ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ราชาธิราช

 

ประวัติความเป็นมา

 

 

ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ร่วมด้วยพระยาอินทรอัคคราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา แปลและเรียบเรียงเรื่องราวของพระเจ้าราชาธิราชซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารมอญให้เป็นภาษาไทยเมื่อปี พ.ศ.2328

 

ผู้เรียบเรียง

 

เจ้าพระยาพระคลังเป็นกวีเอกที่ได้รับการยกย่อง  มีผลงานกวีนิพนธ์มาตั้งแต่สมัยธนบุรี  แต่เรื่องที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักแพร่หลายนั้นแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1  เช่น  สามก๊ก  กากีคำกลอน  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก* กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี ฯลฯ

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

เป็นวรรณคดีร้อยแก้ว ใช้บรรยายโวหารในการเล่าเรื่อง การประพันธ์ร้อยแก้วของไทย ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์นิยมใช้ในงานเขียนประเภท ตำนาน พงศาวดาร การจดบันทึกเกี่ยวกับพระราชพิธี ตำราต่าง ๆ กฎหมาย เป็นต้น จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเพณีการเขียนร้อยแก้วก็เริ่มมีการสร้างโครงเรื่อง แก่นเรื่อง มีวิธีเล่าเรื่องแบบบันเทิงคดี

 

 

ตัวละครและเรื่องย่อ

ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 

ราชาธิราช

 

ตัวละคร

ราชาธิราช

เกร็ดน่ารู้ สมิงเป็นชื่อเรียกตำแหน่งขุนนางใหญ่ของมอญ สมองพระรามเป็นทหารเอกของพระเจ้าราชาธิราชแห่งกรุงหงสาวดี

 

เรื่องย่อ

พระเจ้ากรุงจีน มีทหารเอกชื่อกามะนี เป็นทหารฝีมือดีที่ยากจะใครเทียบ พระเจ้ากรุงจีนนึกอยากเห็นว่าจะมีใครที่พอจะมีฝีมือมาสู้กับกามะนีได้ จึงปรึกษากับเสนาบดี ได้ความว่าทหารที่พอจะมีฝีมือทัดเทียมกับกามะนีได้คือกรุงรัตนบุระอังวะกับกรุงหงสาวดี พระเจ้ากรุงจีนจึงยกทัพมาที่เมืองอังวะแล้วแต่งพระราชสาสน์ จัดเครื่องบรรณาการนำไปถวายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง โดยเนื้อความในพระราชสาส์นกล่าวว่าต้องการให้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องออกมาถวายบังคมและต้องการทหารขี่ม้ารำทวนมาสู้กัน โดยที่หากฝ่ายอังวะแพ้จะต้องยกเมืองให้ แต่หากฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนแพ้จะยกทัพกลับ เจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงประกาศหาคนที่จะมาสู้กับกามะนี แต่ก็ไม่มีผู้ใดอาสา ด้านสมิงพระรามที่รู้ข่าวก็มีความคิดว่าหากอังวะแพ้และเสียเมือง พระเจ้ากรุงจีนจะต้องยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีต่อแน่ สมิงพระรามที่ไม่กลัวทหารจีนจึงออกอาสาไปสู้กับกามะนี โดยไม่ได้หวังรับลาภยศ แต่ไม่อยากให้บ้านเมืองเดือดร้อน โดยสมิงพระรามทูลขอม้าฝีเท้าดี และได้เลือกม้าของหญิงม่ายคนหนึ่งมาฝึกหัดจนคล่องแคล่ว ก่อนจะทูลขอตะกรวยกับขอเหล็กมาผูกข้างม้า สำหรับใส่ศีรษะกามะนี

 

ราชาธิราช

 

เมื่อถึงวันท้าทวน สมิงพระรามเห็นว่า กามะนีมีความชำนาญด้านการรบเพลงทวนมาก อีกทั้งยังสวมหุ้มเกราะไว้แน่นหนา สมิงพระรามจึงออกอุบายว่าให้แต่ละฝ่ายแสดงท่ารำให้อีกฝ่ายรำตามก่อนที่จะต่อสู้กัน เพื่อหาช่องทางที่จะแทงทวนให้ถูกตัวกามะนีได้ เมื่อได้หลอกล่อให้กามะนีรำตามในท่าต่าง ๆ จึงเห็นช่องว่างใต้รักแร้กับบริเวณเกราะซ้อนท้ายหมวกที่เปิดออกได้ สมิงพระรามจึงหยุดรำให้ต่อสู้กันโดยทำทีว่าสู้ไม่ได้ เมื่อได้ทีก็สอดทวนแทงซอกใต้รักแร้ แล้วฟันย้อนกลับ ตัดศีรษะของกามะนีขาด ใส่ตะกรวยโดยไม่ให้ตกดิน แล้วนำมาถวายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง เมื่อฝ่ายจีนแพ้ พระเจ้ากรุงจีนก็สั่งให้ยกทัพกลับตามสัญญา พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพระราชทานตำแหน่งมหาอุปราชและพระราชธิดาให้แก่สมิงพระรามตามที่ได้รับสั่งไว้

 

ราชาธิราช

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับประวัติความเป็นมารวมถึงเรื่องย่อของราชาธิราชตอนสมิงพระรามอาสา น้อง ๆ พอจะเข้าใจเนื้อเรื่องหลัก ๆ ที่สำคัญของตอนนี้กันมากขึ้นไหมคะ ราชาธิราชเป็นวรรณคดีที่มีความยาวมาก ตอนสมิงพระรามอาสาเป็นอีกหนึ่งตอนที่มีความสำคัญ แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญและความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองแม้จะถูกจับเป็นเชลยอยู่ของสมิงพระราม สุดท้ายนี้ ถ้าหากน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมที่ทั้งสนุกและได้ความรู้ด้วยกันแล้วนั้น ก็ตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปจะมีการอธิบายที่สนุก ฟังเพลิน ๆ ระหว่างทำแบบฝึกหัดไปด้วยได้ แล้วมาเจอกันต่อในบทต่อไป เรื่องการศึกษาตัวบทเด่น ๆ ในราชาธิราชกันนะคะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

รากที่สอง

รากที่สอง

การหารากที่สองของจำนวนจริงทำได้หลายวิธี สำหรับวิธีการคำนวณ นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับในชั้นนี้ นักเรียนอาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

วงรี

วงรี

วงรี วงรี จะประกอบไปด้วย 1) แกนเอกคือแกนที่ยาวที่สุด และแกนโทคือแกนที่สั้นกว่า 2) จุดยอด 3) จุดโฟกัส ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าแกนใดเป็นแกนเอก 4) ความเยื้องศูนย์กลาง (eccentricity) วงรี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด จากกราฟ สมการรูปแบบมาตรฐาน:    จุดยอด : (a, 0) และ (-a,

สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1