บทนำ
สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน
ภาษาเขียน คืออะไร?
ภาษาเขียนเป็นอีกหนึ่งช่องทาง หรือเป็นอีกทักษะที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร จากกระบวนการคิดไปสู่การเรียบเรียงออกมาเป็นตัวอักษร โดยภาษาเขียนนั้นเป็นภาษาที่มีหลักการใช้ที่ค่อนข้างเคร่งครัดขึ้นมาจากภาษาพูด หรือที่เรียกว่า ภาษาแบบแผน ด้วยความที่มีการแบ่งระดับของภาษาจึงมีผลต่อการใช้ภาษาในงานเขียนรูปแบบต่าง ๆ ด้วย เช่น ภาษาเขียนแบบทางการ กึ่งทางการ หรือแม้แต่ภาษาเขียนในบทกลอน และยังต้องมีการเลือกสรรคำศัพท์ที่จะใช้ในภาษาเขียนให้เหมาะสมกับบุคคลที่เรากำลังเขียนถึงด้วย
ลักษณะของภาษาเขียน
ต้องใช้คำมาตรฐาน หรือใช้ตามแบบแผน
ลักษณะสำคัญในภาษาเขียนคือการเลือกใช้คำตามแบบแผน หรือเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล เพื่อให้ดูสุภาพ และเป็นทางการที่สุด เราควรจะจดจำคำบางคำที่จำเป็นต้องใช้ในภาษาเขียน เช่น คำกริยาบางหมวดหมู่ คำสรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล
หรือคำศัพท์เฉพาะบางคำ ยกตัวอย่างเช่น
ภาษาเขียนจะออกเสียงตามหลักการสะกด
ลักษณะข้อต่อมาของภาษาเขียนที่เราจะสังเกตได้ง่าย ๆ ก็คือ คำในภาษาเขียนจะออกเสียงตามหลักการสะกดคำ ซึ่งมันจะส่งผลต่อการเขียน หรือสะกดคำที่ถูกต้องด้วย โดยเราอาจจะเห็นได้กับบางประโยคในภาษาพูดที่มักจะออกเสียงไม่ชัด ยกตัวอย่างเช่น
ภาษาเขียนไม่สามารถสื่ออารมณ์ได้เหมือนภาษาพูด
ในภาษาพูดเวลาที่เราต้องการแสดงออกถึงความรู้สึก เราจะใช้วิธีการปรับโทนเสียงขึ้น – ลง เพื่อแสดงถึงความรู้สึกโกรธ ดีใจ ตื่นเต้นได้ผ่านน้ำเสียงในภาษาพูด แต่ภาษาเขียนเราไม่สามารถสื่อความรู้สึกเหล่านี้ให้กับผู้อ่านผ่านตัวอักษรที่เราเขียนได้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีภาษาวัยรุ่น หรือภาษาที่พิมพ์กันในห้องแชตที่สามารถบอกอารมณ์ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ถูกจัดอยู่ในภาษาเขียนตามมาตรฐาน หรือแบบแผน
ภาษาเขียนไม่ต้องใส่คำลงท้าย
คำลงท้าย หมายถึง คำที่ใช้พูดลงท้ายประโยคเพื่อแสดงความสุภาพ โดยจะมีทั้งคำที่ใช้ในเพศชาย และเพศหญิง เช่น สวัสดีค่ะ, สวัสดีครับ, ขอบคุณจ้า หรือคิดถึงนะ ซึ่งเมื่อเราใช้ภาษาเขียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำลงท้ายเหล่านี้เพราะถือเป็นภาษาพูด เพียงแค่เราเขียนให้ถูกหลัก ใช้คำให้ถูกต้องก็ถือเป็นการแสดงความสุภาพในการเขียนแล้ว
ภาษาเขียนไม่นิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อน
คำซ้ำ คือ คำที่ต้องใส่เครื่องหมายไม้ยมกเพื่อแสดงถึงการอ่านซ้ำ ๆ แต่ในภาษาเขียนเราไม่นิยมการใช้คำซ้ำ หรือใช้คำที่มีไม้ยมกเยอะ ๆ เช่น เร็วเข้า วิ่ง ๆ ๆ, นอน ๆ ๆ หรือเร็ว ๆ ๆ ซึ่งเป็นจะถือเป็นการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ในภาษาเขียนยังไม่ควรใช้คำซ้อน หรือคำสร้อยต่อท้ายเยอะ ๆ เช่น ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างมาก ๆ หรือบ้านหลังนี้ดูสวยงามอร่ามตาจริง ๆ ประโยคเหล่านี้เวลาที่เรานำไปเขียนก็จะดูฟุ่มเฟือยเกินไป
บทส่งท้าย
เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากได้เรียนรู้หลักการใช้ภาษาเขียน หรือลักษณะของภาษาเขียนที่จะช่วยให้เรามีทักษะการเขียนที่แข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังนำไปฝึกฝนกับการเขียนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ด้วย น้อง ๆ ต้องไม่ลืมว่าภาษาเขียนนั้นสามารถนำไปพัฒนาเป็นงานเขียน หรืออาชีพในอนาคตได้ด้วย ยิ่งใครที่ชื่นชอบอาชีพนักเขียนแล้ว ความรู้เบื้องต้นของภาษาเขียนเหล่านี้เราก็ต้องจดจำให้ได้ด้วย ถ้าใครอยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษาเขียนอย่างละเอียดแนะนำว่าให้ไปดูวีดีโอการสอนจากครูอุ้มด้านล่างนี้ได้เลย