สำนวนไทย เกี่ยวกับสัตว์น้ำ
สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ มีมากมายหลายสำนวน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่คะว่าทำไมสัตว์น้ำต่าง ๆ ถึงมาอยู่ในสำนวนไทยได้ และสำนวนเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร ใช้ในโอกาสใดได้บ้าง วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงความหมายและที่มาของสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำกันค่ะ
ความหมายของสำนวน
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำ การพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กล่าวถึง โดยมีชั้นเชิงของถ้อยคำชวนให้คิดหรือตีความ ลักษณะของสำนวนมักเป็นถ้อยคำสั้น ๆ กะทัดรัด ถ้าเป็นคำที่แผ่หลาย ส่วนมากคนก็จะเข้าใจได้ทันที แต่ถ้าหากไม่ค่อยมีคนใช้ บางคนอาจไม่เข้าใจความหมาย ต้องคิดและตีความถึงจะใช้สำนวนนั้นได้อย่างถูกต้อง
ที่มาของสำนวนไทยเกี่ยวกับสัตว์น้ำ
สำนวนไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยสุโขทัยกันเลยทีเดียว โดยสำนวนที่ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมีมากมายหลายสำนวน ส่วนสำนวนที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำคือ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว หมายถึง บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ใช้สำนวนเปรียบเทียบให้เห็นว่าหากในน้ำมีปลาว่ายวนอยู่ก็แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ แต่นอกจากสัตว์น้ำอย่างปลาจะถูกใช้เป็นการเปรียบเทียบกับความอุดมสมบูรณ์แล้ว สัตว์น้ำในหลาย ๆ สำนวนก็ยังถูกใช้เปรียบเปรยกับเรื่องต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป เรามาดูตัวอย่างกันค่ะ ว่าในสำนวนไทยมีการเปรียบเปรยถึงสัตว์น้ำในลักษณะใดบ้าง
ตัวอย่างสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ
ที่มาของสำนวน การนำกุ้งฝอยซึ่งตัวเล็กและมีราคาถูกไปเป็นเหยื่อในการตกปลากะพงซึ่งเป็นปลามีราคาสูงกว่ากุ้งฝอยมาก จึงเปรียบได้กับคนขี้เหนียวที่ลงทุนเพียงน้อยนิดแต่กลับหวังผลตอบแทนที่มากกว่าหลายเท่า
ที่มาของสำนวน ไซ เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นไม้ไผ่ซี่ๆ ถักเป็นแผงยาวๆ กันทางน้ำไหล เว้นช่องเล็กๆ ไว้ให้ปลาเข้าไซ โดยให้ช่องนี้หันทวนน้ำเพื่อให้ กุ้ง ปู ปลา ว่ายน้ำเข้าไป การตีปลาหน้าไซอาจทำให้ปลาที่กำลังเข้ามาตกใจและหนีไป ทำให้การจับปลาล้มเหลว จึงนำมาเปรียบเปรยถึงสถานการณ์ที่กำลังเป็นไปด้วยดีแต่กลับถูกขัดขวาง
สำนวน ตีปลาหน้าไซ ปรากฏอยู่ในหนังสือมหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก
“เสมือนหนึ่งพรานเบ็ดมาตีปลาที่หน้าไซ บรรดาปลาจะเข้าไปให้แตกฉาน ตัวเราผู้ทำทานเหมือนตัวปลา พระโพธิญาณในภายหน้านั้นคือไซ ปรารถนาจะเข้าไปจึ่งยกพระลูกให้เป็นทานบารมี พระลูกทั้งสองศรีดั่งกระแสสินธุ์ พราหมณ์ประมาทหมิ่นมาด่าตีเสมือนกระทุ่มวารีให้ปลาตื่น น้ำพระทัยท้าวเธอถอยคืนจากอุเบกษาบังเกิดอวิชชามาห่อหุ้ม”
เป็นเหตุการณ์ตอนที่พระเวสสันดรยกพระกุมารให้ชูชกเป็นทานหวังให้สำเร็จพระโพธิญาณ แต่ชูชกกลับตีพระกุมารต่อหน้าพระเวสสันดรทำให้เกือบไม่ได้ทำทานบารมี
ที่มาของสำนวน เต่าเป็นสัตว์ที่อายุยืนยาว ในสำนวน ข้าเก่าเต่าเลี้ยงนี้ จึงเปรียบเปรยความอายุยืนยาวของเต่ากับคนรับใช้ที่อยู่ด้วยกันมานาน
สรุปความรู้ สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ
สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ มักสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม เช่น การยกสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมาเปรียบให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ในขณะเดียวกัน ก็มีหลายสำนวนที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของคน เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจ สำนวนที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ เป็นสำนวนง่าย ๆ ที่ไม่ต้องตีความซับซ้อน ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที เพราะเป็นสิ่งที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน
เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องสำนวนไทยแบบเจาะลึกลงไปอีกขั้น สำนวนไทยของเรานั้นมีมากมาย แต่ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ อย่างสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำนี้ก็เป็นสำนวนที่พบเจอได้ทั่วไป แถมที่มาของสำนวนก็ยังเป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัวเราอีกด้วย สุดท้ายนี้ น้อง ๆ สามารถไปรับชมและรับฟังคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับสำนวนที่ยกตัวอย่างมานี้ให้เข้าใจมากขึ้น นอกจากจะสนุกแล้วยังได้ความรู้อีกด้วยค่ะ แล้วมารอติดตามนะคะว่าสำนวนไทยเรื่องต่อไปที่เราจะนำมาศึกษากันว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ไปชมกันเลย