สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

 

ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย

 

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กล่าวถึง โดยมีชั้นเชิงของถ้อยคำ ชวนให้คิดหรือตีความ จึงถือว่าเป็นภาษาที่มีความลึกซึ้งซับซ้อน การใช้ถ้อยคำใช้ถ้อยคำในสำนวนไทย มักใช้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสคล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร เกิดความไพเราะน่าฟัง ทั้งสัมผัสภายในวรรค และระหว่างวรรค จดจำได้ง่าย

 

ลักษณะของสำนวนไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้

 

สำนวน

 

  1. มีความหมายเพื่อให้ตีความ มีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว เช่น เกลือเป็นหนอน หรือ กินปูนร้องท้อง เป็นต้น
  2. ลักษณะเป็นคำคมหรือคำกล่าว เช่น ตีหน้าตาย หน้าซื่อใจคด เป็นต้น
  3. ลักษณะเป็นคำอุปมา เช่น ขมเหมือนบอระเพ็ด ใจดำเหมือนอีกา เป็นต้น
  4. ลักษณะเป็นโวหาร มีเสียงสัมผัสกันหรือบางทีก็ย้ำคำ เช่น ข้าวแดงแกงร้อน ขุ่นข้องหมองใจ กินจุบกินจิบ เป็นต้น

 

ตัวอย่างสำนวน

 

สำนวน

 

ที่มาของสำนวน : 

ยกเมฆ มาจากความเชื่อทางไสยศาสตร์ในการดูเมฆ ดูรูปลักษณะของเมฆเพื่อจะดูนิมิตดีร้ายในการกระทำกิจกรรมสำคัญ ๆ เช่น การยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปนารายณ์ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ แต่ถ้าฤกษ์ยกทัพเกิดความเป็นศูนย์ เมรุเผาศพ ทายว่า ถ้ายกทัพไปรบกับข้าศึกก็จะถูกข้าศึกตีแตกพ่าย แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ยกเมฆจึงกลายเป็นสำนวนเสียดสีคนธรรมดาทั่วไป

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน : 

อย่าไปยึดติดกับคำทำนายของหมอดูมากนักเลย หมอดูส่วนใหญ่ก็ยกเมฆกันทั้งนั้น

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากแกะ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสีขาว ส่วนแกะสีดำที่เป็นส่วนน้อย เมื่อนำไปขายจะขายไม่ได้ราคา จึงนำมาเรียกคนที่แตกต่างจากคนอื่น

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน : 

เพื่อน ๆ ไปอ่านหนังสือเตรียมสอบกันหมด ส่วนฉันมัวแต่ไปเที่ยว เป็นแกะดำอยู่คนเดียว

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากการสวมหน้ากากเพื่อปิดบังอำพรางใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อปิดบังอำพรางใบหน้าที่แท้จริง โดยส่วนใหญ่หน้ากากที่สวมใส่จะเป็นหน้ากากที่ใช้เฉพาะกิจ เช่น สวมในการแสดงละคร หรือ ลิเก หรือ เป็นหน้ากากที่ป้องกันใบหน้าไม่ให้เป็นอันตรายในการทำงานที่ใบหน้า หรือ ดวงตาอาจจะได้รับอุบัติภัยได้ หรือ เป็นหน้ากากป้องกันไอพิษ ฯลฯ การสวมหน้ากากต้องปกปิดใบหน้าที่แท้จริงทำให้ถูกยกมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ยอมแสดงด้านที่แท้จริงให้คนอื่นเห็นเหมือนคนที่ใส่หน้ากากอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

ที่นี่มีแต่เพื่อน ๆ คนกันเองทั้งนั้น ไม่ต้องใส่หน้ากากเข้าหากันก็ได้

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน: 

มาจากการชนไก่ ในอดีตก่อนที่จะเอาไก่ไปชน จะต้องเอาถุงคลุมไปจากบ้านเพื่อกันไก่ตื่น เมื่อถึงเวลาก็เปิดถุงปล่อยเข้าสังเวียนชนกันเลยโดยต่างฝ่ายไม่เคยเห็นไก่ก่อน จึงนำมาเปรียบเทียบกับการแต่งงานที่พ่อ-แม่จัดการหาคู่อย่างไรโดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่เคยเห็นกันมาก่อน

