เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธา

 

ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า ความรักเป็นเหมือนโรคร้ายที่มีฤทธิ์ทำให้หลงมัวเมาเหมือนคนตาบอด มองไม่เห็นและไม่รับรู้ถึงอุปสรรคที่เกิดจากความรัก ความรักเหมือนโคหนุ่มคึกคะนอง ต่อให้ขังไว้ก็ไม่ยอมอยู่ในคอก และถึงจะผูกไว้ โคนั้นก็จะพยายามใช้กำลังดึงเชือกที่ผูกไว้ให้หลุดออกจนได้ ยิ่งห้ามปรามเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เสียสติและอาละวาดจนทำให้บาดเจ็บ ตัวบทนี้โดดเด่นในเรื่อของการพูดถึงโทษของความรักของหนุ่มสาวโดยใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบที่คมคาย

 

มัทนะพาธา

 

ถอดความ เป็นตอนที่สุเทษณ์กำลังจะสาปนางมัทนาให้ลงไปเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมตามที่นางขอ มายาวินก็เลยแนะนำดอกไม้ชื่อดอกกุพชกะหรือก็คือดอกกุหลาบ มีสีแดงเหมือนแก้มผู้หญิงยามอาย มีดอกขนาดใหญ่ และมีเกสร อยู่คงทน มีกลิ่นหอมส่งไปไกล อีกทั้งมีหนามราวกับเข็มประดับไว้ ผึ้งบินอยู่ขวักไขว่ ไม่ยอมห่าง มีกลิ่นหอม รับประทานอร่อย มีรสหวานเป็นเลิศ กินแล้วระงับความเครียด ความโกรธ ทำให้รู้สึกดีขึ้น ช่วยขับเสมหะ อีกทั้งยังเจริญกามคุณ ช่วยให้ร่างกายเย็นลงทำให้หายป่วย และช่วยขับพยาธิ ทั้งหมดนี้เป็นการบรรยายสรรพคุณของดอกกุหลาบ

 

คำศัพท์น่ารู้ใน มัทนะพาธา

 

 

คุณค่าในมัทนะพาธา

 

 

มัทนะพาธาเป็นวรรณคดีที่มีความโดดเด่นในด้านการประพันธ์ เพราะมีการใช้คำประพันธ์ที่หลากหลายตามเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านได้ซึมซับความรู้ของตัวละครได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวที่แต่งได้ยาก เพราะนอกจากจะต้องสร้างตัวละครให้มีลักษณะนิสัยที่เด่นชัดแล้ว ยังต้องดำเนินเรื่องให้เห็นความขัดแย้ง จนถึงตอนคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ โดยยังคงแก่นของเรื่องที่พูดเรื่องโทษของความรักเอาไว้อย่างดีเยี่ยม มีการใช้ภาษาที่หลากหลาย ทำให้ผู้อ่านได้ข้อคิดสอนใจเกี่ยวกับเรื่องความรักและยังได้เพลิดเพลินไปกับภาษาที่สวยงามอีกด้วย

 

เรียกได้ว่ามัทนะพาธาเป็นผลงานพระราชนิพนธ์เรื่องเอกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกเรื่องหนึ่ง ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูดที่แปลและแต่งได้ยาก ทำให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างมาก และเพราะเหตุนี้ทำให้เราได้อ่านวรรณคดีที่ดีเยี่ยมทั้งในแง่ของข้อคิดสอนใจและภาษาที่สวยงาม นับว่าทรงคุณค่าอย่างมากเลยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครูอุ้มใน YouTube ให้เข้าใจมากขึ้นได้นะคะ เพราะครูอุ้มได้อธิบายเกี่ยวกับตัวบทเพิ่มเติมไว้ด้วย เป็นบทพูดของนางมัทนากับสุเทษณ์ รวมถึงสรุปความรู้อีกครั้งเพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดอย่างง่ายได้อีกด้วยค่ะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Imperative for Advice

Imperative for Advice: การให้คำแนะนำ

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องง่ายๆ อย่าง Imperative for Advice กัน จะง่ายขนาดไหนเราลองไปดูกันเลยครับ

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

คำสุภาพและคำผวน

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

ทศนิยมกับการวัด

ความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด

บทความนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด ที่จะทำให้น้อง ๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาณการณ์ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน จะทำให้เข้าใจหลักการและสามารถบอกค่าของการวัดที่เป็นทศนิยมได้ถูกต้อง

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1