ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี

 

ขัตติยพันธกรณี

 

ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) หรือที่เรียกว่าวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

เกิดจากความขัดแย้งเรื่องดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่พยายามจะยึดครองประเทศลาว ซึ่งในเวลานั้นเป็นประเทศราชของไทย สถานการณ์ได้เริ่มบานปลาย เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือปืนแองกงสตองและเรือโกเมต ข้ามสันดอนเข้ามายังไทย โดยมีเรือชองบาตีสต์เซ เป็นเรือนำร่องเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของสยาม และในขณะเดียวกันนั้น ทหารที่ประจำ ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทรที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ได้เกิดการปะทะกัน แต่ในที่สุดเรือปืนแองกงสตองและเรือโกเมต ก็สามารถฝ่ากระสุนเข้ามาทอดสมอจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้

รัฐสภาฝรั่งเศสได้ประชุมพิจารณาและลงมติมอบอำนาจให้รัฐบาลดำเนินการให้รัฐบาลสยามรับรองและเคารพสิทธิของฝรั่งเศส และรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งยื่นข้อเรียกร้องให้สยามดำเนินการดังนี้

 

ขัตติยพันธกรณี

 

จากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งจนประชวรหนัก
ไม่ยอมเสวยใด ๆ ระหว่างนั้นจึงได้พระราชนิพนธ์บทโคลงและฉันท์เป็นจดหมายระบายความทุกข์โทมนัสจนไม่ปรารถนาจะดำรงพระชนม์ชีพอีกต่อไป จากนั้นจึงส่งไปให้พี่น้องบางพระองค์เพื่ออำลา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอจึงทรงตอบกลับมาทำให้พระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าอยู่หัวนั้นดีขึ้น

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ขัตติยพันธกรณี

 

 

เนื้อหาของ ขัตติยพันธกรณี

 

พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5

โคลงสี่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรารภว่าพระองค์ประชวรมานานด้วยโรคฝีสามยอดและยังมีส่าไข้เป็นผื่นไปทั้งตัว เป็นที่หนักใจแก่ผู้รักษา แต่นอกจากจะป่วยกายแล้วยังป่วยใจอีกด้วยจึงมีพระราชดำริที่จะเสด็จสวรรคตเพื่อปลดเปลื้องภาระ แต่ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ ทรงเปรียบพันธกรณีที่มีต่อชาติบ้านเมืองในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ทำให้เหมือนถูกตอกตะปูและไปไหนไม่ได้ เพราะพระองค์จะต้องปกป้องบ้านเมืองและประชาชน

อินทรวิเชียรฉันท์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรยายความรู้สึกของพระองค์ที่เบื่อหน่าย หมดกำลังพระทัย และกังวลว่าจะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้เหมือนที่ในสมัยอยุธยาเคยเสียกรุงไปถึงสองครั้ง พระองค์ไม่ต้องการเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สามที่ทำให้ประเทศสูญเสียเอกราช

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงระบายไว้ในพระราชหัตถเลขาว่า กลัวเป็นทวิราช บ่ตริป้องอยุธยา เสียเมืองจึงนินทา บ่ละเว้นฤาว่างวาย

ทวิราช หมายถึง สองพระราชา นั้นหมายถึงพระเจ้าอุทุมพรและพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์สององค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา

 

 

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอบกลับ

อินทรวิเชียรฉันท์ 

โดยเนื้อหาที่ตอบกลับแสดงถึงความวิตกและความทุกข์ของประชาชนชาวไทยในพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมตัวพระองค์เองด้วย ทรงเปรียบประเทศชาติเป็นรัฐนาวาโดยมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเป็นผู้บัญชาการเรือ หากไม่ทรงปฏิบัติงาน ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาก็ย่อมทำตัวไม่ถูก และเป็นธรรมดาที่เมื่อเวลาเรือแล่นไปในมหาสมุทรจะเจอกับพายุหนักบ้าง ดังนั้นตราบใดที่เรือยังไม่จมก็ต้องหาทางออก ถ้าแก้จนสุดความสามารถแล้วแก้ไม่ได้ก็ยอมรับสภาพ และจะไม่มีใครกล่าวโทษพระองค์

นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ยังเปรียบตัวเองเป็นเหมือนม้าที่เป็นพระราชพาหนะเตรียมพร้อมที่จะรับใช้จนกว่าจะสิ้นชีพ สุดท้ายคืออวยพรขอให้อำนาจแห่งคำสัตย์ของพระองค์ดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรวงหายอาการประชวรทั้งพระวรกายและพระราชหฤทัย ให้พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพยืนนานเพื่อเกื้อกูลและสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติต่อไป

วรรณคดีเรื่องขัตติยพันธกรณีไม่ใช่เรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อความบันเทิง ไม่ได้มีตัวละครที่ถูกสมมติขึ้น รวมไปถึงความเจ็บปวดและความทุกข์ที่ปรากฏในเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกเสริมเติมแต่งขึ้นมา หากแต่เป็นความรู้สึกที่ออกมาจากใจจริงของพระมหากษัตริย์ผู้อยากปกป้องบ้านเมืองและตัวแทนของประชาชนทุกคนที่พร้อมเอาใจช่วยให้ประเทศฝ่าฟันวิกฤตไปให้ได้ หลังจากได้เรียนรู้ที่มาและความสำคัญกันไปแล้ว ในบทเรียนต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้พบกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจเพื่อศึกษาบทประพันธ์และถอดความ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องอีกด้วย แต่ก่อนจากกันน้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

Vtodo+Present Simple Tense

การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! V. to do คืออะไร   ปรกติแล้วคำว่า do นั้นแปลว่าทำ แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้ว V. to do

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้กริยา be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! รู้จักกับ V. to be   V. to be แปลว่า เป็น อยู่ คือ หลัง verb to

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

verb to do

Verb To Do ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Verb to do ที่ใช้ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ราชาศัพท์     การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1