เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ
เสียงวรรณยุกต์คืออะไร
เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง
รูปวรรณยุกต์
รูปวรรณยุกต์มี 4 รูป คือ เอก โท ตรี และ จัตวา
เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ มีทั้งหมด 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา
ข้อสังเกต
สิ่งที่น้อง ๆ ต้องระวังคือ แม้ว่ารูปของวรรณยุกต์จะเป็นอย่างหนึ่ง แต่การออกเสียงอาจไม่ได้ออกเสียงตามรูปเสมอไป เช่น คำว่า ไม้ รูปวรรณยุกต์โท แต่การออกเสียงจะเป็นเสียงตรี หรือ เสือ ไม่มีรูปวรรณยุกต์ แต่การออกเสียงจะเป็นเสียงจัตวา
ดังนั้นการจะเข้าใจว่าคำไหนออกเสียงวรรณยุกต์อย่างไร น้อง ๆ จะต้องเข้าใจเรื่องการผันวรรณยุกต์และอักษรสามหมู่ สูง กลาง และต่ำ เรามาทบทวนการผันวรรณยุกต์กันค่ะ
การผันวรรณยุกต์
หลักการผันวรรณยุกต์อย่างง่ายมีดังนี้
- อักษรกลาง สามารถผันได้ครบทั้ง 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา
- อักษรสูง สามารถผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท และเสียงจัตวา
- อักษรต่ำ สามารถผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงโท และเสียงตรี
ความสำคัญของเสียงวรรณยุกต์
อย่างที่กล่าวไปในตอนแรกนะคะว่าเสียงวรรณยุกต์มีความสำคัญมาก เพราะถ้าเราใส่วรรณยุกต์หรืออ่านวรรณยุกต์ผิด ความหมายของคำก็จะผิดเพี้ยนไปทันที เมื่อวรรณยุกต์เปลี่ยนความหมายก็จะเปลี่ยน เพราะภาษาไทยไม่เหมือนภาษาต่างประเทศที่ไม่มีวรรณยุกต์เป็นตัวกำหนดความหมาย
เห็นไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์มีความสำคัญมาก ๆ กับความหมายของคำ แต่ทั้งนี้ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังไม่เข้าใจเรื่องวรรณยุกต์ ก็สามารถไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้ ในคลิปจะมีการสอนเทคนิคเทียบคำเพื่อให้น้อง ๆ สามารถผันวรรณยุกต์แต่ละคำได้อย่างถูกต้องค่ะ ไปดูกันเลย