เรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การคิดอย่างมีเหตุผลและอุปสรรค เป็นบทเรียนในเรื่องของความคิดและภาษาที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในครั้งนี้ การคิดอย่างมีเหตุผลมีทักษะการคิดอย่างไรและแตกต่างจากการคิดแบบอื่นไหม นอกจากนี้น้อง ๆ ยังจะเรียนรู้ในส่วนของอุปสรรคทางความคิดอีกด้วย อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะคะว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การคิดคืออะไร

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

การคิด คือ การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็ไม่สามารถที่จะทำในเรื่องต่างๆได้

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นหลักการคิดที่ใช้ข้อมูลและภาพรวมมาดำเนินการคิด หลีกเลี่ยงการตัดสินใจด้วยความรู้สึกเพียงอย่างเดียว

 

การคิดอย่างมีเหตุผล

 

ภาษามีความสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับการใช้ความคิด

 

บทบาทของภาษาในการพัฒนาการคิด

มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน

การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะการที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบันตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร

 

การใช้ภาษาอย่างมีเหตุผล

 

โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย ตัวเหตุผล หรือ ข้อสรุป ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผลมีด้วยกัน 3 ลักษณะ ดังนี้

 

 

1.ใช้คำสันธาน ในกรณีที่เรียงเหตุผลไว้ก่อนการสรุปจะต้องมีคำสันธาน เพราะ เพราะฉะนั้น เพราะ..จึง เพราะว่า นำหน้าเหตุผล

ตัวอย่าง ฉันกินข้าว เพราะฉันหิว คำว่าเพราะเป็นคำสันธานที่นำหน้าเหตุผล

2.ใช้กลุ่มคำเรียงกัน ระบุว่าตรงไหนเป็นเหตุผลหรือข้อสรุปโดยการใช้กลุ่มคำบอกตรง ๆ ว่า ข้อสรุปคือ เหตุผลคือ เหตุผลที่สำคัญคือ เป็นต้น

ตัวอย่าง ที่เด็ก ๆ ทุกคนมารวมตัวอ่านหนังสือกันในวันนี้มีเหตุผลสำคัญคืออีกไม่นานจะถึงวันสอบปลายภาคแล้ว

3.ใช้เหตุผลหลายข้อประกอบกัน เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อสรุปโดยใช้เหตุผลหลาย ๆ อย่างมาประกอบกันเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

ตัวอย่าง ฉันไม่ชอบอยู่บ้านไม้ มันมักมีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าดเวลาเดิน สร้างความรำคาญ ไหนจะพบปัญหาเรื่องปลวก แมลงกัดกินไม้ต่างๆอีก

 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสันธาน

ในบางกรณีถึงไม่ใช้คำสันธานก็ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นเหตุผล เช่น ฉันจะลดน้ำหนักแล้ว ช่วงนี้ฉันอ้วนขึ้น  ตัวอย่างประโยคนี้จะเห็นได้ว่าด้านหน้าของเหตุผลไม่มีคำสันธานอยู่แต่เป็นประโยคที่ปกติแล้วผู้ฟังจะสามารถเข้าใจได้ว่าผู้พูดต้องการจะลดน้ำหนักเพราะรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้น ซึ่งการเลือกละหรือไม่ละคำสันธานนั้นขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการกระทำและเหตุผลหรือการใช้เหตุผลหลาย ๆ อย่างมารวมกัน แต่จะไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ประโยคมีความคลุมเครือ

 

อุปสรรคของความคิด

 

 

1.อคติ มาจากภาษาบาลี อะ หมายถึง ผิด, ไม่, ไม่ถูกต้อง, ไม่ดีงาม, ไม่สมควร คติ หมายถึง วิถี, แนวทาง, สิ่งที่เป็นไป, การดำเนินไป, ความเป็นไป, การตอบสนอง, การแสดงออก เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์ไม่ใช้ความคิดมนุษย์ทุกคนย่อมมีความคิดต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกันจนในบางครั้งก็อาจเอนเอียงให้ความคิดที่ตัวเองเชื่อมั่นโดยไม่สนข้อเท็จจริง

2.ความเร่งรัด การถูกจำกัดเวลา ประสิทธิภาพทางความคิดจะน้อยลงเพราะไม่สามารถใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่

3.ความบกพร่องของสุขภาพทางกายและจิต เมื่อสุขภาพกายและจิตไม่พร้อม ทำให้ไม่สามารถคิดอะไรได้เต็มที่

4.ความเหนื่อยล้าและความซ้ำซากจำเจ เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า สมองจะไม่สามารถคิดอะไรอย่างเป็นเหตุผลได้เพราะความอ่อนเพลีย อีกทั้งการทำอะไรซ้ำซากจำเจเป็นอย่างเป็นประจำจะทำให้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ถดถอยลง

5.สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เมื่อถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ อาจทำให้ไม่มีสมาธิมากพอที่จะจดจ่อและใช้ความคิด

6.การขาดความรู้ ความไม่เข้าใจในเรื่องที่คิด จะทำให้ไม่สามารถคิดอะไรออกมาได้ วิธีแก้คือต้องหมั่นหาความรู้เพื่อให้ความคิดเป็นไปอย่างราบรื่น

 

เป็นอย่างไรบ้างคะบทเรียนภาษาไทยในวันนี้ คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคนเข้าใจถึงกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและได้รู้อุปสรรคทางความคิดไปแล้ว ถ้าพบว่าข้อไหนตรงกับตัวเองก็พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคระหว่างที่กำลังใช้ความคิดกันด้วยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถรับชมคลิปของครูอุ้มได้เพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของการคิดอย่างมีเหตุผลและการคิดอย่างสมเหตุสมผลให้เข้าใจมากขึ้น รับรองว่าทั้งสนุกและยังได้ความรู้อีกด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

E6 This, That, These, Those

This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง This, That, These, Those กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   เข้าสู่บทเรียน   ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ This,

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด เป็นเรื่องที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสิ่งที่น้องๆจะได้หลังจากอ่านบทความนี้คือ น้องๆจะสามารถทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของเซตจำกัดได้ และอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

สัจนิรันดร์

ในบทความจะเขียนเกี่ยวกับวิธีการพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ ซึ่งจะเน้นให้น้องๆเข้าใจหลักการของการพิสูจน์ สิ่งที่น้องจะได้จากบทความนี้คือ น้องจะสามารถพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ได้และหากน้องๆขยันทำโจทย์บ่อยๆจะทำให้น้องวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับสัจนิรันดร์ได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1