อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ความเป็นมาของ

 

อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า อิด-สะ-ระ-ยาน-พา-สิด) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ โดยมาจากชื่อผู้แต่ง คือ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (มหากุล) รวมกับ ภาษิต ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมา ดังนั้น คำว่า ‘อิศรญาณภาษิต’ เลยหมายถึงถ้อยคำของหม่อมเจ้าอิศรญาณที่บอกเล่าสืบต่อกันมา จุดเริ่มต้นของวรรณคดีเรื่องนี้มาจากการที่ผู้แต่งน้อยใจที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสบริภาษว่าเป็นบ้า และคนอื่น ๆ ก็พากันเห็นด้วยว่าพระองค์เป็นผู้มีพระจริตที่ไม่ปกติ ทำให้แต่งกลอนเพลงยาวนี้ขึ้นมา ดังนั้นเนื้อหาในเรื่องจึงเต็มไปด้วยการเหน็บแนมประชดประชันและเสียดสีสังคม

 

อิศรญาณภาษิต

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

กลอนเพลงยาว กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรักหรือเล่าสู่กันฟัง ขึ้นต้นด้วยวรรรับหรือวรรคที่สองของบท

 

อิศรญาณภาษิต

 

กลอนเพลงยาวในระยะแรกไม่เคร่งครัดในเรื่องฉันทลักษณ์ที่เป็นแบบแผนตายตัว จำนวนคำในแต่ละวรรคมีได้ตั้งแต่ 6-15 คำ การส่งสัมผัสมีลักษณะไม่คงที่

 

ตัวบทที่สำคัญ

 

อิศรญาณภาษิต

 

ถอดความ สอนเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างหญิงกับชาย ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยยกสำนวนโบราณมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นข้าวสารที่ผ่านการขัดสีพร้อมที่จะนำไปหุงอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาปลูกใหม่ได้อีก แต่ผู้ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือกที่สามารถนำไปเพาะปลูกและเจริญงอกงามใหม่ได้เรื่อย ๆ

 

 

ถอดความ การที่ไม่ยศถาบรรดาศักดิ์ จะไปเถียงกับใครก็เถียงได้ยาก เพราะไม่มีใครเชื่อ พูดไปไม่มีใครฟัง และนอกจากนี้ยังมีสำนวนไทย ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย หมายถึง คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทำความเสียหายได้

 

 

ถอดความ เสาหินใหญ่ เมื่อถูกผลักเข้าบ่อย ๆ ก็อาจทำให้สั่นคลอนได้ เปรียบเหมือนใจคนที่ถ้าหากฟังคำยุมาก ๆ เข้าก็อาจทำให้ใจหวั่นไหว จึงควรฟังหูไว้หู ไม่เชื่อใครง่าย ๆ

 

 

ถอดความ การจะสร้างอะไรก็ตาม ไม่ควรสร้างให้สูงเกินกว่ากว่าที่ฐานจะรับน้ำหนักไหว มิเช่นนั้นอาจจะทำให้สิ่งที่สร้างมาล้มลง และยังสอนให้รู้จักศึกษาหาความรู้แต่ให้เก็บความรู้นั้นไว้ใช้เมื่อเกิดปัญหา ไม่เอาความรู้ไปโอ้อวด

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและตัวบทในเรื่องอิศรญาณภาษิต กันไปแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้แม้แรกเริ่มจะมีจุดประสงค์มาจากการแต่งเพื่อประชดประชันและเสียดสีสังคม แต่ก็ถือว่าเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง เพราะได้สอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้มากมาย โดยน้อง ๆ สามารถไปฟังคำอธิบายของตัวบทเด่น ๆ ในเรื่องเพิ่มเติมได้ในคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามบทเรียนต่อไปเพื่อศึกษาคุณค่าในวรรณคดีเรื่องนี้กันนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

กลอนสุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกันดีเพราะพบเจอในวรรณคดีได้ง่าย ใช้กันอย่างแผ่หลาย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสวมบทนักกวี ฝึกแต่งกลอนสุภาพกันอย่างง่าย ๆ จะมีวิธีและรูปฉันทลักษณ์อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ   ความรู้ทั่วไปเที่ยวกับกลอนสุภาพ   กลอนสุภาพ หมายถึง กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียก กลอนแปด กลอนตลาด กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่งที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว,

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด เป็นเรื่องที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสิ่งที่น้องๆจะได้หลังจากอ่านบทความนี้คือ น้องๆจะสามารถทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของเซตจำกัดได้ และอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1