ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

 

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

 

ตัวบทที่ 1 

 

พระยาภักดี : ใครวะ

อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า ผมบอกว่าใต้เท้ายังไม่กลับจากออฟฟิศก็ไม่ยอมไป เดินเรื่อยขึ้นมาที่นี่ว่าจะคอยพบใต้เท้า

พระยาภักดี : แล้วยังไงล่ะ

 

บทสนทนานี้เป็นบทสนทนาของพระยาภักดีนฤนาถกับอ้ายคำบ่าวรับใช้ สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคือระดับภาษาผ่านการสนทนาระหว่างนายกับบ่าวที่มีการใช้ภาษาแตกต่างกันตามสถานะของผู้พูด

 

ตัวบทที่ 2 

 

พระยาภักดี : (มองดู) ฉันไม่สู้แน่ใจ ดูเหมือนจะได้จำได้คลับคลา

นายล้ำ : ก็ยังงั้นซิครับ ใต้เท้ามีบุญขึ้นแล้วจะมาจดมาจำคนเช่นผมยังไงได้

พระยาภักดี : ฮือ! พิศ ๆ ไปก็ออกจะจำได้ นายล้ำไม่ไหม

 

บทสนทนาระหว่างพระยาภักนฤนาถกับอดีตเพื่อนเก่าอย่างนายล้ำที่เปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้ ในบทนี้จะเด่นเรื่องของคำศัพท์และสำนวนเก่า ๆ ที่ไม่ได้เห็นบ่อยนักในยุคสมัยปัจจุบัน เช่น มีบุญขึ้นแล้ว หมายถึงมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

ตัวบทที่ 3

 

แม่ลออ : …ถ้าใครบอกดิฉันว่าเป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อเป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็เป็นคนดีจริง ๆ อย่างทิ่ดิฉันนึกเดาเอาใจ คุณพ่อนี่ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริงไหมคะคุณพ่อ

นายล้ำ : ถ้าใครบอกหล่อนว่าพ่อหล่อนที่ตายน่ะเป็นคนไม่ดีละก็หล่อนเป็นไม่ยอมเชื่อเลยเทียวหรือ?

แม่ลออ : ดิฉันจะเชื่อยังไง ดูในรูปก็เห็นว่าเป็นคนดี

 

บทสนทนาระหว่างแม่ลออกับนายล้ำ ซึ่งแม่ลออไม่รู้ว่านายล้ำคือบิดาแท้ ๆ จึงพูดถึงบิดาที่เข้าใจว่าเสียชีวิตไปแล้วในแง่ดีตามที่ได้ฟังมาจากพระยาภักดีนฤนาถ ซึ่งบทนี้โดดเด่นเพราะเป็นจุดที่ทำให้นายล้ำละอายแก่ใจจนในที่สุดก็ไม่บอกความจริงกับแม่ลออว่าเป็นบิดาแท้ ๆ เป็นที่มาของชื่อเรื่อง เห็นแก่ลูก

 

คุณค่า

 

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

ช้อคิดในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่พ่อแม่มีให้ลูกถึงแม้จะมีช่วงเวลาที่หลงผิด แต่สุดท้ายก็นึกถึงความสุของลูกเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นายล้ำกับพระยาภักดีเป็เพื่อนที่เคยรัชราชการตำแหน่งเดียวกัน แต่ชีวิตของนายล้ำดิ่งลงเหวหลังจากทำเรื่องไม่ดีจนเป็นเหตุให้ต้องติดคุก ผลกรรมคือหมดอนาคตและไม่ได้อยู่กับลูกอีกต่อไปได้

คุณค่าด้านสังคม

ในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก สะท้อนค่านิยมวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้นไดอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย และสภาพสังคม ทำให้เห็นถึงความเป็นอยู่ บ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ 6

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

วรรณศิลป์ที่โดดเด่นในวรรณคดีเรื่องนี้คือการใช้ถ้อยคำที่สมจริง ทำให้แสดงอารมณ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีการใช้ระดับภาษาที่เด่นชัดและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ในเรื่องยังมีทั้งสำนวนเก่า ๆ ที่หาฟังยาก การใช้คำเก่าที่ไพเราะและยังมีการทับศัพท์อีกด้วย

 

 

จบไปแล้วนะสำหรับบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกในส่วนของตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าข้อคิดที่อยู่ในเรื่อง น้อง ๆ อ่านแล้วคงจะสัมผัสได้ถึงความงดงามของภาษาที่เรียบง่ายและข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่อของครอบครัวที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ถือว่าเป็นวรรณคดีที่มีประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยจริงค่ะ สุดท้ายนี้น้องๆ อย่าลืมไปรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเพิ่มเกี่ยวคำศัพท์ ตัวบทเด่น ๆ และเกร็ดความรู้อื่น ๆ อีกมากมาย ไปรับชมและรับฟังเลยค่ะ

 

ประเมินค่าบทประพันธ์

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Imperative Sentence: เรียนรู้การใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้องในชีวิตประจำวัน

เชื่อว่าชีวิตประจำวันของน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือเวลาออกไปเที่ยว น้องๆ อาจจะเคยได้ยินประโยคประมาณนี้กันมาบ้าง

Turn off the computer! (จงปิดคอมพิวเตอร์!)

Please pass me the sugar (ช่วยส่งน้ำตาลมาให้ที)

Drink a lot of water (ดื่มน้ำเยอะๆ)

ประโยคเหล่านี้ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Imperative Sentence วันนี้เราจะมาดูกันว่า Imperative Sentence คืออะไร และสามารถใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

wh- question

Wh- Question ใน Past Simple และ Future Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Wh- Question ในประโยคที่เป็น Past Simple และ Future Tense จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

การบรรยายลักษณะ และ ความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์

การบรรยายลักษณะและความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์ Adjective

ทบทวนความหมายและหน้าที่ของคำคุณศัพท์   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ นั่นเองค่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ขยายในที่นี้เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามหรือสรรพนามเหล่านั้นมีลักษณะยังไง  และในบทนี้ครูจะพาไปดูการใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก (Descriptive Adjective) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   การใช้คำคุณศัพท์ (Adjective)

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1