ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในสุภาษิตพระร่วง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สุภาษิตพระร่วง

 

หลังได้เรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วงไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่าในเรื่องสุภาษิตพระร่วงนั้นสอดแทรกคำสอนเรื่องใดไว้บ้าง รวมถึงคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ด้วย บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในสุภาษิตพระร่วงพร้อมเรียนรู้ถึงคุณค่าของเรื่องนี้กันค่ะ

 

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องสุภาษิตพระร่วง

 

 

คำสอนที่ปรากฏในตัวบท

  • ควรเรียนเพื่อนเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง
  • เป็นเด็กควรเรียนหนังสือ พอโตขึ้นค่อยหาเงิน ทำอะไรให้เหมาะสมกับวัย
  • อย่าเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
  • อย่ารีบด่วนสรุปเรื่อง่าง ๆ
  • ให้ประพฤติตนตามแบบวัฒนธรรมที่ดีงาม
  • เลือกทำในสิ่งที่ดี อย่าทำสิ่งที่ไม่ดี

 

 

คำสอนที่ปรากฏในตัวบท

  • อย่าโกรธเวลาครูสอน
  • เมื่อทำผิดควรรู้ตัวและสำนึก
  • เสียทรัพย์ดีกว่าเสียศักดิ์ศรี
  • ให้เป็นคนที่จงรักภักดี
  • อย่าไปเอาเปรียบเพื่อน
  • ช่วยเตือนเพื่อนเมื่อทำผิด คนไหนทำดีก็ควรชื่นชม
  • อย่าขอของรักของหวงจากเพื่อน
  • รักกันมากก็อาจจะทำให้จากกันไกล
  • เมื่อเจอศัตรูที่ต่อหน้าพูดจาดี อย่าเอาความลับของตัวเองไปบอกให้เขารู้
  • อย่าเอาแต่หลงมัวเมา ต้องคิดไตร่ตรองทุกครั้ง

 

 

คำสอนที่ปรากฏในตัวบท

  • อย่าเชื่อใจคนที่เคยทรยศ
  • เวลาทำผิดอย่าลากคนอื่นมาร่วมด้วย
  • อย่าไว้ใจใครง่าย ๆ
  • เวลาใครสั่งสอนอย่าไปสอนตอบ
  • เรื่องที่ดีควรจำใส่ใจเอาไว้
  • อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน
  • ใครที่ทำดีด้วยก็ควรจะทำดีตอบกลับไป
  • คิดก่อนพูด
  • อย่านินทาผู้อื่น
  • อย่าหลงตัวเองจนเกินไป
  • อย่าดูถูกคนจน
  • รู้จักสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น
  • เคารพในวงศ์ตระกูลของตัวเอง

คุณค่าที่อยู่ในเรื่องสุภาษิตพระร่วง

 

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

  1. มีสัมผัสใน สัมผัสนอกที่งดงาม
  2. มีการเล่นคำซ้ำเพื่อนเน้นความหมาย เช่น คำว่า ผิ ในสุภาษิตพระร่วงมีการเล่นคำว่า ผิ ที่มีความหมายว่า ถ้า เป็นคำซ้ำที่มีความหมายเหมือนเดิม

 

คุณค่าด้านเนื้อหา 

สุภาษิตพระร่วงมีคุณค่าด้านเนื้อหาที่ให้แนวคิดแก่คนทั่วไปเกี่ยวกับปฏิบัติตนให้เหมาะสม โดยครอบคลุมหลักปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้

  1. การปฏิบัติตนต่อพระมหากษัตริย์ เช่น เฝ้าท้าวไทอย่าทระนง, ท่านไท้อย่าหมายโทษ
  2. การปฏิบัติตนต่อครูอาจารย์ เช่น ครูบาสอนอย่าโกรธ, ยอครูยอต่อหน้า
  3. การปฏิบัติตนต่อผู้ที่อาวุโสกว่า เช่น อย่านั่งชิดผู้ใหญ่, จงนบนอบต่อผู้เฒ่า
  4. การปฏิบัติต่อญาติมิตร เช่น อย่าอวดหาญแก่เพื่อน, เมตตาตอบต่อมิตร

 

สุภาษิตพระร่วง เป็นหลักคำสอนที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตเพราะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในสังคมวัฒนธรรมไทย ขึ้นอยู่กับบริบท มีหลายสำนวน แต่ละสำนวนมีความงดงามแม้จะใช้คำที่เรียบง่ายและไม่ได้มีฉันทลักษณ์ที่ซับซ้อน เมื่ออ่านแล้วน้อง ๆ จะรู้สึกเลยว่าแทบไม่เจอคำศัพท์ยากจนแปลไม่ออก สามารถเข้าใจได้ทันที สุภาษิตพระร่วงจึงเป็นวรรณคดีคำสอนที่เหมาะกับทุกยุคทุกสมัยจริง ๆ ค่ะ และสุดท้าย ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะฟังคำอธิบายเกี่ยวกับตัวบทรวมถึงคำศัพท์เพิ่มเติม ก็สามารถไปรับชมรับฟังได้ที่คลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มที่คลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

Passive Modals คืออะไร

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ ทบทวนสักหน่อย   ก่อนอื่นเราจะต้องทบทวนเรื่อง Modal verbs หรือ Modal Auxiliaries กันก่อนจร้า แล้วจากนั้นเราจะไปลงลึกเรื่อง Passive voice หรือโครงสร้างประธานถูกกระทำที่คุ้นหูกันหากใครที่ลืมแล้วก็ไม่เป็นไรน๊า มาเริ่มใหม่ทั้งหมดกันเลยจร้า กลุ่มของ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1