เทคนิคการเขียนเรียงความง่าย ๆ ที่จะช่วยถ่ายทอดความคิดให้เป็นขั้นตอน

การเขียนเรียงความ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่มีสำคัญมาก เพราะเป็นการถ่ายทอดความคิดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษร จะมีวิธีเขียนอย่างไรบ้างนั้น บทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการเขียนเรียงมากขึ้น จะเป็นอย่างไรนั้น ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายและความสำคัญของการเขียนเรียงความ

 

เรียงความ เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจของผู้เขียน มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรให้น่าอ่าน และยังเป็นพื้นฐานของการเขียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายอีกด้วย โดยประเภทของการเขียนเรียงความมีดังนี้

1. เรื่องที่เขียนเพื่อความรู้

2. เรื่องที่เขียนเพื่อความเข้าใจ

3. เรื่องที่เพื่อโน้มน้าวใจ

 

การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบของ การเขียนเรียงความ

 

องค์ประกอบเรียงความ

 

1. ส่วนนำ เป็นส่วนหนึ่งของเรียงความที่เป็นการเปิดประเด็นเข้าสู่เนื้อเรื่อง ตรงส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ว่าผู้เขียนนั้นจะเขียนเรื่องอะไร โดยเนื้อหาที่ใช้ในการเขียนเปิดต้องมีความน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากจะอ่านต่อไป แต่ไม่ควรเปิดเผยเนื้อหาทั้งหมด

 

2. เนื้อหา ส่วนสำคัญที่สุดของเรียงความ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเสนอความรู้ความคิดความเข้าใจทรรศนะหรือความรู้สึกของผู้เขียน

ขั้นตอนการเรียบเรียงเนื้อหา

  • วางแผนลำดับขั้นตอนและโครงเรื่องที่จะเขียนว่ามีแนวทางอย่างไร
  • เขียนเนื้อหาตามโครงเรื่องที่วางไว้
  • แต่ละย่อหน้าต้องมีใจความสำคัญ
  • ไม่เขียนออกนอกเรื่อง

 

การวางโครงเรื่อง

 

การเขียนเรียงความ ไม่ควรมีแค่ย่อหน้าเดียว นอกจากนี้การใช้ภาษาในการเขียนยังเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า น้อง ๆ จะต้องพิถีพิถันในการเลือกคำมาเขียนให้ลื่นไหลและต้องเป็นภาษาแบบทางการ ถูกต้องตามหลักการเขียน

3. สรุป ส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนเรียงความ เพราะจะเป็นการนำสิ่งที่เขียนไปทั้งหมดมาสรุปอีกทีหนึ่ง เนื้อหาที่สรุปออกมานั้นต้องเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้งานเขียนดียิ่งขึ้น ไม่จบแบบห้วน ๆ อย่างไร้ข้อสรุป

การตั้งชื่อเรียงความ

  • กระชับ น่าสนใจ การตั้งชื่อเรียงความไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะทำให้อ่านยาก คนไม่จำ อีกทั้งชื่อเรื่องที่ยาวเกินไป อาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนว่าประเด็นของเรียงความคืออะไรกันแน่
  • ตรงประเด็นกับเนื้อหา เมื่อเขียนถึงเรื่องอะไรก็ควรจะตั้งชื่อเรื่องให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน ผู้อ่าน อ่านแล้วรู้ว่าเขียนเรื่องอะไร
  • ชื่อเรื่องต้องน่าสนใจ ทำให้อยากอ่าน การตั้งชื่ออย่างเหมาะสม มีความน่าสนใจ ไม่สั้นและไม่ยาวเกินไป เพราะอาจจะทำให้ไม่น่าดึงดูด ผู้อ่านไม่อยากอ่าน

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของเรียงความที่ดี

 

ลักษณะของการเขียนเรียงความที่ดีนั้น จะต้องมีประมวลข้อคิดที่สำคัญ ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการเขียน โดยที่ต้องแบ่งสัดส่วนการเล่าเรื่องให้เหมาะสม เป็นลำดับขั้นตอนตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ และที่สำคัญคือการใช้ภาษา ที่จะต้องใช้ให้ถูกหลักภาษา ใช้คำเป็นทางการ ตรวจทานคำผิดเพื่อนให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างลื่นไหล และสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามจุดประสงค์ของผู้เขียน

 

การเขียนเรียงความนั้นถึงจะมีหลายขั้นตอน เพราะการจะเขียนเรียงความต้องสามารถฟัง พูด คิด และจับใจความเพื่อให้เขียนออกมาได้ดี อีกทั้งผู้เขียนยังต้องรู้จักศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ด้วย แต่ก็ไม่มีอะไรยากเกินความตั้งใจของเราหรอกค่ะ ถ้าน้อง ๆ หมั่นฝึกเขียนเรียงความบ่อย ๆ ตามเทคนิคการเขียนที่ได้เรียนไปก็จะสามารถเขียนได้อย่างลื่นไหลเอง สุดท้ายนี้อย่าลืมชมคลิปของครูระหว่างฝึกนะคะ จะได้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น ไปชมเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ การบวกเมทริกซ์ เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เช่น 1.)  2.)    การลบเมทริกซ์ การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Let’s go! การแบ่งประเภท     ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้  

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย   ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1