สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

 

ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง

 

สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง นายชิต บุรทัต จึงได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ โดยอาศัยเค้าคำแปลของเรื่องสามัคคีเภท มาแต่งเป็นคำฉันท์ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2457 ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ ของมหามกุฏราชวิทยาลัย มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของความสามัคคี การร่วมกันเป็นอันหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ

 

สามัคคีเภทคำฉันท์

 

ประวัติผู้แต่ง

 

 

นายชิต บุรทัต เป็นกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 มีสกุลเดิมว่า ชวางกูร ก่อนได้รับพระราชทานนามสกุลเป็น บุรทัต จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2450 มีผลงานด้านการประพันธ์มากมายทั้งสุภาษิต นิยายเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ลงในหนังสือรายเดือน รวมถึงไปบทละครต่าง ๆ ผลงานที่โดดเด่นคือได้เข้าร่วมในการแต่งฉันท์สมโภชพระมหาเศวตฉัตรในงานราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งขณะนั้นยังบรรพชาเป็นสามเณรและมีอายุเพียง 18 ปี ต่อมาเมื่ออายุ 22 ปี ก็ได้ส่งกาพย์ปลุกใจลงในหนังสือพิมพ์สมุทรสาร ใช้นามปากกาว่า เจ้าเงาะ เอกชนและแมวคราว

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

แต่งเป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ 18 ชนิด และกาพย์อีก 2 ชนิด สลับกันไปมา

รูป ฉันท์ 18 ชนิด กาพย์ 2 ชนิด

 

เรื่องย่อ สามัคคีเภทคำฉันท์

 

พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ทรงมีวัสสการ พราหมณ์ผู้ฉลาดหลักแหลมเป็นที่ปรึกษา มีพระประสงค์จะขยายอาณาจักรไปยังแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าแคว้นนี้ได้ถูกปกครองโดยยึดมั่นในอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) ดังนี้

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
  2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม (หลักการ) ตามที่วางไว้เดิม
  4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
  5. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ
  6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ) ของวัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
  7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ตั้งใจว่าขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก

อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมหรือยุแยงให้แตกสามัคคี ด้วยเหตุนั้น วัสสการพราหมณ์ปุโรหิตผู้เป็นที่ปรึกษาจึงอาสาเป็นไส้ศึกเพื่อทำให้แคว้นวัชชีแตกความสามัคคี โดยออกอุบายกราบทูลทัดทานการไปตีแคว้นวัชชีให้พระเจ้าอชาตศัตรูแกล้งกริ้ว สั่งให้ลงโทษววัสสการและขับไล่ออกจากเมือง เมื่อทางแคว้นวัชชีทราบเรื่องก็ให้วัสสการมาเข้าเฝ้าเพราะเห็นว่าเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถอย่างมาก จึงจะให้รับใช้ในราชสำนัก ทั้งพิจารณาคดีความและสั่งสอนพระโอรส วัสสการก็ได้ทำตามหน้าที่อย่างสุดความสามารถจนได้รับความไว้วางใจ หลังจากนั้นจึงได้เริ่มสร้างความแคลงใจให้แก่พระโอรส จนนำความไปกราบทูลพระบิดาต่างก็ทรงเชื่อถือพระโอรสของพระองค์ ทำให้เกิดความขุ่นเคืองกันทั่วในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี ความสามัคคีก็ถูกทำลายสิ้น

วัสสการพราหมณ์ทดสอบด้วยการตีกลองนัดประชุม ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์ลิจฉวีมาเข้าร่วมประชุมสักพระองค์ เมื่อมั่นใจว่าแผนการสำเร็จ จึงลอบส่งข่าวไปยังพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ยกทัพมาตีแคว้นวัชชี เมื่อกองทัพแคว้นมคธมาถึงเมืองเวสาลี ชาวเมืองตื่นตระหนก แต่เพราะความทิฐิ ทำให้ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดออกมาป้องกันเมือง วัสสการพราหมณ์จึงเปิดประตูเมืองให้กองทัพมคธเข้ามายึดได้อย่างง่ายดาย

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ น้อง ๆ คงจะคิดเหมือนกันว่าวรรณคดีเรื่องนี้ไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิงแต่ยังแทรกคติธรรมไว้อีกด้วย ไม่แปลกใจเลยใช่ไหมล่ะคะว่าทำไมคำฉันท์ขนาดสั้นที่มีความยาวเพียงแค่ 10 หน้ากระดาษเรื่องนี้ถึงได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยให้เราได้ศึกษากัน และเพื่อให้น้อง ๆ ได้รับความรู้เต็มอิ่มมากกว่าเดิม เรายังมีอีกบทเรียนซึ่งก็คือศึกษาตัวบทเด่น ๆ และคุณค่าที่อยู่ในเรื่องรออยู่ แต่ก่อนจะไปเรียนกัน น้อง ๆ อย่าลืมดูคลิปของครูอุ้มเพื่อทบทวนในสิ่งที่เรียนไปและหมั่นทำแบบฝึกหัดกันเยอะ ๆ ด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ     การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร

_ม2 Present Continuous Tense Profile

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และข้อสอบวัดความเข้าใจหลังเรียนแบบปังๆกันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย เริ่มกับการใช้ Present Continuous Tense   อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at the moment.

การใช้ Tenses : Present Simple Tense/ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู “การใช้ Tenses : Present simple/ Present Continuous” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย ทบทวน Present Simple Tense       ความหมาย: Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

Direct Object

Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1