เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาขุนช้างขุนแผน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน

 

ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

 

เสภาขุนช้างขุนแผน

 

การชำระเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

 

ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่นิยมสืบเนื่องยาวนานเกือบ 400 ปี เพราะเนื้อเรื่องมีความยาวมาก ไม่สามารถขับเสภาให้จบในวันเดียวได้ ใครชอบตอนไหนก็แต่งตอนนั้นทำให้เนื้อเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน เหตุการณ์สลับกัน ชื่อตัวละครไม่ตรงกัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 มีแต่งบทเสภาขึ้นมาใหม่ ทำให้วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนจากวรรณคดีชาวบ้านเป็นวรรณคดีราชสำนัก และเมื่อถึงรัชกาลที่ 3 บทเสภาสำนวนหลวงก็สมบูรณ์ ภายในได้มีการแต่งเพิ่มอีกเล็กน้อย แต่เมื่อได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ 2415 ก็ไม่มีใครแต่งเพิ่มอีก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา กรมการหอพระสมุดวชิรญาณร่วมกันชำระเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน โดยเลือกสรรสำนวนที่ดีเลิศ ถูกต้อง มารวมกันและเชื่อมให้เป็นเรื่องเดียวกัน เทียบเคียงกับต้นฉบับหลายสำนวน ตัดออก แต่งเพิ่ม และพิมพ์บทเสภาที่ไม่เคยพิมพ์มาก่อนรวมไปด้วย รวมทั้งเป็น 43 ตอน

 

เสภาขุนช้างขุนแผน

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ลักษณะคำประพันธ์กลอนเสภาเป็นกลอนสุภาพ เสภาเป็นกลอนขั้นเล่าเรื่องอย่างนิทาน จึงใช้คำมากเพื่อบรรจุข้อความให้ชัดเจนแก่ผู้ฟัง มีข้อบังคับคือ คำสุดท้ายของวรรคต้น ส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่งใน 5 คำแรกของวรรคหลัง สัมผัสวรรคอื่นและสัมผัสระหว่างบทเหมือนกลอนสุภาพ

เสภาขุนช้างขุนแผน

เรื่องย่อ วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

 

ตอน ขุนช้างถวายฎีกานั้นเป็นตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากที่ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี ส่วนจมื่นไวยไปอยู่บ้านพ่อ แต่เมื่อกลับไปอยู่แล้วก็ทำให้จมื่นไวยเกิดความรู้สึกคิดถึงแม่ ทำให้จมื่นไวยเกิดความคิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่บ้านด้วยกันแบบพ่อ แม่ และลูก จึงบุกไปที่เรือนขุนช้างเพื่อลักพาตัวนางวันทอง แต่นางวันทองในตอนนั้นกลัวว่าจะเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง จึงให้จมื่นไวยไปปรึกษาขุนแผนผู้เป็นพ่อก่อน แต่จมื่นไวยไม่ยอม นางวันทองจึงต้องยอมไปกับลูก

ด้านขุนช้างเมื่อตื่นขึ้นมาแล้วไม่เห็นนางวันทองก็โกรธ จะไปตามนางวันทองกลับมาให้ได้ จมื่นไวยมที่กลัวว่าขุนช้างจะมาเอาเรื่อง จึงให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่าตนป่วยหนัก อยากเห็นหน้าแม่จึงให้คนไปตามนางวันทองมาอยู่ด้วยพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้างตามเดิม แต่ขุนช้างก็ยังโมโหที่จมื่นไวยทำอะไรไม่เกรงใจจึงร่างคำร้องถวายฎีกาแล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระพันวษาทรงพิโรธ สั่งให้เฆี่ยนขุนช้าง 30 ที แล้วปล่อยไป ต่อมาพระองค์ทรงได้อ่านคำฟ้องของขุนช้างแล้วก็ทรงกริ้วหนัก ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง ขุนแผน และจมื่นไวยมาเข้าเฝ้าทันที

 

 

ขุนแผนเกรงว่านางวันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตาแล้วจึงพาไปเข้าเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ใจอ่อน ตรัสถามเรื่องราวจากนางและเห็นว่าสาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้เกิดจากนางวันทองจึงให้นางตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร นางวันทองประหม่า พูดไม่ออก ไม่รู้จะอยู่กับใคร เพราะนางเองก็รักขุนแผนกับลูกชาย แต่ขุนช้างก็ดีกับนาง ท่าทีของนางทำพระพันวษากริ้วมาก เพราะเห็นว่านางวันทองเป็นหญิงแพศยา หลายใจ จึงสั่งให้ประหารชีวิตนางวันทอง

 

 

ขุนช้างถวายฎีกาเป็นอีกตอนหนึ่งจากตอนทั้งหมดของเสภาขุนช้างขุนแผนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและยอดเยี่ยมที่สุด จากที่ได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องราวอย่างย่อของตอนนี้กันไปแล้ว ในบทเรียนครั้งต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้รู้ถึงตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่ได้จากวรรณคดีเรื่องนี้กันด้วย แต่ก่อนจะไป น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนด้วยการชมคลิปการสอนสนุก ๆ จากครูอุ้มนะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_Articles E5

Articles: a/an/the

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง  Articles: a/an/the พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน เรื่อง Articles นี้ที่มีหน้าที่หลักคือ ใช้นำหน้าคำนาม เราต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับเรื่องนามนับได้ ( Countable Nouns )

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง “ระบบจำนวนจริง” เป็นรากฐานสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยจำนวนต่างๆ ได้แก่ จำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ จำนวนเต็ม จำนวนนับ โครงสร้าง ระบบจำนวนจริง มนุษย์เรามีความคิดเรื่องจำนวนและระบบการนับมาตั้งแต่โบราณ และจำนวนที่มนุษย์เรารู้จักเป็นอย่างแรกก็คือ จำนวนนับ การศึกษาระบบของจำนวนจึงใช้พื้นฐานของจำนวนนับในการสร้างจำนวนอื่นขึ้นมา จนกลายมาเป็นจำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน (เนื้อหาม.5) ดังนั้น ถ้าน้องๆเข้าใจจำนวนนับแล้วน้องๆก็จะสามารถศึกษาระบบจำนวนอื่นๆได้ง่ายขึ้น   โครงสร้าง     จำนวนจริง จำนวนจริงคือจำนวนที่ประกอบไปด้วย

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1