เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การสร้างคำประสม

 

คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

คำประสม

 

 

คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน เกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่

 

 

ลักษณะคำประสม

 

 

  • คำประสมในภาษาไทย มีลักษณะเหมือนคำสมาส แต่คำสมาสเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
  • การเรียงคำประสม จะเรียงโดยนำคำที่ความหมายหลักไว้ด้านหน้า และนำคำที่มีความหมายรองไว้ด้านหลัง เช่น วังหลวง ปากกา น้ำแข็ง
  • คำประสมเมื่อนำมาประกอบแล้วไม่สามารถแทรกคำอื่นเพิ่มเข้าไปได้เพราะจะทำให้ความหมายเปลี่ยน
  • คำประสมที่ประสมแล้วมีความหมายคล้ายกับคำเดิม เช่น พ่อตา แม่ยาย เสียใจ
  • คำประสมบางคำเมื่อผสมกันแล้วความหมายจะเป็นไปในเชิงเปรียบเทียบ เช่น อกหัก ใจหาย
  • คำมูลที่นำมาสร้างคำ สามารถนำมารวมกันได้ทั้ง  คำไทย + คำไทย, คำไทย + คำต่างประเทศ, คำต่างประเทศ + คำต่างประเทศ
  • คำที่นำมาผสมกันได้ทั้ง คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน เช่น นาม + นาม = กล้วยแขก หรือ นาม + กริยา = เรือขุด

การจำแนกคำประสม

 

 

การจำแนกคำประสม ถ้าแบ่งตามหน้าที่จะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. คำประสมประเภทนาม คำเป็นที่เป็นตัวตั้งจะเป็นคำนาม ใช้เป็นชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายจำกัด เมื่อพูดไปสามารถเข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร เช่น รถเร็ว เรือไฟ

2. คำประสมประเภทกริยา ใช้คำกริยาเป็นตัวตั้ง ความหมายมักเป็นไปในเชิงอุปมา เช่น กินใจ วางโต

3. คำประสมประเภทวิเศษณ์ คำที่เป็นตัวตั้ง เป็นคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เมื่อประสมแล้วอาจใช้ในความหมายเชิงอุปมาอุปไมยได้ เช่น ชั้นต่ำ หลายใจ คอแข็ง

 

 

ข้อแตกต่างของคำมูลและคำประสมสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลยก็คือ เมื่อแยกพยางค์ออกมาแล้ว ถ้าเป็นคำมูล คำที่แยกออกมาแต่ละพยางค์นั้นจะไม่มีความหมาย แต่ถ้าเป็นคำประสมเมื่อแยกออกมาแล้วยังมีความหมายอยู่ในคำนั้น ๆ

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ แต่นอกจากคำประสมแล้ว ในภาษาไทยก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับการสร้างคำอื่น ๆ อีก ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้นไว้รอติดตามกันในบทต่อไปนะคะ และสำหรับบทเรียนวันนี้ ถ้าน้อง ๆ ต้องการฟังคำอธิบายเพิ่มเติม เผื่อเตรียมตัวสอบ ก็สามารถไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

“อัตราส่วน คือ ปริมาณ อย่างหนึ่งที่แสดงถึง จำนวน หรือ ขนาด ตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีก ปริมาณ หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน ที่อาจมีได้ตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป”

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

ลิลิตตะเลงพ่าย

ถอดความหมายตัวบทเด่นใน ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเรื่องดังที่มีตัวบทเด่น ๆ มากมาย สำหรับการถอดคำประพันธ์ในวันนี้เราได้คัดเลือกบทเด่น ๆ มาให้น้อง ๆ ได้เรียนกันถึง 13 บทเลยทีเดียว แต่เพราะเนื้อหาที่สนุก ภาษาที่สละสลวย รับรองว่าน้อง ๆ จะไม่มีทางเบื่อวรรณคดีเรื่องนี้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนความหมายของแต่ละบทพร้อมกันเลยนะคะ ตัวบทเด่น ๆ ใน ลิลิตตะเลงพ่าย   บทที่ 1  

โจทย์ปัญหา ห.ร.ม. และค.ร.น.

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

บทความนี้เป็นเรื่องการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น ซึ่งโจทย์ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเลือกใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหา รวมไปถึงการแสดงวิธีทำอย่างละเอียด หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน ซึงเป็นเเรื่องย่อยของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1