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

สมัยนี้คงไม่มีพ่อแม่ที่ไหนจับลูกคลุมถุงชนหรอก เธอสบายใจได้เลย

 

 

 

ที่มาของสำนวน :

เป็นการนำคำสองคำมารวมกันคำแรกคือ คอขาด มีความหมายชัดเจนในตัวเองว่าหมายถึงตาย ส่วนคำว่า บาดตาย เป็นคำสร้อยเติมมาให้ดูสละสลวยและเน้นถึงความตายมากขึ้น

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

นี่มันเรื่องคอขาดบาดตายนะ เธออย่าทำเป็นเล่นไป

 

 

 

ที่มาของสำนวน :

ขมิ้นกับปูนเมื่อผสม มันจะออกฤทธิ์ทางเคมีหักล้างกัน โดยขมิ้นจะออกฤทธิ์ลดความเป็นด่างของปูนขาวลง จึงถูกนำมาใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ไม่ถูกกัน

ตัวอย่างการนำไปใช้ :

แม่กับป้าเจอกันทีไรต้องมีเรื่องทุกที เหมือนขมิ้นกับปูน

 

จากตัวอย่างที่ยกมา น้อง ๆ จะเห็นเลยใช่ไหมคะว่าสำนวนไทยไม่เพียงแต่มีไว้เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการสื่อสารหรือเพื่อความสละสลวยทางภาษาเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยคติ ความเชื่อ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าทึ่งมากเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้สำนวนไทยจึงถือเป็นมรดกทางภาษาอย่างหนึ่งที่น่าสนใจควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ด้วยสำนวนที่มีมากมาย น้อง ๆ ทุกคนจะได้เรียนสำนวนไทยเพิ่มเติมกันอีกหลายสำนวนล่ะคะ ดังนั้นอย่าลืมหมั่นทบทวนเพื่อไม่ให้ลืมสำนวนที่เรียนผ่านไปแล้วโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้อธิบายความหมายของสำนวนไว้ ทั้งภาพ ทั้งการสอนที่สนุกของครู รับรองว่าจะทำให้น้อง ๆ ทุกคนจำสำนวนไทยและความหมายได้ไม่ลืมแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

ลำดับ

ลำดับ

ลำดับ ลำดับ ( Sequence ) คือ เซตของจำนวนหรือตัวเลขที่เรียงกันเป็นระเบียบและมีเงื่อนไข เช่น ลำดับของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ก็จะสามารถเขียนได้เป็น 1, 2, 3, 4, … โดยตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า พจน์ ( Term ) เซตของลำดับจะเขีบยแทนด้วย และเราจะเรียก ว่าพจน์ที่

Daily Conversation P6

บทสนทนาในชีวิตประจำวันที่ควรรู้

  สวัสดีค่ะนักเรียนป. 6 ที่รักทุกคน เมื่อก่อนการคุยกันผ่านออนไลน์ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าในปัจจุบันที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสถานการณ์ยุคโควิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเวลาที่เราออกไปไหนไม่ได้ บทสนทนาออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากแต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ วันนี้ครูจะพาไปดูบทสนทนาที่อัพเดทแล้วในปัจจุบันรวมทั้งประโยคและวลีที่เราเจอบ่อยในชีวิตประจำวันทั้งชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์กันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า      การเริ่มบทสนทนากับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย     Hi/ Hello/ Is that …? = สวัสดี ที่นั่น ..(เบอร์/ สถานที่)… ใช่ไหม

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

เปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

บทความนี้จะพาน้องๆ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ  เนื่องจากหลักการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเศษส่วนนี้จะนำไปต่อยอดกับเรื่องต่อไปเช่นเรื่องการบวกและการลบเศษส่วน หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือ หลักการเปรียบเทียบเศษส่วน วิธีเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายร่วมถึงเทคนิคที่จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเปรียบเทียบเศษส่วนได้เร็วยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1