะนับสระเสียงสั้นกับเสียงยาวว่ามี 24 แบ่งเป็น 12 คู่ แต่แบบใหม่จะนับเป็น 18 เสียง 9 คู่ โดยแยกสระเอีย สระเอือ สระอัวออกมาให้เป็นสระประสมแต่ไม่แยกเสียงสระสั้นเป็นคู่เหมือนสระเดี่ยว ทำให้สระประสมมี 3 เสียงคือ สระเอีย สระเอือ และสระอัว

3. การแบ่งเสียงแบบเดิมจะนับสระเกินเข้าไปด้วย แต่ในปัจจุบันสระเกินถูกนับเป็นพยางค์ที่มาจากการรวมกันของสระกับตัวสะกด แต่ยังมียัง 8 เสียงเหมือนเดิมคือ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา

 

แม้จำนวนสระจะดูเหมือนเยอะจนอาจทำให้น้อง ๆ หลายคนสับสน แต่ถ้าลองศึกษาดูแล้วจะรู้ว่ามีวิธีจำที่ไม่ยากเลยค่ะ แต่ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังไม่เข้าใจเรื่องเสียงสระมากพอ อยากจะเห็นตัวอย่างมากกว่านี้เผื่อว่าไปเจอในข้อสอบ ก็ตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปจะมีการยกตัวอย่างเพิ่มเติมและอธิบายไว้อย่างละเอียดเพื่อให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจโจทย์เวลาลงสนามจริงได้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ป.5เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

สวัสดีนักเรียนชั้นมป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ  “เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า Let’s go! ความหมาย   Present แปลว่า ปัจจุบัน  Simple แปลว่า ธรรมดา ส่วน Tense นั้น แปลว่ากาล ดังนั้น

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1