ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

ศัพท์บัญญัติ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การบัญญัติศัพท์คืออะไร

 

 

การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

 

ทำไมศัพท์บัญญัติถึงมาจากภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่?

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะวิทยาการสมัยใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ล้วนมาจากสังคมตะวันตกที่ใช้ภาษาอังกฤษ จนทำให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาสากลของนานาชาติไปอย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนั้นเราจึงนิยมนำคำภาษาอังกฤษมาใช้เพื่อแสดงความหมาย เป็นแนวทางในการกำหนดคำศัพท์ของไทยขึ้นมาใหม่

 

หลักเกณฑ์ในการสร้างศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตสถาน

 

 

  • ดำเนินตามหลักเกณฑ์การบัญญัติศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย คือพยายามหาคำที่ใช้อยู่ในภาษาไทยมากำหนดเป็นศัพท์บัญญัติ เมื่อหาคำไทยที่เหมาะสมไม่ได้ จึงค่อยคิดหาคำบาลี-สันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาแม่ส่วนหนึ่งของภาษาไทย และถ้าหากยังคิดหาคำไม่ได้จึงค่อยใช้ คำทับศัพท์
  • ต้องใช้คำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยสื่อความหมายของศัพท์ให้ชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
  • คำที่มีความหมายนัย หรือมีความหมายตรงกับคำไทยหลายคำ ก็จะบัญญัติศัพท์ไว้หลายศัพท์ตามความหมาย เช่น racketeering ศัพท์บัญญัติคือ การกรรโชกทรัพย์, การขู่เข็ญ

 

ศัพท์บัญญัติ

 

ศัพท์บัญญัติในแวดวงต่าง ๆ

 

ศัพท์บัญญัติ

 

ตัวอย่างศัพท์บัญญัติ

หมวดคอมพิวเตอร์

 

DVD = แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตัล

Printer = เครื่องพิมพ์

SIM card = บัตรระบุผู้เช่า

Hard disk = จานบันทึกแบบแข็ง

Disk Drive = หน่วยขับจาน, หน่วยขับจานบันทึก, หน่วยขับแผ่นบันทึก

CASE = วิศวกรรมระบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

Scanner = เครื่องกราดตรวจ

 

ความแตกต่างของศัพท์บัญญัติกับคำทับศัพท์

 

ศัพท์บัญญัติ เป็นศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาจากภาษาต่างประเทศเพื่อให้มีความหมายในภาษาไทย คำทับศัพท์ เป็นขั้นสุดท้ายของการบัญญัติศัพท์ เมื่อศัพท์บัญญัตินั้นไม่สามารถหาคำอื่นที่เหมาะสมมาใช้ได้ จึงใช้การถอดเสียงตามหลักอักขรวิธีของไทย เพื่อให้ออกเสียงได้อย่างถูกต้อง แต่ก็จะมีบางคำที่มีมีศัพท์บัญญัติแล้วแต่ยังนิยมใช้เป็นคำทับศัพท์ตรงตัวไปเลย

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ศัพท์บัญญัติไปแล้ว คงจะหายข้องใจกันแล้วใช่ไหมคะว่าศัพท์บัญญัติคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร จะเห็นได้เลยว่าการบัญญัติศัพท์ขึ้นมานั้นก็เพื่อให้คำต่าง ๆ ที่มาจากต่างประเทศมีความหมายในภาษาไทย เป็นคำที่ไพเราะและสามารถใช้อย่างเป็นทางการได้ แต่ถ้าหากคำมาบัญญัติไม่ได้ หรือคำนั้น ยากเกินกว่าที่ควรทั่วไปจะใช้ เราก็จะใช้เป็นการทับศัพท์ค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะได้เรียนรู้ต่อไปนะคะ แต่ก่อนอื่น เพื่อทบทวนเรื่องลักษณะของศัพท์บัญญัติและเรียนรู้คำศัพท์ในแวดวงต่าง ๆ น้อง ๆ ก็อย่าไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้อธิบายถึงเรื่องเหล่านี้เอาไว้นะคะ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ทริคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างง่าย ๆ

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้วก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทุกคนเหมือนอย่างทุกวันนี้ แหล่งการสืบค้นหลัก ๆ จะอยู่ที่ห้องสมุด แต่ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเพียงคลิกปลายนิ้ว ข้อมูลที่ต้องการค้นหาก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้าให้เลือกสรรมากมาย แต่เราจะมีวิธีการเลือกสืบค้นข้อมูลกันอย่างไร ถึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด บทเรียนในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การหาข้อมูลสำหรับการเรียนของน้อง ๆ นั้นง่ายขึ้น เราไปเรียนรู้เรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กันเลยค่ะ   การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต   เป็นการค้นคว้าหาความรู้โดยใช้สารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมภาพและข้อมูลต่าง ๆ    

คุณศัพท์บอกความรู้สึก

การใช้คำคุณศัพท์และการบอกความรู้สึก

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Descriptive Adjective การใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า    ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1