เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !

 

ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคซับซ้อน เป็นการนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ความรวม และความซ้อนมาขยายความให้มีความชัดเจน โดยการวางคำขยายนั้น จะอยู่ด้านหลังข้อความที่ต้องการขยาย แต่จะต้องไม่เรียงคำขยายเพื่อไม่ให้เกิดความกำกวมมากเกินไปเพราะอาจทำให้ใจความของประโยคมีความคลาดเคลื่อนได้ เพื่อที่จะสื่อได้ชัดเจนและถูกต้องถึงต้องให้คำยายอยู่ใกล้คำที่จะขยาย เพราะหากวางคำขยายผิด ประโยคก็จะเปลี่ยนไปทันที มาดูกันค่ะว่าประโยคแต่ละชนิดเมื่อกลายเป็นประโยคซับซ้อนแล้วจะมีวิธีสังเกตอย่างไร

 

ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคความเดียวซับซ้อน

 

ประโยคความเดียวซับซ้อน คือประโยคความเดียวที่มีส่วนขยายทั้งบทประธาน บทกริยา หรือบทกรรมเพียงบทใดบทหนึ่ง หรือหลายบทเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น

 

-ซับซ้อนที่ภาคประธาน

ส่วนขยายเป็นกลุ่มคำที่มีคำบุพบทนำหน้า ประธานเป็นกลุ่มคำที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้าหรือมีส่วนขยายเป็นคำหรือกลุ่มคำปะปนกัน

 

ประโยคซับซ้อน

 

-ซับซ้อนที่ภาคแสดง

มีกริยาหรือตัวแสดงเป็นกลุ่มคำหลายคำ และมีอยู่หลายแห่งในประโยค

ตัวอย่าง เขาพยายามขับรถมาที่โรงเรียนอย่างไม่รีบร้อน

กลุ่มวัยรุ่นร้องเล่นเต้นรำไปตามจังหวะดนตรี

 

ประโยคความรวมที่ซับซ้อน

ประโยคความรวมที่ซับซ้อน คือประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวมากกว่าสองประโยค โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อมเนื้อความของประโยคความเดียวทั้ง 2 ประโยคและเนื้อความหรือใจความเป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน

 

– มีส่วนประกอบเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน

“ทุเรียนไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อยแต่ยังช่วยในการเผาผลาญได้อีกด้วย”

ประโยคนี้เป็นประโยคความเดียว 2 ประโยคที่มีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม

ประโยคที่ 1 ทุเรียนไม่ใช่แค่มีรสชาติอร่อย

ประโยคที่ 2 ทุเรียนยังช่วยในการเผาผลาญได้อีกด้วย

 

– มีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม

“ฉันชอบกินข้าว แต่เขาชอบกินก๋วยเตี๋ยว ดังนั้นฉันจึงไปกินข้าวกับเพื่อน และเขาก็ไปกินคนเดียว”

ประโยคนี้เป็นประโยคความรวม 2 ประโยค โดยมีคำสันธานเชื่อมคือ ดังนั้น จึง

ประโยคที่ 1 ฉันชอบกินข้าว แต่เขาชอบกินก๋วยเตี๋ยว คำสันธานคือ แต่

ประโยคที่ 2 ฉันไปกินข้าวกับเพื่อน และเขาก็ไปกินคนเดียว คำสันธานคือ และ

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน

“ฉันตั้งใจจะไปบ้านแม่ที่จังหวัดชลบุรีในอำเภอศรีราชาแต่รถติดเพราะเป็นวันหยุดยาว”

ประโยคนี้เป็นประโยคความซ้อน 2 ประโยค โดยมีคำสันธานเชื่อมคือ แต่

ประโยคที่ 1 ฉันตั้งใจจะไปบ้านแม่ที่จังหวัดชลบุรีในอำเภอศรีราชา คำเชื่อมคือ ที่

ประโยคที่ 2 รถติดเพราะเป็นวันหยุดยาว คำเชื่อมคือ เพราะ

 

ประโยคความซ้อนซับซ้อน

 

ประโยคความซ้อนซับซ้อน คือประโยคความซ้อนซึ่งประกอบด้วยประโยคย่อยหรือมากกว่าหนึ่งประโยค

 

-ประโยคหลักหรือประโยคย่อยเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน

ประโยคซับซ้อน

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม

 

มีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน

 

 

สรุปเรื่อง ประโยคซับซ้อน

 

ประโยคซับซ้อน เป็นประโยคที่จะทำการสนทนาระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่งมีความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะในประโยคมีการเพิ่มส่วนขยายเข้าไป โดยมีวิธีสังเกตอย่างง่ายคือหาประโยคหลัก แล้วดูตำแหน่งของส่วนขยาย แต่สิ่งที่ต้องระวังคือหากวางส่วนขยายผิด ก็อาจจะทำให้ประโยคผิดเพี้ยนไป ซับซ้อนยิ่งขึ้น และยังทำให้ไม่เข้าใจอีกด้วย

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับบทเรียนหลักภาษาไทยในเรื่องประโยคซับซ้อนในวันนี้ จะเห็นได้ว่า ถึงในประโยคจะมีส่วนขยายเข้ามามากมาย แต่ถ้ารู้จักสังเกตเราก็จะแยกได้ไม่ยากเลยว่าประโยคไหนคืออะไร และใจความสำคัญคืออะไร และเพื่อให้ไม่ให้น้อง ๆ พลาดการทำโจทย์ข้อสอบ ก็อย่าลืมไปชมคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ ในคลิปครูอุ้มอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดมาก ๆ ถ้าได้ฟังแล้วรับรองว่าน้อง ๆ จะเข้าใจมากยิ่งขึ้น และทำข้อสอบได้ทุกข้อแน่นอนค่ะ ไปทบทวนบทเรียนพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries   Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

กระเช้าสีดา นิทานสอนใจที่สอดแทรกตำนานของพรรณไม้

น้อง ๆ รู้จัก กระเช้าสีดา กันไหมคะ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย และเป็นพรรณไม้ที่มีตำนานมาจากวรรณคดีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือเรื่อง รามเกียรติ์นั่นเองค่ะ แล้ววรรณคดีเรื่องกระเช้าสีดานี้จะมีความเป็นมาและเรื่องย่อที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กระเช้าสีดา     กระเช้าสีดาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมนิทานของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) แต่เมื่อพ.ศ. 2485 มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะนิสัย ความเป็นอยู่ของพวกภูต

รากที่ n ของจำนวนจริง

รากที่ n ของจำนวนจริง และจำนวนจริงในรูปกรณฑ์

รากที่ n ของจำนวนจริง รากที่ n ของจำนวนจริง คือจำนวนจริงตัวหนึ่งยกกำลัง n แล้วเท่ากับ x   เมื่อ n > 1 เราสามารถตรวจสอบรากที่ n ได้ง่ายๆ โดยนิยามดังนี้ นิยาม ให้  x, y เป็นจำนวนจริง และ n

Question Tag

การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย ความหมาย Question แปลว่า คำถาม ส่วนคำว่า Tag จะแปลว่า วลี ที่นำมาใช้ต่อท้ายประโยค เพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม ดังนั้น

วงรี

วงรี

วงรี วงรี จะประกอบไปด้วย 1) แกนเอกคือแกนที่ยาวที่สุด และแกนโทคือแกนที่สั้นกว่า 2) จุดยอด 3) จุดโฟกัส ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าแกนใดเป็นแกนเอก 4) ความเยื้องศูนย์กลาง (eccentricity) วงรี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด จากกราฟ สมการรูปแบบมาตรฐาน:    จุดยอด : (a, 0) และ (-a,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1