ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ

 

ตัวบทที่ 1

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน แต่นางวันทองก็ได้เตือนสติลูกว่าการพาหนีไปทางนู้นทีทางนี้ทีจะทำให้เดือดร้อนแต่ถ้าลูกเห็นว่ามันดี จะไม่มีปัญหา นางก็จะยอมตามไป

 

ตัวบทที่ 2

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ เป็นตอนที่นางวันทองมาอยู่ที่บ้านแล้วขุนแผนแอบมาหากลางดึกเพราะต้องการหลับนอนกับนาง แต่นางวันทองพูดให้สติขุนแผนว่าตอนนี้ไม่ใช่เด็ก ๆ แล้ว จะทำอะใรให้คิดดี ๆ ถ้าขุนแผนรักนางจริงต้องไปทูลพระพันวษาให้ถูกต้องว่าให้นางมาอยู่ในฐานะเมียแล้ว มิเช่นนั้นจะไม่ให้ขุนแผนแตะต้องตัวนาง เพราะถ้าหากนางใจง่ายก็จะทำให้ผู้ชายอย่างขุนแผนเคยตัว

 

ตัวบทที่ 3

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ เป็นตอนที่นางวันทองกำลังตัดสินใจว่าจะเลือกใครระหว่างขุนช้างกับขุนแผน จึงทูลพระพันวษาออกไปว่าขุนแผนนั้นก็แสนรักร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันมานาน ขุนช้างอยู่ด้วยกันมาก็ไม่เคยทำเรื่องให้ขุ่นเคืองใจและมีเงินทองบ่าวไพร่ใช้ไม่ขัดสน ส่วนจมื่นไวยที่เป็นลูกชายก็เป็นเหมือนเลือดในอก ย่อมรักเท่ากับรักผัวอยู่แล้ว ทูลเสร็จนางวันทองก็สั่นด้วยความกลัวความผิดทางอาญา

 

ตัวบทที่ 4

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ กล่าวถึงพระพันวษาหลังได้ยินคำตอบที่ลังเลของนางวันทอง ก็ทรงกริ้วอย่างมากเหมือนดินประสิวที่โดนไฟแล้วปะทุที่นางไม่อาจตัดสินใจได้ว่าจะเลือกใครจะเอาไว้สำรองทั้งสองยิ่งว่าความลึกของทะเลทอดสมอลึกเกินจะหยั่งถึงได้

 

ตัวบทที่ 5

 

 

ถอดความ เป็นคำบริภาษต่อเนื่องจากบทก่อนหน้า พระพันวษาทรงกริ้วนางวันทองเป็นอย่างมากจึงต่อว่าด้วยคำหยาบว่าเป็นผู้หญิงถ่อย โลภมาก ต่อให้มีสักร้อยคนก็ไม่พอใจ

 

คุณค่าที่อยู่ในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

 

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

เสภาขุนช้างขุนแผนได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งเสภาเพราะบทประพันธ์สะท้อนอารมณ์ของตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง โดยในตอนขุนช้างถวายฎีกานี้ก็มีทั้งการสะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้น เศร้าและสะเทือนใจของตัวละคร การใช้โวหารเปรียบเทียบอย่างในตอนที่พระพันวษาเปรียบนางวันทองเหมือนกับรากแก้วถ้าตัดโคนได้แล้วใบก็จะเหี่ยวไปเองเพื่อให้นางวันทองเลือกว่าจะไปอยู่กับขุนช้างหรือขุนแผน

คุณค่าด้านสังคม

สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของคนในสมัยนั้นทั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดและความลำบากของผู้หญิงสมัยก่อนที่เป็นรองผู้ชายและมักจะไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างที่นางวันทองไม่อาจปฏิเสธทั้งสามีเก่าของขุนแผน คนที่ดูแลนางอย่างขุนช้าง และลูกแท้ ๆ อย่างจมื่นไวย ทำให้นางตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจนสุดท้ายก็เป็นภัยถึงชีวิต

แม้ว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไปจะทำให้มุมมองที่มีต่อขุนช้างขุนแผนเปลี่ยนไปในแง่ของศีลธรรมและความคิด ความเชื่อของคนในอดีตที่มีค่านิยมแตกต่างจากคนในสมัยนี้ แต่วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังทรงคุณค่าในฐานะงานประพันธ์ที่สำคัญของไทยทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ การดำรงชีวิตของคนในอดีต วัฒนธรรม ความเชื่อและประเพณีเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้กันต่อไป สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้สรุปความรู้ทั้งหมดและทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความเข้าใจของตัวเองกันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำเชื่อม Conjunction

คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ (Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ หรือ Conjunctions” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ความหมาย Conjunctions คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม Time and tide wait for no man. เวลาและวารีไม่เคยรอใคร

โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง          เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็น การคูณ การหาร เลขยกกำลัง และการเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย  ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 – 3 ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายศิระนำแท่งลูกบาศก์ไม้ขนาด 5³ ลูกบาศก์เซนติเมตร  มาจัดวางในลูกบาศก์ใหญ่ที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็น

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

บทความนี้ ได้นำเสนอ การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก โดยที่น้องๆจะได้รู้จักกับ บทนิยามของเลขยกกำลัง ซึ่งจะทำให้น้องๆรู้จักเลขชี้กำลังและฐานของเลขยกกำลัง และสามารถหาค่าของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกได้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเลขยกกำลังผ่านนิยามของเลขยกกำลัง ดังต่อไปนี้ บทนิยามของเลขยกกำลัง บทนิยาม  ถ้า a แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “a ยกกำลัง n” เขียนแทนด้วย aⁿ  มีความหมายดังนี้ a

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1